สร้างความผ่อนคลาย ป้องกัน ‘ภาวะหมดไฟ’ จากการทำงาน

สร้างความผ่อนคลาย ป้องกัน ‘ภาวะหมดไฟ’ จากการทำงาน

ด้วยสถานการณ์การผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายบริษัทได้ปรับเปลี่ยนวิธีมาเป็น การทำงานที่บ้าน (Work from home) ส่งผลให้หลายคนต้องใช้เวลาทำงานยาวนานขึ้น และอยู่ในบรรยากาศเดิมๆ ทุกวัน ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าสะสมจากการทำงานอย่างต่อเนื่อง

จนเริ่มมีอาการเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ลดทอนประสิทธิภาพในการทำงานจนนำมาสู่อาการหมดไฟในที่สุด แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิวและเส้นผมจากสารสกัดธรรมชาติ ‘ธัญ’ (THANN) จึงเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แพทย์หญิงดุจฤดี อภิวงศ์ มาแนะ “เทคนิคสร้างความผ่อนคลายระหว่างการทำงานที่บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟจากการทำงาน (Burnout)” กับผลิตภัณฑ์ ‘ไทม์ ทู รีเฟรช’ (Time to RefreshTM), ‘เครื่องกระจายกลิ่นหอม’ (Electric aroma diffuser), ‘น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 100%’ (Pure Essential Oil), ‘ก้านไม้หอม’ (Aroma diffuser) และ ‘เทียนหอมไร้ควัน’ (Aromatic candle) ร่วมกับเซเลบริตี้สาวสวยมาร่วมเผยเคล็ดลับการรับมือกับภาวะหมดไฟ อาทิ บงกชทิพย์ ภิรมย์ภักดี, บุญญาพร ศรีอรทัยกุล และ ณัชชา ธนากิจอำนวย

แพทย์หญิงดุจฤดี อภิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ได้แนะแนวทางสร้างบรรยากาศผ่อนคลายทางด้านอารมณ์ ป้องกันภาวะหมดไฟจากทำงาน (Burnout Syndrome) ว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดจากการทำงาน (Occupational Phenomenon) แต่ไม่ใช่โรค (not a medical diagnosis)

เนื่องจากการขาดสมดุลของชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) จนเกิดความเครียดสะสมเรื้อรังในสถานที่ทำงานโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ และส่งผลกระทบต่อร่างกายตามมา

Advertisement

กลุ่มอาการภาวะหมดไฟจากการทำงาน (Burnout) มักเกิดจากภาระความรับผิดชอบในงานที่สูง รวมถึงปริมาณงานจำนวนมากที่มีความซับซ้อนและต้องทำในเวลาเร่งรีบ นอกจากนี้อาจเกิดจากปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน การขาดอำนาจในการตัดสินใจ หรือต้องทำงานที่ตนเองไม่ถนัด เป็นต้น ส่วนการสังเกตว่าตัวเรากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟจากการทำงานสามารถประเมินได้จาก

อาการทางกาย : เหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อบ่อย ไม่อยากอาหารหรือทานอาหารมากเกินไป ปวดท้อง คลื่นไส้ ความสามารถในการจำและการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อาการทางจิตใจ : หดหู่ เบื่อ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ร้าย โกรธ หงุดหงิดง่าย รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่มีใครเข้าใจ ไม่พอใจในตัวเองและรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ

อาการทางด้านพฤติกรรม : พูดคุยกับคนรอบตัวน้อยลง ชอบแยกตัวไม่สุงสิงกับใคร ไม่อยากตื่นมาทำงาน มาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว ขี้เกียจมากขึ้น ไม่กระตือรือร้น ไม่อยากพัฒนา เริ่มใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่

Advertisement

“เราสามารถแก้ไขภาวะหมดไฟจากการทำงานเบื้องต้นได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนะคติ ยอมรับปัญหา เปิดใจรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ไม่ทำงานหักโหมเกินเวลา รู้จักฝึกขอความช่วยเหลือหรือฝึกทักษะการปฏิเสธอย่างเหมาะสม แบ่งเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น หาเวลาทำกิจกรรมที่ช่วยสร้างความผ่อนคลาย เช่น แช่น้ำอุ่น ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยง หรือต้นไม้ ออกกำลังกาย ที่ใช้การฝึกลมหายใจร่วมด้วย เช่น โยคะ พิลาทิส รวมถึงการใช้กลิ่นหอมบำบัด (Aromatherapy) จากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติมาช่วยในการสร้างบรรยากาศความผ่อนคลายภายในบ้านซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถบรรเทาความเครียดได้เร็วที่สุด” พญ.ดุจฤดี กล่าว

สร้างความผ่อนคลาย ป้องกัน “ภาวะหมดไฟ”

แพทย์หญิงดุจฤดี อภิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image