หมอระบบหายใจ ไขข้อข้องใจ “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยจริงหรือ

หมอระบบหายใจ ไขข้อข้องใจ “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยจริงหรือ

หมอระบบหายใจ ไขข้อข้องใจ “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยจริงหรือ

กระแส “บุหรี่ไฟฟ้า” กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจาก นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ตั้งคณะทำงานศึกษาปลดล๊อก “บุหรี่ไฟฟ้า” โดยให้เหตุผลหนึ่งในนั้นคือ การเป็นผลิตภัณฑ์ที่อันตรายน้อยกว่าการสูบ “บุหรี่”

ในทางการแพทย์มองบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยจริงหรือไม่ มีคำแนะนำจากสาระความรู้เรื่อง “บุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยจริงหรือ?” โดย พญ.นันทนัช วุฒิไกรวิทย์ และ อ. นพ.อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา หน่วยโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติการหายใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ดังนี้

 

บุหรี่ไฟฟ้าใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบด้วยสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่

Advertisement

– นิโคติน เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่ ดังนั้นบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น

– โพรไพลีนไกลคอล และกลีเซอรีน หากสูดดมอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองปอดได้ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหอบหืด

สารประกอบอื่น ๆ

Advertisement

สารแต่งกลิ่นและรส โทลูอึน เบนซีน นิกเกิล โคบอลต์ โครเมียม ตะกั่ว

 

บุหรี่ไฟฟ้าจึงมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา

แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดมะเร็งปอด แต่มีหลักฐานยืนยันว่าเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน

หมอระบบหายใจ ไขข้อข้องใจ “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยจริงหรือ

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image