สำรวจอาการตัวเอง ‘หงุดหงิดง่าย’ เข้าวัยทองหรือยัง!

สำรวจอาการตัวเอง ‘หงุดหงิดง่าย’ เข้าวัยทองหรือยัง!

เมื่อเริ่มอายุมากขึ้น นอกจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะทยอยเสื่อมแล้ว ยังมีสิ่งที่ลดน้อยลงโดยที่เรามักไม่รู้ตัว นั่นคือ ‘ฮอร์โมน’ ซึ่งส่งผลให้อวัยวะ หรือการทำงานในร่างกายเสื่อมลง รวมถึงอารมณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย หรือที่เรียกว่า “วัยทอง” สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แล้วการเปลี่ยนแปลงอย่างไรถึงเรียกว่าเข้าวัยทองแล้ว

พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center อธิบายว่า วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าเราเข้าสู่วัยทอง ได้แก่ อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขี้วิตกกังวล, สมาธิสั้น ความจำแย่ลง การตัดสินใจช้าลง, นอนหลับยาก มีคุณภาพการนอนไม่ดี อ่อนเพลีย, ง่วงเหงาหาวนอนบ่อยๆในช่วงกลางวัน ไม่กระฉับกระเฉง และเหนื่อยง่าย ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดศีรษะ

พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง

โดยปกติฮอร์โมนในร่างกายเราจะทำงานร่วมกัน ในการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศ อย่างเพศชาย ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน เพศหญิง ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรน ทำงานควบคู่กับฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนดีเอชอีเอ และโกรว์ธฮอร์โมน ทำให้เรารู้สึกสดชื่น แจ่มใส สมองปลอดโปร่ง นอนหลับสบาย ร่างกายแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย มีสมาธิและความจำดี

แต่เมื่อใดที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น นั่นเป็นอาการแสดงที่ร่างกายฟ้องว่า ฮอร์โมนต่างๆ เริ่มทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์

Advertisement

พญ.อนงนุช อธิบายอีกว่า การแพทย์ปัจจุบันสามารถตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆได้อย่างละเอียด หลักการคือ ร่างกายเราขาดฮอร์โมนตัวไหน ก็ให้ตัวนั้นเข้าไปทดแทน หรือที่เรียกว่า การให้ฮอร์โมนทดแทน

ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเอง เนื่องจากเราไม่ทราบว่าร่างกายขาดฮอร์โมนตัวไหนบ้าง การรับประทานฮอร์โมนเอง อาจทำให้เราได้รับอันตรายจากการได้รับยาเกินขนาด หรือรับยาโดยไม่จำเป็น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อตรวจดูระดับฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จากนั้นแพทย์ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามระดับที่เหมาะสมต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image