ป่วยเรื้อรัง การ์ดอย่าตก! เมื่อความเสี่ยงเจ็บป่วยกลับมา ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลปอดอักเสบจากการติดเชื้อ

ถ้าจะเอ่ยถึงโรคที่คนไทยป่วยมากที่สุดและจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องมากที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่งทั้ง 6 โรคนี้ คุณหมอมักจะออกมาเตือนอยู่เสมอว่า คนที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มนี้ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ จนนำไปสู่ภาวะอักเสบรุนแรงในร่างกายและอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อโรค ที่กำลังแพร่ระบาดตอนนี้

ทำไมภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ จนนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลว จึงเป็นต้นเหตุความเสี่ยงการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในกลุ่มคนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และคนที่ป่วยเรื้อรังด้วยโรคประจำตัว และจะมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร ที่จะลดความเสี่ยงเจ็บป่วยในช่วงนี้ได้ เรามาหาคำตอบไปด้วยกัน

ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ต้นเหตุเสี่ยงเสียชีวิตจากป่วยเรื้อรัง

Advertisement

ภาวะอักเสบติดเชื้อของเนื้อปอด หรือที่เราเคยได้ยินในชื่ออาการปอดบวมหรือปอดอักเสบ สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ โดยสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจมีสาเหตุมาจากการสูดเอาฝุ่น ควัน หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายกับระบบหายใจเข้าไป เมื่อปอดเกิดการติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันจะส่งเม็ดเลือดขาวเข้าไปจัดการด้วยการทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า การอักเสบเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม 

อาการของปอดอักเสบจากการติดเชื้อ มีได้ตั้งแต่ เกิดสารคัดหลั่ง หนองหรือของเหลวท่วมขังอยู่ในภายในถุงปอด เซลล์ปอดเกิดการอักเสบ บวม ขยายตัว ส่งผลให้ระบบการทำงานของปอดผิดปกติ  ไอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก มีไข้ หนาวสั่น ซึม หรือหากมีอาการแทรกซ้อน อาจติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด หรือช็อคจนทำให้ระบบอวัยวะภายในล้มเหลว ซึ่งเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตมากยิ่งขึ้น

Advertisement

ระดับความรุนแรงของอาการจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน หากผู้ป่วยอายุมากหรือระดับภูมิคุ้มกันต่ำ สภาพร่างกายมีความเปราะบางกว่าคนทั่วไป หรือมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว โอกาสเสี่ยงที่การติดเชื้อจะรุนแรงหรือนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก็มีสูงกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรงหลายเท่าตัว 

ภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นกับถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ ในปอดจะมีสารที่เกิดจากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านถุงลมกับเส้นเลือดจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เนื่องจากเซลล์ที่อักเสบเกิดการบวม จนไปขวางออกซิเจนไม่ให้ผ่านเข้าได้ นำไปสู่ภาวะการทำงานของปอดล้มเหลว เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย

ป่วยเรื้อรัง มีโรคประจำตัว กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลปอดอักเสบ

การรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมไปถึงเชื้อโรคต่างๆ ผ่านการดูแลตัวเองทั้งเรื่องกินเรื่องอยู่ เป็นวิธีช่วยป้องกันภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 

  • ลดความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจถูกทำลาย ปอดไม่แข็งแรง เช่น การงดสูบบุหรี่หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูง ควันพิษจากท่อไอเสีย
  • การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน 
  • หลีกเลี่ยงไปอยู่ในพื้นที่มีผู้คนหนาแน่นที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคได้ง่าย

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากเป็นผู้สูงอายุหรือป่วยด้วยโรคประจำตัวควรมีเวลาพักผ่อนนอนหลับ วันละ    7-8 ชม.
  • ออกกำลังกายให้เป็นประจำ  อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที
  • รับประทานอาหารให้ได้ภาวะสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด หลักๆ คือ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรืออาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้แล้ว การเลือกดูแลสุขภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรงด้วยการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ที่มีส่วนช่วยลดภาวะการอักเสบจากการติดเชื้อภายในร่างกายได้ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้มีประสิทธิภาพ ก็เป็นอีกตัวเลือกในการดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งของผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัวหรือป่วยเรื้อรัง หรือผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีอยู่แล้ว เพราะสารอาหารสำคัญและจำเป็นในกรดไขมันโอเมก้า-3 จะเข้ามาช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

กรดไขมันโอเมก้า-3 ลดเสี่ยงภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อได้จริงหรือ?

อย่างที่เราพอจะทราบกันว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลาจะประกอบด้วย กรดไขมันสำคัญ 2 ตัว นั่นคือ กรดไขมัน DHA (DOCOSAHEXAENOIC  ACID) และกรดไขมัน EPA  (EICOSAPENTAENOIC ACID) ซึ่งกรดไขมันกลุ่มนี้เองที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบภายในร่างกายได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะอวัยวะทำงานล้มเหลว  

จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Cancer and Metastasis Reviews ( https://link.springer.com/article/10.1007/s10555-020-09889-4 ) ระบุว่า กรดไขมัน  EPA และ DHA ที่พบในกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น สาร Resolvins  ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของร่างกายได้นั่นเอง ดังนั้น น้ำมันปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 จึงมีส่วนช่วยลดการอักเสบเช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากการติดเชื้อรุนแรงได้นั่นเอง

นอกจากช่วยลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากภาวะอักเสบจากการติดเชื้อแล้ว กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังมีส่วนสำคัญในการลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในหลอดเลือด สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง  ลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง หลอดเลือดอุดตัน บำรุงหลอดเลือดและเซลล์สมอง ระบบประสาท และจอประสาทตา และมีส่วนช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าและโรคเกี่ยวกับสมอง เช่น อัลไซเมอร์ได้ด้วย

กรดไขมันโอเมก้า-3 ปริมาณแค่ไหนที่เพียงพอกับร่างกาย

เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถผลิตกรดไขมันโอเมก้า-3 ขึ้นมาเองได้ จำเป็นต้องได้รับผ่านอาหารที่มีโอเมก้า-3 เช่น ปลาทะเล หรือในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า-3 เพื่อเสริมสร้างระบบต่างๆ ในร่างกายให้เกิดความสมดุล และกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นการทำงานระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายต่อต้านการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ 

โดยทั่วไปแล้วปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ร่างกายคนเราควรได้รับ สำหรับคนที่สุขภาพดีทั่วไปสามารถรับประทานน้ำมันปลาที่มีกรดไขมัน EPA  และกรดไขมัน DHA รวมกันแล้ว วันละ 1,000 มิลลิกรัม โดยไม่มีผลข้างเคียง (แหล่งที่มา https://ods.od.nih.gov/factsheets/Omega3FattyAcids-HealthProfessional/#en30 ,) 

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์น้ำมันปลามีให้เลือกมากมายในท้องตลอดและให้ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 มากน้อยแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะให้ปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 มากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญ คือ การศึกษาข้อมูล การอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา เสียก่อน เพื่อเราจะได้สามารถตรวจสอบว่า ปริมาณกรดไขมัน EPA และ กรดไขมัน DHA  ของผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อนั้นมีอยู่เท่าไหร่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่

ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาในท้องตลาดตอนนี้ ส่วนใหญ่จะระบุว่า น้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม แต่ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ให้จะยังแตกต่างกันอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาที่มีกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 ทั้งกรดไขมัน EPA และกรดไขมัน  DHA  รวมกันแล้วประมาณ  300 มิลลิกรัม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ให้กรดไขมันโอเมก้า-3 ในปริมาณที่ร่างกายต้องการเพียงพอแล้ว

นอกจากปริมาณกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 ทั้งกรดไขมัน EPA และกรดไขมัน  DHA   ที่ควรมีปริมาณ 300 มิลลิกรัมในน้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันแล้ว เรื่องของคุณภาพของน้ำมันก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกน้ำมันปลาที่ระบุถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ชัดเจนและมาจากปลาทะเลน้ำลึกจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งปลอดภัยจากสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างจากระบบเลี้ยง

รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่ควรผ่านมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ อาทิเช่น มาตรฐาน  GMP จากประเทศเยอรมันและประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองคุณภาพความปลอดภัยที่ทั่วโลกให้การยอมรับและสามารถวางจำหน่ายได้ทั่วโลก  เพื่อให้มั่นใจได้ว่า น้ำมันปลานั้นได้คุณภาพและปลอดภัยมาตั้งแต่วัตถุดิบจนไปถึงกระบวนการผลิตก่อนถึงผู้บริโภค

มาถึงตรงนี้แล้ว คงพอจะเข้าใจแล้วว่าภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย จะแข็งแรงดี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวหรือป่วยเรื้อรัง สิ่งสำคัญที่จะปกป้องสุขภาพร่างกายไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่นำไปสู่ภาวะอักเสบตามอวัยวะต่างๆ ได้ การหันมาใส่ใจ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็งได้ด้วยตัวเองเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว ห่างไกลจากการเจ็บป่วย 

ห่วงใยสุขภาพ ใส่ใจคุณภาพชีวิต เลือกน้ำมันปลาที่คุณมั่นใจในคุณภาพ มีคุณประโยชน์ เช่น Fish oil 1,000 มิลลิกรัม ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ อีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้งพร้อมอาหาร

เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน ควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ 

แหล่งข้อมูล

https://ods.od.nih.gov/factsheets/Omega3FattyAcids-HealthProfessional/#en30 https://link.springer.com/article/10.1007/s10555-020-09889-4 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Facebook: www.facebook.com/MEGAWecare 

Website: www.megawecare.co.th

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image