โปรแกรม ยุติความรุนแรง เปลี่ยนการ ‘หาคนผิด’ แก้ปัญหาร่วมกัน

โปรแกรม ยุติความรุนแรง – เพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ผศ.ดร.มาดี ลิ่มสกุล อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอ “โปรแกรมการทำงานกับผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเพื่อป้องกันการกระทำซ้ำ” ในงานเสวนา “พื้นที่ปลอดภัยในชุมชน เพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว” จัดโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวง พม. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และ สสส.

ผศ.ดร.มาดี ลิ่มสกุล

โดย โปรแกรม ยุติความรุนแรง ดังกล่าวถอดบทเรียนมาจากการนำไปทดลองใช้จริงจนกลายมาเป็นโปรแกรมที่เป็นเสมือน “ไกด์” ให้กับชุมชนในการเลือกวิธีสร้างพื้นที่ปลอดภัย และยุติความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับชุมชนของตนเอง

วงเสวนา

ผศ.ดร.มาดี ระบุว่า หัวใจหลักของการดำเนินงานในชุมชนคือ “ความไว้วางใจ” ซึ่งบรรดาแกนนำที่เป็นคนในชุมชนจะได้รับความไว้วางใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่ากลุ่มนักวิชาการ หรือสหวิชาชีพจากภายนอก

ทั้งนี้ “แกนนำ” ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ของตน มีระบบวิธีคิดที่จะไม่ทำให้เกิดการกระทำซ้ำ และมีทักษะการสื่อสารที่ดีด้วย

Advertisement
เวิร์กช้อปโปรแกรม
เวิร์กช้อปโปรแกรม

ซึ่ง โปรแกรม ยุติความรุนแรง มีขั้นตอนดังนี้ 1.จำแนกกลุ่มผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เข้าร่วมโปรแกรม ว่ามาจากคำสั่งศาลหรือเข้าร่วมโดยสมัครใจ พร้อมทำการคัดกรองข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น เช่น มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต หรือมีการใช้สารเสพติดหรือไม่ 2.ปฐมนิเทศ เพื่อให้ข้อมูล พูดคุย และกำหนดกติการ่วมกัน อาทิ ต้องเข้าร่วมโปรแกรมเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นขั้นต่ำ 3.ดำเนินการตามโปรแกรม เริ่มด้วยการสร้างความไว้วางใจ โดยเลือกรูปแบบกิจกรรมที่แนะนำไว้ คือ ให้คำปรึกษารายบุคคล ลงเยี่ยมบ้าน และสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อช่วยเหลือเพื่อน

จากนั้น จึงให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมโปรแกรมเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศและบุคคล ตลอดจนผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และบทลงโทษที่ต้องได้รับในทางกฎหมาย โดยมุ่งหวังให้เกิดการปรับทัศนคติ

เวิร์กช้อปโปรแกรม
เวิร์กช้อปโปรแกรม

“ผู้กระทำความรุนแรงเข้าใจในพฤติกรรมของตนเอง ตระหนักว่าเป็นพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลง และเชื่อมั่นว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้”

Advertisement

โดยแกนนำจะเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้าง “ทักษะจำเป็น” ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับทักษะการจัดการความเครียด การจัดการความขัดแย้งภายในครอบครัว การจัดการอารมณ์ของตนเอง และการสื่อสารภายในครอบครัว

ผศ.ดร.มาดี กล่าวทิ้งท้ายว่า การแก้ไขปัญหาที่ดีคือเปลี่ยนจากการ “หาคนผิด” เป็นร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งในการทำงานร่วมกับชุมชนโดยส่วนมากมักจะไม่มีแผนการหรือระบบดำเนินการที่ตายตัว โปรแกรมดังกล่าวก็เช่นกัน

ที่เป็นเพียงการไกด์แนวทางให้ “ชุมชน” สามารถหยิบไปบูรณาการให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาได้

สังคมไทยไร้ความรุนแรง

เวิร์กช้อปโปรแกรม
เวิร์กช้อปโปรแกรม

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image