เพิ่มสิทธิลาคลอด 8 วัน คำถามใครจ่ายค่าแรง

เพิ่มสิทธิลาคลอด 8 วัน คำถามใครจ่ายค่าแรง

ถอดบทเรียนประสบการณ์การเคลื่อนไหวเพื่อสังคมมาตลอดหลายสิบปี ในวงเสวนาเนื่องในวันสตรีสากล 2564 หัวข้อ “8 มีนา การเมืองดี รัฐธรรมนูญดี ต้องมีผู้หญิงร่วมร่าง” ณ ห้องประชุมวรรณไวทยากร ตึกโดม ชั้น 1 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า “การเมืองดี รัฐธรรมนูญดี ต้องมีผู้หญิงร่วมร่าง” หากดูตั้งแต่มี รธน.ปี 40 ช่วงนั้นกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีก็ได้เรียกร้องสิทธิลาคลอด 90 วัน ในปี 2538 และถูกบรรจุในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี 2540 เป็นประวัติการเรียกร้องสิทธิจากกระทรวงแรงงาน เป็นการเรียกร้องของขบวนผู้หญิง ที่ไม่รอให้รัฐจัดให้ และถ้าขบวนผู้หญิงไม่ออกมาเรียกร้อง ก็จะไม่ได้สิทธินั้น

กฎหมายแรงงาน อย่างสิทธิลาคลอด 90 วัน บรรจุครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 ผ่านมา 20 ปีแล้วยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

มีเพียงประกาศล่าสุดที่ระบุให้เพิ่มขึ้นวันลาคลอดได้อีก 8 วัน รวมเป็น 98 วัน แต่ในส่วนของค่าจ้างไม่ได้ระบุว่า นายจ้าง หรือประกันสังคม จะเป็นคนจ่าย กล่าวคือ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมาสามารถลาได้ แต่ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นคนจ่าย

Advertisement

ด้วยตามที่กฎหมายระบุนั้น นายจ้างจ่าย 45 วัน ประกันสังคมจ่าย 45 วัน ส่วนอีก 8 วันที่เหลือไม่ได้ระบุ ฉะนั้น หากนายจ้างหรือประกันสังคมไม่จ่ายก็ไม่มีความผิด นี่คือกระบวนการเขียนกฎหมายที่มองไม่ครอบคลุมทุกมิติในการคุ้มครองแรงงาน

จะเห็นได้ว่าปัญหาของกลุ่มแรงงานนอกระบบมีความซับซ้อนอย่างมาก มีแรงงานจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทั้งยังมีการเขียนกฎหมายที่แยกย่อยออกไป แยกตั้งแต่แรงงานรัฐวิสาหกิจ และแรงงานภาคเอกชนออกจากกัน จากแต่ก่อนที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกันจึงมีอำนาจในการต่อรองมากกว่า

เข้าทำนอง “ตีให้แตก แยกปกครอง” อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่นั้น ต้องถามว่า “ประชาชน” จะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้อย่างไร

Advertisement
ธนพร วิจันทร์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image