ทำไมพื้นที่สีเขียว-ธรรมชาติ ถึงตอบโจทย์ ‘ความสุข’ วัยเกษียณ

ทำไมพื้นที่สีเขียว-ธรรมชาติ ถึงตอบโจทย์ ‘ความสุข’ วัยเกษียณ

หากย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2514 จะพบว่าเป็นปีที่มี “อัตราเกิดของประชากรไทยสูงที่สุด” จากการมีเด็กเกิดใหม่ถึง 1.2 ล้านคน จนเรียกได้ว่าเป็น “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ซึ่งเป็นนโยบายของประเทศไทยในขณะนั้น ที่มุ่งไปที่การวางแผนครอบครัว

ผ่านมาราว 50 ปี เวลานี้ ประชากรรุ่นเกิดล้าน ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2506-2526 กำลังจะเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “สังคมสูงวัยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“ชีวิตวัยเกษียณ” หรือ “วัยอิสระ” ที่หลายคนเรียกก็กำลังจะเริ่มต้น บ้างก็วางแผนชีวิตหวนกลับสู่บ้านเกิดและเลือกที่จะอยู่กับธรรมชาติ แล้วทำไม “พื้นที่สีเขียว” ถึงสำคัญต่อผู้สูงวัย ดังเช่นที่โครงการที่พักผู้สูงอายุ (Senior Living) หลายที่ให้ความสำคัญ อาทิ นายาเรสซิเดนซ์ ฯลฯ

Advertisement

ในการเตรียมพร้อมก่อนเกษียณ เพื่อออกแบบความสุขในชีวิตบั้นปลาย หลายคนเลือกที่จะใช้ชีวิตที่ Downsize หรือลดขนาดชีวิตลง ลดภาระจากการดูแลบ้านหลังใหญ่ เป็นการลดภาระทางด้านการเงิน มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อาจจะมีขนาดเล็กลง แต่ไม่พร่องในเรื่องความสุข ทำให้มีเงินเพียงพอเพื่อดูแลชีวิตอย่างยืนยาว

ซึ่งน่าสนใจว่ามีการวิเคราะห์ของนักวิจัยจากโรงเรียนสาธารณสุขฮาร์วาร์ด พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อันอุดมด้วยพืชสีเขียวมีโอกาสอายุยืนยาว และมีอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุลดลง ต่ำกว่า 12% มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลง 13% อัตราการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจลดลง 35% และอัตราการเสียชีวิตจากโรคไตลดลง 41%

อีกทั้งการได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่สีเขียว ยังมีส่วนช่วยบรรเทาความตึงเครียด และลดระดับภาวะซึมเศร้า เพิ่มโอกาสการพบปะมีส่วนร่วมทางสังคมกับผู้อื่น ที่สำคัญการห่างไกลจากมลพิษและได้สัมผัสกับธรรมชาติจะช่วยนำไปสู่อารมณ์เชิงบวก ส่งเสริมบรรยากาศของการเคลื่อนไหวร่างกาย ให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น

Advertisement

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือปัญหาส่วนใหญ่ที่มักพบเจอในวัยเกษียณ คือ ความว้าเหว่อันเกิดจากโรคความเหงา เนื่องจากขาดการปฏิสัมพันธ์ หลังหมดภาระในหน้าที่การงาน จากผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตพบว่าผู้สูงอายุที่มีอารมณ์เศร้าท้อแท้สิ้นหวัง ไร้ซึ่งความยินดี หมดความสุขในชีวิต อาจเข้าข่ายสู่โรคซึมเศร้าได้ง่าย และการแยกตัวขาดจากสังคม จะส่งผลกระทบต่อสมองอาจทำให้เกิดความเซื่องซึม เฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น

ฉะนั้นการได้อยู่ในชุมชนที่แวดล้อมในสิ่งใหม่ ท่ามกลางบรรยากาศที่ดีอุดมไปด้วย “สีเขียว”จะทำให้ผู้สูงวัยยิ่งเพลิดเพลินกับกิจกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ ตลอดจนสุขภาพทางสมองให้ปลอดโปร่ง มีการพัฒนาอยู่เสมอ

บริหารความสุข

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image