เปิดสถิติผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ เรื่องซุกใต้พรมที่เมินเฉยไม่ได้ หลังทนายตั้มแฉเหยื่อรองหน.พรรค

แฟ้มภาพ

เปิดสถิติผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ เรื่องซุกใต้พรมที่เมินเฉยไม่ได้ หลังทนายตั้มแฉเหยื่อรอง หน.พรรค

จากกรณี นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า มีรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ลวนลามสาว พร้อมยังบอกใบ้ในคอมเมนต์ทำเอาชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์กันในเรื่องดังกล่าวอย่างหนัก

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สาวร้อง ‘ทนายตั้ม’ ถูกรองหน.พรรคใหญ่ ลวนลาม สาวอดีต เคยมีเหตุแบบนี้ สมัยอยู่อังกฤษ

อ่านข่าวเพิ่มเติม : “ปริญญ์” ปฏิเสธข้อกล่าวหาลวนลามหญิงสาว ลั่นไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว ไม่ได้เป็นกรณีแรกที่เกิดขึ้นในสังคมไทย หากยังมีอีกร้อยพันกรณีที่เกิดขึ้น และยังมีเรื่องที่ “ซุกอยู่ใต้พรม” ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอีกมาก สะท้อนให้เห็นว่ารัฐและสังคมจะเมินเฉยไม่ได้อีกต่อไป

Advertisement

นางสาวกรรณนิกา เจริญลักษณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กรม สค. กล่าวว่า นิยามของการคุกคามทางเพศ เริ่มตั้งแต่การกระทำทางสายตา พูดจาสองแง่สองง่าม พูดหมาหยอกไก่ การกระทำทางกิริยาท่าทาง แต๊ะอั๋ง สามารถลุกลามไปถึงการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ที่มาภัยข่มขืนและคุกคามทางเพศ มาจากมายาคติชายเป็นใหญ่ซึ่งถูกปลูกฝังกันรุ่นสู่รุ่น

“ข้อร้องเรียนร้อยละ 95 เป็นการกระทำจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า กระทำต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเรียกว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่หากยอมสร้างความพึงพอใจทางเพศ จะให้เลื่อนตำแหน่ง ต่อสัญญา หรือให้ผลประโยชน์ต่างๆ กลับกันหากไม่ยอมก็จะถูกลงโทษหรือกลั้นแกล้ง” นางสาวกรรณนิกากล่าว

ด้าน นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เล่าว่า ยก 5 พฤติกรรมที่เข้าข่ายคุกคามทางเพศ เริ่มที่

Advertisement

1.การกระทำทางสายตา เช่น การจ้องมองร่างกายที่ส่อไปในทางเพศ มองหน้าอกหรือจ้องลงไปที่คอเสื้อ จนทำให้ผู้ถูกมองรู้สึกอึดอัด อับอาย หรือไม่สบายใจ เป็นต้น

2.การกระทำด้วยวาจา เช่น การวิพากษ์วิจารณ์รูปร่าง ทรวดทรง การแต่งกายที่ส่อไปทางเพศ ซึ่งผู้ถูกกระทำ ไม่พึงประสงค์และไม่ต้องการการพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ การพูดจาแทะโลม การพูดจาลามก รวมถึงการโทรศัพท์ลามก

3.การกระทำทางกาย เช่น การสัมผัสร่างกายของผู้อื่น การลูบคลำ การฉวยโอกาสกอดรัด จูบ การหยอกล้อโดยแตะเนื้อต้องตัว การสัมผัสทางกายอื่นใดที่ไม่น่าพึงประสงค์ รวมถึงการตามตื๊อโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เล่นด้วย

4.การกระทำที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ เช่น ผลการเรียน การเลื่อนตำแหน่ง หากผู้ถูกล่วงละเมิด หรือผู้ถูกคุกคามยอมมีเพศสัมพันธ์ หรือการข่มขู่ให้เกิดผลลบต่อการจ้างงาน

5.การกระทำอื่นๆ เช่น การแสดงรูปภาพ วัตถุ และข้อความที่เกี่ยวข้องกับเพศ ในที่ทำงานและในคอมพิวเตอร์ของตน หรือการโชว์ปฏิทินโป๊ การเขียนหรือวาดภาพทางเพศในที่สาธารณะ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงเรื่องเพศทางอินเตอร์เน็ต เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น

“สิ่งที่ควรกระทำเมื่อถูกคุกคามทางเพศ คือ ให้แสดงออกทันทีว่าไม่พอใจ เช่น ส่งเสียงร้องเพื่อให้ผู้กระทำหยุดการกระทำ และเรียกผู้อื่นให้ช่วย หรือถอยห่างจากเหตุการณ์นั้น และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการบันทึกเสียง หรือถ่ายวิดีโอคลิป หรือบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น โดยจดบันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ คำบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชื่อของพยาน หรือบุคคลที่สามซึ่งถูกกล่าวถึง หรืออยู่ในเหตุการณ์ แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นให้บุคคลที่ไว้ใจทราบทันที และในกรณีผู้ถูกกระทำอาย กลัว อาจมอบอำนาจให้เพื่อนมาแจ้งความเอาผิดแทน หรือร้องขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง”

อ่านข่าวเพิ่มเติม : หาคำตอบ ‘หยุดคุกคามทางเพศ’ เริ่มต้นที่ใคร

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image