ถอดบทเรียนกรณี “ปริญญ์” คุกคามผู้หญิง “ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว” ถึงเวลามี “จริยธรรมทางเพศ” นักการเมือง?

"การเมือง" ฉาว!! คุกคามทางเพศ "ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว" "ผู้หญิง" ควรได้รับความ "ยุติธรรม"

ถอดบทเรียนกรณี “ปริญญ์” คุกคามผู้หญิง “ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว” ถึงเวลามี “จริยธรรมทางเพศ” นักการเมือง?

จากกรณี นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศหญิงสาวหลายราย จนประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งภายในพรรคประชาธิปัตย์

แม้เจ้าตัวจะออกมา “ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา” แต่ก็ยังมีผู้หญิงหลายคนออกมากล่าวหา รวมไปถึงภรรยาไฮโซนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็ออกมาเผยว่า ตัวเองก็เป็น 1 ในเหยื่อเช่นกัน

นับเป็น “เรื่องใหญ่” ที่แม้จะยังไม่มีคำตัดสินออกมาว่าถูกหรือผิด

แต่สังคมได้ตั้งคำถามถึงวงการเมือง รวมถึงคำถามที่ว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ต้องให้ความสำคัญ “จริยธรรมทางเพศ” ของผู้ที่จะเข้ามาเป็น “ผู้แทนราษฎร” ในการบริหารประเทศ

Advertisement
นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศหญิงสาวหลายราย จ

 รศ.สุชีลา ตันชัยนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันปัญญาสิกขา อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล นักเขียน-นักวิชาการอิสระที่ติดตามประเด็นสตรีมาโดยตลอด คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี 2558-2561 หรือ สทพ. สำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวถึงบทเรียนต่อกรณีดังกล่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ควรบรรจุโทษจริยธรรมทางเพศให้ชัดเจน มีความสำคัญมาก เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องเอาเรื่องจริยธรรมทางเพศเข้าไป เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนว่านักการเมืองที่เข้ามาจะไม่ใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ

“กกต.ต้องระบุ พรรคการเมืองก็ต้องขยับเรื่องนี้” รศ.สุชีลาย้ำ ก่อนทิ้งท้ายว่า

  “อยากขอให้ประชาชนทั่วประเทศตรวจสอบนักการเมืองให้ดีๆ ว่ามีปัญหาจริยธรรมบกพร่องหรือไม่ จริยธรรมหลายๆ เรื่อง รวมทั้งจริยธรรมทางเพศ ว่าบกพร่องหรือเปล่า ก่อนที่เราจะมอบอำนาจให้เขาไปเป็นผู้แทนราษฎร”

Advertisement

ด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลผู้ถูกคุกคามทางเพศของมูลนิธิฯ กรณีผู้มีอำนาจเหนือกว่ากระทำต่อผู้มีอำนาจน้อยกว่า มีจำนวนมากขึ้น โดยผู้ถูกกระทำเป็นเยาวชน อายุ 10-20 ปี สูงมาก

  “ปัญหาต่างๆ เกิดจากการแก้ปัญหาของรัฐทำได้ไม่เต็มที่ เป็นลักษณะรัฐรวมศูนย์ ที่ให้อำนาจข้าราชการสูงมาก ทำให้ 1.ปัญหามาจากความคิดชายเป็นใหญ่ 2.ผู้กระทำเป็นคนที่ใช้อำนาจเหนือกว่า คนที่เป็นนักการเมือง ข้าราชการ เป็นครูเยอะมาก อาจารย์มหาวิทยาลัยก็มี”

นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
รศ.สุชีลา ตันชัยนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันปัญญาสิกขา อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล นักเขียน-นักวิชาการอิสระที่ติดตามประเด็นสตรีมาโดยตลอด คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี 2558-2561 หรือ สทพ.
รศ.สุชีลา ตันชัยนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันปัญญาสิกขา อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล นักเขียน-นักวิชาการอิสระที่ติดตามประเด็นสตรีมาโดยตลอด คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี 2558-2561 หรือ สทพ.

แม้ปัญหาจะเกิดจากคนที่มีอำนาจมากขึ้น แต่ปัญหาจากคนในครอบครัวก็ยังมีอยู่ ภายใต้รัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะแก้ไขปัญหา เช่น ตำรวจไม่รับแจ้งความ เพราะมองเรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นการทำงานที่เมื่อ 10 ปีที่แล้วก็เป็นอย่างไร 10 ปีนี้ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

จะเด็จ เผยอีกว่า ขณะนี้กำลังมีปัญหาที่หลายเคสเจอ คือ ผู้กระทำซึ่งเป็นอาจารย์ เป็นครู ภายนอกดูดีมาก ทำให้คนรู้สึกชอบ รู้สึกดี และใช้ความสัมพันธ์ตรงนี้ไปคุกคามผู้หญิง สังคมก็ไม่เข้าใจ บอกว่า เด็กชอบและไปกับเขาเอง อย่างนี้จะเรียกข่มขื่นได้อย่างไร กรณีแบบนี้ทำให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไม่ได้ หลายกรณีอาจถูกยกฟ้องได้

  “สังคมไทยมีปัญหากับกรณีนี้มาก เพราะเชื่อว่า การไปหาที่บ้านเป็นการสมยอม ซึ่งสังคมต้องเรียนรู้ว่า แม้ชอบกัน ไปหาที่บ้าน คุณก็ไม่มีสิทธิคุกคามหรือข่มขืนเขา ต่อให้เป็นแฟนกัน หรือสามีภรรยากัน ก็ไม่มีสิทธิข่มขืน ถ้าฝ่ายหญิงไม่ยินยอม สังคมต้องปกป้องผู้หญิง อันนี้คือมายาคติที่ใหญ่มาก และต้องต่อสู้กันอีกระยะใหญ่”

อย่างไรก็ตาม นายจะเด็จสะท้อนว่า ปัญหาความรุนแรงทางเพศ ถ้าไม่เป็นเรื่องเป็นราวก็เงียบเหมือนเดิม เรื่องที่จะทำให้เกิดบรรทัดฐานขึ้นต้องเป็นข่าวดัง เป็นกระแส ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก มันจะต้องเป็นบรรทัดฐาน ที่ไม่ว่าใครถูกข่มขืน ลูกหลานคนยากคนจนก็ต้องได้รับการคุ้มครองทั้งหมด

จะเด็จ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่อีกไม่นานจะมีการเลือกตั้ง กกต.และทุกพรรคการเมืองต้องมีนโยบายเรื่องจริยธรรมทางเพศ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มีกฎเกณฑ์การตรวจสอบเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิง ปัจจุบันกฎหมายคุกคามทางเพศยังไม่มี ดังนั้นอาจต้องปฏิรูปใหม่ ระบุว่าการคุกคามทางเพศ มีตั้งแต่สายตา วาจา โซเชียลมีเดีย

  “เรื่องนี้ต้องทำอย่างจริงจังสักทีในสังคมไทย เพราะถ้ามีกฎหมายที่แก้ตรงนี้ได้ จะปรามไม่ให้ผู้ชายทำอะไรมากกว่านี้ ยิ่งนักการเมืองสำคัญ เพราะมีบทบาทในสังคม ระบบการตรวจสอบต้องเข้มข้นและจริงจัง ประชาชนต้องสนับสนุนและไม่ควรจะมีคำถามกับผู้หญิงที่เป็นเหยื่อ สังคมต้องเข้าใจ สนับสนุน ไม่ตีตราตอกย้ำมายาคติเดิมๆ”  จะเด็จ ทิ้งท้าย 

นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศหญิงสาวหลายราย จ
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image