เรื่องราวของ ‘จักรเย็บผ้า’ นวัตกรรมที่สรรค์สร้างเครื่องแต่งกาย

วันจักรเย็บผ้า (Sewing Machine Day) ตรงกับวันที่ 13 มิถุนายนของทุกปี เพื่อรำลึกถึงนวัตกรรมที่สรรค์สร้างเครื่องแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม เรื่อยไปจนถึงยังผลให้เกิดวงการแฟชั่นขึ้น

ทุกคนต่างทราบว่าเครื่องนุ่งห่ม เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อห่อหุ้มร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายนอกจากจะใช้ปกปิดร่างกาย ปกป้องจากสภาพอากาศต่างๆ ในปัจจุบันยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม บ่งบอกถึงรสนิยมของผู้สวมใส่อีกด้วย

ดังนั้น จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการตัดเย็บเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ กระโปรง หรือกางเกง ศาสตร์ว่าด้วยการตัดเย็บเสื้อผ้าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายๆ คน เป็นผู้ช่วยการตัดเย็บ อยู่เบื้องหลังชุดเสื้อผ้าสวยเก๋เท่หลากดีไซน์มาโดยตลอด

จักรเย็บผ้าถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1790 โดย นายโทมัส เวนท์ ชาวอังกฤษ การคิดค้นของเวนท์สมัยนั้นจุดประสงค์เพื่อใช้เย็บหนัง แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาปี ค.ศ.1831 บาร์เซเลนี ทิมโมนิแอร์ ช่างตัดเสื้อชาวฝรั่งเศส ได้คิดสร้างจักรเย็บผ้าซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน

Advertisement

ในประเทศสหรัฐอเมริกา นายวอลเตอร์ ฮันท์ ก็ได้คิดค้นและสร้างจักรเย็บผ้า ซึ่งมีเข็มโค้งและมีตาเข็มที่ปลายเข็ม ซึ่งเป็นตัวนำด้ายบนลงไปคล้องด้ายล่างผ่านกระสวย และปี ค.ศ. 1846 เป็นวันแรกที่ อีไลอัส โฮวี ได้รับสิทธิบัตรในจักรเย็บผ้าเครื่องแรกที่มีใช้กัน คือ Lockstich sewing machine (U.S. patent No.4750) ซึ่งหลังจากนั้น ผู้ประดิษฐ์ท่านอื่นๆ ต่างต้องใช้เวลากว่า 40 ปีในการพัฒนาจนมาเป็นจักรเย็บผ้าที่เราใช้กันในปัจจุบัน

สำหรับบราเดอร์ หนึ่งในผู้นำเรื่องจักรเย็บผ้าสัญชาติญี่ปุ่น ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1908 โดยคุณคาเนคิชิ ยาซูอิ บิดาผู้ก่อตั้งของ Brother Industries, Ltd. ที่เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทผู้ให้บริการซ่อมและจัดหาชิ้นส่วนประกอบจักรเย็บผ้า และในปี ค.ศ. 1925 คุณมาซาโยชิ ยาซูอิ ได้รับสืบทอดบริษัทและได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yasui Brothers’ Sewing Machine Co.

คุณมาซาโยชิ เมื่ออายุได้ 17 ก็เริ่มทำงานเป็นพนักงานฝึกหัดในโอซากา เนื่องจากตลาดจักรเย็บผ้าในตอนนั้นถูกครอบครองโดยผลิตภัณฑ์นำเข้า คุณมาซาโยชิจึงมีเป้าหมายอันแรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมที่ครอบงำโดยการนำเข้า ไปสู่การผลิตภายในประเทศและส่งออกสินค้า จึงได้ผลิตจักรบราเดอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1928 และเริ่มพัฒนาจักรเย็บแบบห่วงโซ่สำหรับการผลิตหมวดฟาง จักรเย็บแบบห่วงโซ่นี้ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากมีความทนทาน ซึ่งในขณะนั้นมีความทนทานมากกว่าจักรเย็บผ้าที่ผลิตในเยอรมนี

Advertisement

กระทั่ง ปี ค.ศ. 1932 บราเดอร์ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวจักรเย็บผ้าสำหรับครัวเรือนที่ผลิตในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และปี ค.ศ. 1934 ได้ก้าวไปสู่ขั้นตอนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และต่อมาได้เริ่มทำการผลิตจักรเย็บผ้าสำหรับอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1936 จนถึงปี ค.ศ. 1947 บราเดอร์เริ่มส่งออกจักรเย็บผ้าสำหรับครัวเรือน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาอุตสาหกรรมจักรเย็บผ้าจากพื้นฐานการนำเข้าไปสู่อุตสาหกรรมบนพื้นฐานการส่งออกของบราเดอร์

สำหรับประเทศไทย เริ่มมีจักรเย็บผ้าเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2432 และมีจักรขาใยแมงมุมใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2482 โดยปรากฏรูปภาพในพระที่นั่งวิมานเมฆ ที่แสดงให้เห็นจักรเย็บผ้ากับสตรีสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาจักรอุตสาหกรรมเริ่มเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นจักรอุตสาหกรรมใช้เท้าถีบ และใช้หัวเข่าในการยกตีนผี

“จักรเย็บผ้า” จากรุ่นเก่า สู่รุ่นใหม่ที่พัฒนารูปแบบทันสมัย อยู่ไม่ไกลจากการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา ปัจจุบันจักรเย็บผ้าก็ยังคงทำหน้าที่สำคัญ เป็นเครื่องมือตัดเย็บเสื้อผ้า อยู่เบื้องหลังชุดสวยๆ ที่เราสวมใส่กัน “จักรเย็บผ้า”ที่เคยมีอยู่คู่บ้าน ถึงวันนี้ก็ยังคงมีใช้กัน เพียงแต่อาจเปลี่ยนรูปแบบไป กะทัดรัดขึ้น เป็นจักรคอมพิวเตอร์ และจักรหูหิ้ว

บราเดอร์ ประเทศไทย เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อปี 1997 โดยจักรเย็บผ้าตัวแรก ได้แก่ Shosanshiki sewing machine straw hat เป็นจักรสำหรับเย็บหมวก

ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่บราเดอร์ดำเนินธุรกิจจักรเย็บผ้าในประเทศไทย ได้รับการตอบรับอย่างมากในกลุ่มแม่บ้าน และเจ้าของธุรกิจ

สำหรับบราเดอร์ ประเทศไทยได้นำเข้าจักรเย็บผ้ารวมทั้งหมด 16 รุ่น และขายไปแล้วกว่า 112,091 เครื่อง ซึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมได้แก่ GS2700 และรุ่นที่ได้จับมือกับพาร์ทเนอร์ (ลิขสิทธิ์จากวอลดิสนีย์) ในการรังสรรค์ฟีเจอร์พิเศษให้กับลูกค้า ได้แก่ NV180D

ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมจักรเย็บผ้า บราเดอร์ได้มองถึงเทคโนโลยี Projector Guidelines โดยเมื่อนำผ้ามาวางบนจักรเย็บผ้า สามารถ guideline แนวตะเข็บอัตโนมัติได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดจากบราเดอร์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image