สถานีอวกาศนานาชาติ ฉลองโคจรรอบโลกครบ 100,000 รอบ

NASA

สถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ห้องทดลองอวกาศซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหลายชาติ โคจรรอบโลกครบ 100,000 รอบแล้วเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ศูนย์ควบคุมไอเอสเอสที่มีที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ประเทศรัสเซีย แถลงว่า “วันนี้ไอเอสเอสโคจรรอบโลกผ่าน 100,000 ไปแล้ว” ทั้งนี้สถานีอวกาศที่โคจรเหนือชันบรรยากาศของโลกด้วยความสูง 400 กิโลเมตร โคจรด้วยความเร็วถึง 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถโครรอบโลกครบ 1 รอบได้ด้วยเวลา 90 นาที

ด้านองค์การบริหารการบินและอวกาศ (นาซา)ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า ปัจจุบันสถานีอวกาศไอเอสเอส เดินทางไปแล้วเป็นระยะทาง 2,600 ล้านไมล์หรือราว 4,184 ล้านกิโลเมตร “คิดเป็นระยะทางจากโลกไปดาวอังคารไปกลับ 10 รอบ” ขณะที่เจฟฟ์ วิลเลียมส์ วิศวกรการบินของสหรัฐที่ประจำอยู่ที่สถานีอวกาศไอเอสเอสระบุว่า “นี่เป็นหลักไมล์สำคัญและนับเป็นดังการยกย่องผู้มีส่วนร่วมจากนานาชาติอย่างองค์การอวกาศยุโรป รัสเซีย แคนาดา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา”

ทั้งนี้สถานีอวกาศส่วนแรกได้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 17 ปีก่อน ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 ขณะที่ทีมลูกเรือที่ขึ้นประจำการเป็นครั้งแรกในปี 2543 ประกอบด้วยบิลล์ เชพเพิร์ด นักบินอวกาศชาวอเมริกัน เซอร์เก คริกาเลฟ และ ยูริ กิดเซ็นโก สองนักบินอวกาศชาวรัสเซีย และนับแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีนักบินอวกาศสับเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นประจำการจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดสถานีอวกาศขยายขนาดจาก 2 โมดูล เป็น 15 โมดูล มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 1 สนาม และใช้งบประมาณลงทุนรวมแล้ว 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 3.5 ล้านล้านบาท

Advertisement

สถานอวกาศไอเอสเอสมักมีนักบินอวกาศประจำการอยู่จำนวน 6 คน โดยกระสวยอวกาศโซยุซจะนำนักบินอวกาศ 3 คนขึ้นไปสับเปลี่ยนกับอีก 3 คนที่จะกลับลงสู่พื้นโลก

ตลอดช่วงเวลาทำการของไอเอสเอส มีนักบินอวกาศ 226 คนจาก 15 ประเทศขึ้นประจำการ ขณะที่สถานีอวกาศไอเอสเอส คาดว่าจะดำเนินการอยู่จนถึงปี 2567 หลังจากประเทศที่มีส่วนร่วมยกเว้นสหภาพยุโรป บรรลุข้อตกลงที่จะสนับสนุนเงินทุนให้กับไอเอสเอสดำเนินการอย่างน้อยไปจนถึงเวลานั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image