ระบบขนส่งอัจฉริยะ ก้าวย่างสู่”ดิจิทัลไทยแลนด์”

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ประกาศนโยบายในการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการการขยายตัวของความเป็นเมือง โดยยังคงรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของแต่ละเมืองไว้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

หนึ่งในแกนหลักสำคัญของวิสัยทัศน์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ คือ การขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบขนส่งที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงง่าย และสะดวกสบายให้แก่ประชาชนในเมือง รวมถึงนักท่องเที่ยว โดยภาครัฐได้เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูประบบขนส่งปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและมีการเชื่อมต่อที่คล่องตัวยิ่งขึ้น ผ่านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data

ระบบคมนาคมขนส่งมักเป็นปัญหาหลักของหลายเมืองใหญ่ที่กำลังมุ่งพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะที่เติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับในประเทศไทยเองมีผลสำรวจพบว่า คนไทยเสียเวลาไปกับปัญหารถติดเฉลี่ยรวมกว่า 24 วันต่อปี (หรือเฉลี่ยมากกว่า 1.5 ชั่วโมงต่อวัน) ทั้งนี้ สาเหตุหลักของปัญหาการจราจรติดขัด คือ จำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นบนท้องถนน ในกรุงเทพฯ มีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนกว่า 9.8 ล้านคัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ถนนและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สามารถรองรับได้ถึง 8 เท่า

การขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ จึงไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่เพิ่มตัวเลือกในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ แต่จำเป็นต้องพัฒนาเครือข่ายการเดินทางสาธารณะที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อจากการใช้ทรัพยากรข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้เดินทางให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะในชีวิตประจำวัน

Advertisement

การนำใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด จึงเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะ ในขณะที่แพลตฟอร์มบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-hailing platform) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

1.นำ Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางสำหรับคนกรุงเทพฯ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ในการเรียกใช้และให้บริการดังกล่าวในแต่ละวัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณมหาศาล เช่น สถานที่ที่คนนิยมเรียกบริการรับส่ง ช่วงเวลาที่การจราจรมีความหนาแน่นที่สุด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับภาครัฐในการบริหารจัดการการจราจร รวมถึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการวางผังเมืองและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการวิเคราะห์ Big Data ที่แสดงถึงปริมาณความต้องการใช้บริการรถยนต์ร่วมโดยสารในแต่ละพื้นที่ ยังสามารถนำมาใช้คาดการณ์บริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่งทุกรูปแบบให้ครอบคลุมกับความต้องการอย่างตรงจุด
นอกจากนี้ การนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้อย่างแม่นยำและชาญฉลาด จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ ยืดหยุ่น และง่ายต่อการแบ่งปันข้อมูล เช่น แพลตฟอร์มระบบขนส่งอัจฉริยะของแกร็บ (Grab) ที่สามารถเรียกดูภาพข้อมูลการจราจรของรถที่ให้บริการบนแพลตฟอร์มแกร็บได้ทุกคันแบบเรียลไทม์และย้อนหลัง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้วิเคราะห์และวางแผน อีกทั้งยังเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่สามารถนำไปใช้พัฒนาระบบบริหารโครงข่ายการเดินทางองค์รวมแบบเรียลไทม์

2. ส่งเสริมให้เกิดระบบการคมนาคมขนส่งที่ไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูลจากภาครัฐและเอกชน และเพิ่มตัวเลือกบริการการเดินทางที่หลากหลาย ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือและโซเชียลมีเดียในระดับสูง คนไทยจึงมีความคุ้นเคยกับโลกออนไลน์ที่ไร้รอยต่อ และมีความคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นเช่นเดียวกันในการเดินทางด้วยระบบขนส่งต่างๆ ความคาดหวังดังกล่าวจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ลดช่องว่างในการเชื่อมต่อ และส่งเสริมให้เกิดตัวเลือกที่สะดวกสบายแก่ผู้เดินทาง
การบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร จึงมีบทบาทในการลดช่องว่างระหว่างระบบขนส่งประเภทต่างๆ ด้วยการมอบตัวเลือกในการเดินทางที่ครอบคลุมจากต้นทางสู่ปลายทาง (FMLM – First Mile/Last Mile) เชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะในเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประสบการณ์การเดินทางยังสามารถยกระดับไปอีกขั้น ด้วยการบูรณาการข้อมูลจากระบบการขนส่งประเภทต่างๆ เช่น รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า เพื่อนำเสนอข้อมูลในการเดินทางที่แม่นยำผ่านแพลตฟอร์มบริการรถยนต์ร่วมโดยสาร ให้ผู้เดินทางสามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น และสามารถเลือกรูปแบบการเดินทางที่เหมาะสม เช่น การเลือกเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเป็นหลัก ร่วมกับบริการรถยรต์ร่วมโดยสารในบางช่วงของการเดินทาง ระบบขนส่งอัจฉริยะจึงมีประโยชน์กับทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองและนักท่องเที่ยวที่มองหาการเดินทางที่สะดวกสบายด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ การบูรณาการข้อมูลจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบขนส่งได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถวิเคราะห์และวางแผนระบบการเดินทางขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ

‘ทริป แพลนเนอร์’ (Trip Planner) ฟีเจอร์และบริการวางแผนเดินทางนำร่องจากแกร็บ ที่เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะเข้าในแอปพลิเคชันพร้อมเสริมทางเลือกด้วยบริการจากแกร็บ เพื่อตอบโจทย์การเดินทางจากต้นทางสู่ปลายทาง (FMLM – First Mile/Last Mile) และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ โดยบริการนำร่องนี้จะทำให้แกร็บทราบถึงการเชื่อมโยงข้อมูลของระบบขนส่งรูปแบบต่าง ๆ
นอกจากการปลดล็อคศักยภาพด้านการเดินทางในกรุงเทพฯ แล้ว แพลตฟอร์มบริการรถยนต์ร่วมโดยสารยังมีอิทธิพลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชัน Grab ที่รวบรวมบริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อย่างการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) และสร้างโอกาสทางรายได้ให้แก่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและบริษัทให้บริการด้านการเดินทางต่างๆ การบูรณาการข้อมูลเพื่อการเดินทางอย่างไร้รอยต่อจึงสามารถพัฒนาได้อย่างราบรื่น และเอื้อให้เกิดระบบนิเวศที่มีแนวทางชัดเจนในการสนับสนุนนวัตกรรมและการพัฒนาใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) เช่นนี้ จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image