เคล็ดลับดูแลบุตรหลาน สู่การเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ แบบปลอดภัย
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั้งผู้ปกครองและบุตรหลานพากันไปใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น การศึกษาวิจัยล่าสุดโดยแคสเปอร์สกี้พบอัตราการเพิ่มจำนวนชั่วโมงออนไลน์นับได้ถึงสองชั่วโมงต่อวัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าผู้ปกครองในภูมิภาคคิดเป็น 63% เห็นด้วยว่าลูกหลานของตนกำลังหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยเร่ง เช่น คลาสออนไลน์ การสอนเวอร์ชวล อีเกมมิ่ง และช่องทางความบันเทิงต่างๆ เพื่อหลีกหนีความน่าเบื่อหน่าย
แม้แต่ก่อนช่วงล็อกดาวน์ เด็กๆ ก็รู้จักเทรนด์ยอดฮิตของ “influencers” ตามอินเตอร์เน็ตกันมาแล้ว ที่จริงการสำรวจโดย Morning Consult เมื่อปี 2019 เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวนมากถึง 86% ช่วงอายุ 13-38 ปี ใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้มีอิทธิพลทางอินเตอร์เน็ต (influencer) มีความเป็นไปได้ที่ตอนนี้ตัวเลขน่าจะสูงกว่านี้แล้ว เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีผู้มาคอยติดตามชมทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น แต่การจะฟูมฟักหรือก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งดาวของ Youtube หรือ Instagram นั้นต้องใช้อะไรกันบ้างล่ะ
งานวิจัยแคสเปอร์สกี้ ชื่อ “More Connected Than Ever Before: How We Build Our Digital Comfort Zones” สำรวจความคิดเห็นจากผู้ปกครอง 760 รายในภูมิภาค SEA พบว่าผู้ปกครองมากกว่าครึ่งหนึ่ง (52%) ไว้ใจลูกของตนว่าจะรู้วิธีดูแลตนเองให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์ มีเพียง 27% เท่านั้นที่เห็นต่าง ขณะที่ 16% ยังไม่แน่ใจเท่าไร
นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เด็กกำลังเติบโตขึ้นท่ามกลางโลกที่ทุกคนเชื่อมโยงกัน คนแปลกหน้าจากอีกประเทศก็สามารถข้ามมากดไลค์รูปภาพหรือคลิปวิดีโอได้อย่างรวดเร็ว สามารถเขียนคอมเมนต์ หรือบางทีล่าเหยื่อที่ตามเกมไม่ทันได้ทางโลกออนไลน์ จากรูปการณ์นี้ ผู้ปกครองจำเป็นต้องคอยปกป้อง ให้คำแนะนำแก่เด็กๆ การที่เราคิดเอาเองว่าพวกเขามีความสามารถที่จะป้องกันตนเองได้นั้น เป็นเรื่องน่าวิตกเป็นที่สุด เหมือนกับปล่อยให้เด็กนั่งรถสาธารณะไปไหนต่อไหนเองโดยไม่รู้เหนือรู้ใต้ เป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง”
และเสริมว่า “ไม่ผิดหรอก ถ้าเด็กฝันอยากจะเป็นบล็อกเกอร์หรืออินฟลูเอ็นเซอร์ ก็เหมือนกับที่รุ่นก่อนๆ ฝันอยากเป็นนักร้องดาราดัง แต่ที่สำคัญคือต้องสนับสนุนและให้คำปรึกษาแนะนำลูกหลานไปด้วยกัน สอนให้เขามีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำเร็จหรือความผิดหวัง ฝึกให้เรียนรู้สมดุลหน้าที่การเรียนและกิจกรรมโลกออนไลน์ ที่สำคัญคือ สอนให้รู้จักใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และฝึกพฤติกรรมที่จะนำทางให้เขาปลอดภัยเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์”
วิธีการช่วยประคับประคองเด็กๆ บนเส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ยอดนิยม
ทุกวันนี้มีเด็กหลายคนที่ฝันอยากโด่งดัง อยากเป็นคนดังโดยและใช้บัญชีส่วนตัวบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นวิธีการที่อันตรายต่อความปลอดภัยส่วนบุคคลของเด็กคนนั้นเองเป็นอย่างยิ่ง
– ในสถานการณ์เช่นนี้ เด็กอยากที่จะทำตัวคุ้นเคยอยากรู้จักคนที่เข้ามา ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกล่อลวง
– เด็กๆ มักแชร์ข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนในบัญชีออนไลน์
– บัญชีดังกล่าวจะดึงดูดพวกที่ก่อความวุ่นวาย / ป่วน / เกรียนตามอินเตอร์เน็ต (internet trolls) มาคอมเมนต์กลั่นแกล้ง ให้ร้ายระราน อาจกระทบกระเทือนจิตใจ เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา
หากคุณเข้าใจตรงจุดนี้ ก่อนอื่นคุณต้องยอมรับก่อนว่าบัญชีโซเชียลมีเดียของเด็กย่อมจะกลายเป็นบัญชีสาธารณะ เปิดกว้างต่อผู้คนมากหน้าหลายตา คุณจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับสิ่งกระทบที่จะเข้ามา และต้องช่วยประคับประคองลูกหลานของคุณให้อยู่ในโลกโซเชียลตรงนี้ได้อย่างปลอดภัย
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่น่าจะเป็นประโยชน์บางประการเพื่อผู้ปกครองพิจารณา
1.จงจำไว้ว่าโซเชียลมีเดียคือเส้นทางสื่อสารในโลกของเด็กๆ กับกลุ่มเพื่อนของเขา อย่าได้เปลี่ยนสถานะจากส่วนตัว มาเป็นสาธารณะ ควรปล่อยให้เขาได้มีช่องทางส่วนตัวที่คนแปลกหน้าหรือพวกเกรียนคีย์บอร์ดไม่สามารถเข้าไปรบกวนจิตใจเขาได้ บัญชีส่วนตัวควรต้องเป็นโลกโซเชียลสำหรับเขากับเพื่อน ญาติสนิท ครูอาจารย์ คนที่มีความสำคัญต่อเด็กในชีวิตจริงเท่านั้น
2.ผู้ปกครองควรที่จะย้ำเตือนความจริงเรื่องการไขว่คว้าหาชื่อเสียง อยากเป็นบล็อกเกอร์ เน็ตไอดอล การลงทุนลงแรงลงเวลาไปกับงานนี้มากแต่อาจไม่ได้ผลตามที่ตั้งหวังก็เป็นได้ และสิ่งที่โพสต์บนอินเตอร์เน็ตก็จะคงล่องลอยอยู่บนนั้นไปอีกแสนนาน รวมทั้งคำพูด คำวิจารณ์ของผู้คนที่มีแต่สร้างความรันทด ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามล้อเลียนก็สามารถจะย้อนมาก่อปัญหาให้เราได้ในอนาคต เช่น ตอนสมัครงานที่จะต้องอธิบายถึงเรื่องที่ยังคงค้างและพบบนอินเตอร์เน็ต หรืออาจก่อปัญหาให้เวลาสมัครเรียนต่อก็เป็นได้ ดังนั้น จงอธิบายชี้ให้เห็นสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่ออนาคตของตัวเขา ก่อนที่เขาหรือเธอจะแสดงออกโดยไม่กลั่นกรองเพียงเพื่อเรียกความสนใจ เด็กๆ ควรใคร่ครวญให้ดีถึงวิธีการแสดงออกถึงความเป็นตัวตน โดยคำนึงถึงผลที่จะตามมาวันพรุ่งนี้หรือวันข้างหน้า
3.สร้างบัญชี (account) สำหรับสาธารณะด้วยกันกับลูกหลานของคุณ อย่าปล่อยข้อมูลอ่อนไหวหรือเรื่องส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เลขประตัวนักเรียน เบอร์โทร สถานที่เที่ยวที่ไปบ่อย ลิ้งก์ไปเพจของคนในครอบครัว เพราะข้อมูลเหล่านี้จะเกิดความเสี่ยงอย่างมากในวันที่เขากลายเป็นคนดังขึ้นมา อาจมีคนมาขุดคุ้ยข้อมูลเพื่อใช้ก่อความเดือดร้อนระรานให้แก่ตัวเด็ก / ครอบครัว / เพื่อนก็เป็นได้ สอนให้ลูกหลานของคุณโพสต์ข้อมูลอย่างรู้ตัว รู้ทัน รู้ว่าสิ่งใดควรแชร์กับคนทั้งโลกหรือสิ่งใดควรเป็นเรื่องส่วนตัว
4.อธิบายให้เด็กรู้จัก cyber-stalking หรือการสะกดรอยตาม / เกาะติดทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบการระรานทางออนไลน์ ที่กลายมาเป็นการข่มเหงทางกายภาพในโลกจริงได้เช่นกัน พวกนี้ไม่ใช่พวกเกรียนคีย์บอร์ด (trolls) ซึ่งมาแนวกัดแทะดูถูกพูดจาให้ร้าย แต่พวกสะกดรอยไซเบอร์นี้จะมองหาช่องทางสื่อสารให้ได้ใกล้ชิดมากขึ้นกว่าธรรมดา อาจนำไปสู่การพบปะทางกายภาพ เป็นแนวเดียวกับพวกคลั่งดารา คนดังที่ติดตามชีวิตไอดอลของตน เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้กับบล็อกเกอร์ เน็ตไอดอลคนดัง และจงจำไว้ว่าห้ามให้ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลเกี่ยวกับตัวตน กับคนแปลกหน้าที่พบบนบัญชีออนไลน์สาธารณะโดยเด็ดขาด แม้ว่าจะพูดคุยเหมือนรู้จักกันมาเป็นเวลานานก็ตาม
5.บัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์กทุกบัญชีควรมีการเซ็ตอัพระบบความปลอดภัยเอาไว้ เพราะเมื่อกลายมาเป็นคนสาธารณะ ชีวิตโซเชียลเน็ตเวิร์กส่วนหนึ่งจะกลายมาเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต รวมทั้งเวลา / เรื่องราวที่เกิดขึ้น / ข้อมูลแต่ละวัน ก็เป็นที่สนใจ ในอีกทางหนึ่ง ก็จะมีคนที่สนใจคุณอยู่เหมือนกัน แต่คนพวกนี้สนใจเพื่อแฮกเจาะเข้าบัญชีของคุณอย่างผิดกฎหมายโดยที่คุณไม่ยินยอมด้วย ดังนั้น เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมยูสเซอร์เนม / รหัสผ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อเด็กๆ ที่จะระมัดระวัง ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในจุดนี้ ควรมีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ตั้งรหัสผ่านที่แกร่ง แกะยากและแยกรหัสแต่ละบัญชีไม่ใช้รหัสเดียวกัน ตั้งการตรวจสอบแบบ two-factor authentication ทุกที่ เพื่อรับรหัสผ่านแบบ one-time passwords ให้ส่งมาถึงคุณทางโทรศัพท์ และควรมีวิธีการกู้รหัสได้ด้วย
6.เตรียมตัวรับมือกับปัญหาจากพวกเกรียนคีย์บอร์ดชอบระราน แม้แต่คนที่ไม่เด่นดังอะไรก็อาจประสบปัญหาจากคนชอบเกะกะระราน ใส่ร้ายป้ายสี สร้างเรื่องล้อเลียนผู้อื่นตามช่องทางออนไลน์ ซึ่งผู้ปกครองต้องแนะนำในการรับมือ ทุกคนเลือกวิธีที่สะดวกที่สุดในการ “รับมือ” กับคนจำพวกนี้ในที่เปิดเผย: บ้างเมินเฉยไม่ใส่ใจและลบคอมเมนต์ออกไป บ้างโต้ตอบรุนแรงพอๆ กับที่โดนระราน ขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ที่ออกมา แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องตอบโต้กับคอมเมนต์ที่น่ารังเกียจเหล่านั้นในบัญชีออนไลน์ของคุณ อธิบายให้เด็กๆ เข้าใจว่า พฤติกรรมที่แสดงออกผ่านความรุนแรงนั้นไม่มีทางที่จะผันมาเป็นการสื่อสารในวงเพื่อนสนิทใกล้ชิดได้เลย
7.ย้ำเตือนเด็กๆ เรื่องข้อบัญญัติข้อกฎหมาย ซึ่งมีความเข้มงวดในเรื่องพฤติกรรมบนอินเตอร์เน็ต คุณและลูกหลานควรจะศึกษาร่วมกันถึงหัวข้อที่ควรเลือกมาเขียนลงบนอินเตอร์เน็ต
ท้ายนี้ จงย้ำเตือนลูกหลานของคุณให้ดีว่า ไม่ใช่ทุกคนจะกลายมาเป็นดาวเด่นอินสตาแกรมได้สมใจหวัง ต้องอดทนและเตรียมตัวเตรียมใจ แน่นอนว่า ถ้าคุณจะไขว่คว้าดวงดาว คุณก็ต้องมีความหวัง คิดแง่บวก แต่ก็ต้องเรียนรู้การรับความจริงว่า ความผิดหวังก็มาได้ด้วยเหมือนกัน และไม่ควรที่จะกลายเป็นโศกนาฏกรรมของทั้งชีวิต แต่เป็นบทเรียนของก้าวต่อไปสู่ความสำเร็จต่างหาก
สำหรับผู้ปกครองที่สนใจการป้องกันลูกหลานทางออนไลน์ให้มั่นคงมากขึ้น สามารถพิจารณาใช้ฟีเจอร์ Safe Kids ในผลิตภัณฑ์ Kaspersky Total Security การปกป้องระดับพรีเมียม รวมการป้องกันที่ดีที่สุด สำหรับคุณและครอบครัว ครอบคลุมทุกอุปกรณ์ ซึ่งตอนนี้ แคสเปอร์สกี้ มีส่วนลดให้พิเศษ 20% สำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563