รู้ไหมว่า?! วันที่ 16 ตุลาคมของทุกๆ ปี ถือเป็นวันชวนอิ่มแสนอร่อย

รู้ไหมว่า?! วันที่ 16 ตุลาคมของทุกๆ ปี ถือเป็นวันชวนอิ่มแสนอร่อย

วันที่ 16 ตุลาคมของทุกๆ ปี สหประชาชาติยกให้วันนี้เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงประเด็นความยากจนและความอดอยาก

มื้ออาหารของเด็กๆ จากโรงเรียนทั่วโลกก็มีหน้าตาและรสชาติหลากหลาย กว่าจะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโภชนาการคับคั่ง แต่ละประเทศก็เผชิญปัญหาเรื่องโภชนาการอาหารเด็ก อย่างประเทศไทยเองตอนนี้ ก็มีเด็กๆ เกือบ 3 ล้านคนกำลังมีปัญหาทางโภชนาการ

FOOD FOR GOOD อยากเชิญทุกคนร่วมใจกันแชร์ Content ให้คนตระหนักถึงปัญหาภาวะโภชนาการขาดและเกินของเด็กในประเทศไทย

https://www.facebook.com/foodforgoodth/posts/4633486716709476

Advertisement

รู้ไหมว่า?! วันที่ 16 ตุลาคมของทุกๆ ปี ถือเป็นวันชวนอิ่มแสนอร่อย 🍲 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติยกให้วันนี้เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงประเด็นความยากจนและความอดอยาก

มื้ออาหารของเด็กๆ จากโรงเรียนทั่วโลกก็มีหน้าตาและรสชาติหลากหลาย กว่าจะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโภชนาการคับคั่ง แต่ละประเทศก็เผชิญปัญหาเรื่องโภชนาการอาหารเด็ก อย่างประเทศไทยเองตอนนี้ ก็มีเด็กๆ เกือบ 3 ล้านคนกำลังมีปัญหาทางโภชนาการ

😋 วันนี้ Food For Good จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสตอรี่การแก้ปัญหามื้อกลางวันในถาดอาหารจาก 3 ประเทศทั่วโลก เราอาจนำวิธีเหล่านี้มาปรับใช้ เพื่อให้เด็กไทยกินอาหารดีๆ ทุกเที่ยงก็ได้

ประเทศบราซิล อาหารคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสำหรับคนทุกวัย 🍅

รัฐบาลบราซิลเชื่อว่าอาหารเป็นสิทธิทางมนุษยชนโดยรัฐธรรมนูญของประเทศ เริ่มโครงการอาหารโรงเรียนตั้งแต่ 1940s เพื่อให้เด็กมีกินอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงโรงเรียนกับเกษตรกรรายย่อยให้ซื้อผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ในพื้นที่ เพื่อความสดของอาหาร คงคุณค่าทางโภชนาการ เน้นการกระจายอำนาจในการจัดหาอาหารกลางวันสู่เทศบาลท้องถิ่น เด็กๆ บราซิลจึงได้กินข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์ และสลัด อย่างครบ 5 หมู่ วัตถุดิบสดใหม่ ห่างไกลวัตถุกันเสีย โดยเด็กเล็กจะได้กินถึง 3-5 มื้อต่อวันที่โรงเรียนเลยด้วย

ประเทศสหรัฐอเมริกา เด็กๆ ได้กินอาหารแต่แปรรูปจนน้ำหนักเกิน รัฐบาลทนไม่ไหวจึงลุกขึ้นมารณรงค์ยกใหญ่ทั่วประเทศ 🥛

จากสถิติในปี 2007-2008 พบว่า 15% ของเด็กนักเรียนอเมริกาวัย 6-11 ปี มีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์เพราะได้กินแต่อาหารแปรรูป ของทอด และอาหารขยะ รัฐบาลจึงเริ่มรณรงค์ให้ทุกโรงเรียนเน้นอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ลดปริมาณเกลือและไขมันในอาหารลง เน้นเนื้อสัตว์อย่างดี ขนมปังธัญพืช นม เพิ่มผักและผลไม้อย่างจริงจัง พ่วงด้วยการแก้ปัญหาหนี้อาหารกลางวันให้เด็กๆ ที่มาจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อยจึงได้กินอาหารที่ดี ฟรี และทั่วถึง ทั้งยังมีโครงการ Farm-to-School ชวนเกษตรกรจัดวัตถุดิบดีๆ เสิร์ฟถึงโรงเรียน มีเด็กหลายคนได้ลิ้มรสแอปเปิ้ลสีเหลืองทองจากฟาร์มในพื้นที่ด้วย นักเรียนอิ่มได้ท้อง สมองก็พร้อมต่อการเรียนยามบ่าย

ประเทศเวียดนาม ฟื้นฟูเด็กๆ หลังผ่านสงครามด้วยเทคโนโลยี และองค์ความรู้ 🍛

ประเทศเวียดนามผ่านพ้นสงครามพร้อมบาดแผลทางเศรษฐกิจและปากท้องของคนทุกวัย เด็กเวียดนามในชนบทมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่ามาตรฐาน WHO ส่วนเด็กในเมืองใหญ่ก็มักพบปัญหาโรคอ้วน ขาดความสมดุลของสารอาหาร รัฐบาลร่วมมือกับภาคเอกชน นำแนวคิดอาหารกลางวันที่มีต้นแบบจากประเทศญี่ปุ่นหลังผ่านสงครามมาใช้กับโรงเรียนทั่วเวียดนาม พัฒนาหนังสือเมนู สื่อการเรียนรู้ นำนักโภชนาการจากภาคเอกชนมาจัดสรรอาหารอย่างถูกต้อง และนำเทคโนโลยีซอฟแวร์มาช่วยจัดการวางแผนเมนูอาหารด้วย

จำได้ว่าในวัยเด็ก เราจะได้กินเมนูอาหารในถาดหลุมที่หลากหลาย เมนูพิเศษที่ปรุงจากวัตถุดิบประจำฤดูกาล มีผลไม้ประจำวัน รวมถึงของหวานยามบ่าย 🍍 เป็นภาพจำอาหารในถาดหลุมสำหรับเด็กไทยส่วนมาก แต่ปัจจุบัน ก็ยังมีนักเรียนไม่น้อยที่ยังกินไม่อิ่ม ขาดสารอาหาร โตได้ไม่เต็มที่จนทำตามความฝันตนเองไม่ได้

อาหารที่ดี คือสิ่งที่ทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง FOOD FOR GOOD🥕 เราพยายามแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารให้กับเด็กไทย ด้วยกลไก 4 Good ได้แก่ Good Food, Good Knowledge, Good Farm และ Good Health สร้างความตระหนักแก่คนหมู่มากผ่านแบรนด์ดัง ระดมทุนช่วยเหลือโรงเรียนขาดแคลน ให้ความรู้ทางโภชนาการแก่คุณครู และสอนพวกเขาปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อมีกินต่อไปในอนาคต 🍳 และเราอยากให้คุณ มาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็กไทยได้กินตามฝันไปด้วยกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image