วิทยาลัยนวัตกรรม มธ. นำผลงานอาษาเฟรมเวิร์คไปจัดแสดงในงานวันนักประดิษฐ์ 2561

วิทยาลัยนวัตกรรม มธ. ได้นำผลงานอาษาเฟรมเวิร์คไปจัดแสดงในงานวันนักประดิษฐ์ 2561 หมวดกลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่องานอุตสาหกรรม (วิจัยขายได้) มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยีอยู่ที่ full operation/commercialization จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ณ ไบเทค บางนา

ทั้งนี้ อาษาเฟรมเวิร์คเป็นเทคโนโลยีฐาน (Platform technology)ในอุตสาหกรรมดิจิทัล ด้านเอนจิ้นสร้างเกม 2 มิติและ 3 มิติ แบบ Open Source และ Cross Platform (สามารถลงได้ทุกแพลทฟอร์มที่มี C/C++ Compiler) ถูกพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาษา ตั้งจิตสมคิด สิ่งประดิษฐ์ อาษาเฟรมเวิร์ค นี้ได้ถูกแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วโลก สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย, อาษาเฟรมเวิร์คจะเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลคอนเทนต์และหวังไว้อย่างยิ่งว่าต้องการให้เครื่องมือตัวนี้เป็นมาตรฐานเฟรมเวิร์คแห่งชาติในอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลคอนเทนต์ นำไปต่อยอดสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถก่อให้เกิดรายได้เป็นอาชีพมั่นคงให้แก่ทุกคนทั่วโลก

นอกจากนี้ ยังได้สร้างความเป็นนานาชาติในด้านบริการวิชาการคือมีผู้ใช้อาษาเฟรมเวิร์คทั่วโลกไปแล้วกว่า 73,736 ครั้ง มี Active User ต่อวันมากว่า 230 ครั้ง โดยแยกเป็นประเทศต่างๆที่เข้ามาใช้งานดังต่อไปนี้ ทวีปอเมริกา: สหรัฐอเมริกา แคนาดา, ทวีปยุโรป: เยอรมนี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย ฮังการี สเปน ฝรั่งเศส สโลวีเนีย เบลารุส , ทวีปเอเซีย: จีน ฮ่องกง เกาหลี อินเดีย คาซัคสถาน ปากีสถาน อินโดนีเซีย ลาว อิรัก บังกลาเทศ เนปาล มาเก๊า มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัฟกานิสถาน , ทวีปแอฟริกา: แอฟริกาใต้ บราซิล โบลิเวีย ปารากวัย อียิปต์ โตโก และ ทวีปออสเตรเลีย: ออสเตรเลีย ออสเตรีย กวม

นอกจากนี้ ยังได้สร้างความเป็นนานาชาติในด้านการเรียนการสอนคือสร้างคอร์สเรียนออนไลน์ชื่อ ARSA Framework: Master of ARSA Script บนแพลทฟอร์มการศึกษาของ Udemy (Udemy มีผู้เรียนกว่า 14 ล้านคนจาก 196 ประเทศทั่วโลก) มีผู้ลงทะเบียนเรียน ARSA Framework ทั่วโลกแล้วกว่า 2,915 คนจาก 105 ประเทศ โดยแบ่งเป็น สหรัฐอเมริกา 20%, อินเดีย 13%, ไทย 11%, ปากีสถาน 4%, อียิปต์ 4%

Advertisement

และยังได้ถูกขึ้นบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทยแล้วและเป็นงานอันมีลิทสิทธิ์ดังนี้ 1.) สิ่งประดิษฐ์ไทยรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับรองเมื่อวันที่ 4 กันยายน 25602.) ลิขสิทธิ์รับรองโดยสำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ รับรองเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2560

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image