แรดไพเพอร์ หุ่นตรวจกัมมันตภาพรังสี

AP

ทีมวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในเมืองพิทส์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์วิลเลียม “เรด” วิทเทเกอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการหุ่นยนต์คาร์เนกี เมลลอน ประสบความสำเร็จในการพัฒนา “แรดไพเพอร์” หุ่นยนต์อัตโนมัติที่ทำงานได้เอง เพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบปริมาณกัมมันตภาพรังสีตามอุโมงค์ขนาดใหญ่ในโรงงานเพิ่มความเข้มข้นของยูเรเนียม พอร์ทสมัธ แกเซียส ดิฟฟิวชั่น ในเมืองไพเคตัน รัฐโอไฮโอ ในหน้าร้อนนี้

โครงการพัฒนาหุ่นยนต์ดังกล่าวนี้ได้รับเงินสนับสนุนโครงการจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาที่หวังจะนำวิธีการเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้ในโรงงานนิวเคลียร์อีกหลายแห่ง อาทิ โรงงาน ซาวันนาห์ริเวอร์ในรัฐ เซาท์แคโรไลนา, โรงงานฮันฟอร์ด ในเมืองริชแลนด์ รัฐวอชิงตัน เป็นต้น ทั้งนี้ โรดริโก ริมันโด จูเนียร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของกระทรวงพลังงาน ระบุว่า “แรดไพเพอร์” ไม่เพียงสะดวกและปลอดภัยกว่าการตรวจสอบ

ด้วยวิธีเดิมเท่านั้น ยังรวดเร็วกว่าด้วย จากการทดสอบการทำงานของแรดไพเพอร์ทุกๆ 1 ชั่วโมง สามารถลดเวลาจากการทำงานด้วยวิธีเดิมได้มากถึง 8 ชั่วโมง

เดิมทีการตรวจสอบปริมาณกัมมันตภาพรังสีตามท่อระบายต่างๆ ใช้กำลังคนเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากการเปิดช่องอุโมงค์ ที่มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เมตร ไปจนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.1 เมตร รวม

Advertisement

ระยะทางราว 24 กิโลเมตร แล้วใช้นั่งร้านยกตัวคนงานในชุดป้องกันกัมมันตภาพรังสี พร้อมด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสี ที่ใหญ่เทอะทะและหนักรุดหน้าไปตามท่อราวครึ่งเมตร จดบันทึกค่ากัมมันตภาพรังสีที่เครื่อง

วัดได้ จากนั้นค่อยเคลื่อนต่อไปอีกครึ่งเมตรในอาคารโรงงานเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียม 1 อาคาร คนงานจเป็นต้องทเช่นนี้ซ้ำๆ มากถึง 1.4 ล้านครั้งในช่วงระยะเวลา 3 ปี เพื่อตรวจสอบท่อแต่ละจุดว่ามีกัมมันตภาพรังสีไป

ตกค้างสะสมอยู่มากน้อยแค่ไหน และจำเป็นต้องรื้อท่อระบายดังกล่าวเหล่านั้นเมื่อเปลี่ยนท่อใหม่เข้าไปแทน ก่อนที่จะนำท่อในส่วนที่ปนเปื้อนไปทำความสะอาดต่อไป

Advertisement

หุ่นยนต์ “แรดไพเพอร์” มีลักษณะเหมือนท่อยาวราว 30 เซนติเมตร มีจานตะกั่วประกบอยู่ทั้ง 2 ด้าน ทำให้มองไปคล้ายๆ กับบาร์เบลล์ขนาดใหญ่ สามารถตรวจสอบและจัดทำแผนที่ผลการตรวจสอบระดับสะสมของยูเรเนียมตาม

ผังท่อเก็บไว้ในตัวอุปกรณ์ ทำให้งานการตรวจสอบซึ่งเดิมใช้เวลานานหลายสัปดาห์ สามารถแล้วเสร็จภายในวันเดียว อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ “แรดไพเพอร์” ทำงานได้เฉพาะในส่วนของท่อซึ่งเป็นท่อตรงเท่านั้น ทำให้ส่วนของ

ท่อที่โค้งงอและบริเวณวาล์วต่างๆ ยังคงจำเป็นต้องใช้คนงานตรวจสอบอยู่ต่อไป

นอกจากนั้น “แรดไพเพอร์” ที่พัฒนาขึ้นในเวลานี้ยังไม่สามารถทำงานตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีในท่อที่มีขนาดเล็กกว่านี้ได้ ทีมพัฒนากำลังเตรียมสร้างเวอร์ชั่นใหม่ที่มีขนาดเล็กลงและสามารถทำงานภายในท่อขนาดเล็กกว่านี้ได้

กลุ่มที่ดูเหมือนเป็นกังวลกับการนำ “แรดไพเพอร์” มาใช้งานจริงในอนาคตอันใกล้นี้เป็นกลุ่มสหภาพแรงงานพนักงานของโรงงานไฟฟ้า เนื่องจากหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมานี้จะเข้ามาทำหน้าที่แทนคนงานในตำแหน่งงานที่มีรายได้ดีมาก และเป็นที่ต้องการของแรงงานคนในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ในทางหนึ่งก็จะเป็นการช่วยให้แรงงานเหล่านี้มีอิสระมากขึ้นเพื่อไปทำหน้าที่ในด้านอื่นๆ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่า

แต่สำหรับทีมผู้พัฒนา “แรดไพเพอร์” แล้ว วิธีการนี้เป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของคนงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งยังลดต้นทุนลงได้มากที่สุดอีกด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image