‘ปิยบุตร’ ปฏิเสธ 2 ข้อหา ชี้ วิพากษ์คำพิพากษาศาลรธน.สามารถทำได้-ตั้งข้อสงสัยคสช.(คลิป)

จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มอบหมายให้..บุริทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมายคสช. กล่าวหานายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคใหม่ ฐานดูหมิ่นศาลและนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามพ...ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์..2560 จากการอ่านแถลงการณ์หลังพรรคไทยรักษาชาติ(ทษช.) ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคเมื่อวันที่ 7 มี.. ที่ผ่านมาจนมีการออกหมายเรียกให้เข้าพบต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) นั้น

เมิื่อเวลา10.00 . วันที่17 เม.. ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะอาคารบี นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วยฝ่ายกฎหมายเดินทางมาพบต่อพนักงานสอบสวน ตามหมายเรียก ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มไร้ความกังวลโดยบรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่นมีแกนนำและว่าที่ส..พรรคอนาคตใหม่นำโดยพล..พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรค ..พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค นายรังสิมันต์ โรม ว่าที่ส..บัญชีรายชื่อ นายคารม พลพรกลาง ว่าที่ส..บัญชีรายชื่อ และประชาชนสมาชิกพรรคอาคตใหม่กว่า 200 คนที่มายืนรอปรบมือต้อนรับตะโกนเชียร์อาจารย์ปิยบุตรสู้ๆดังกึกก้องพร้อมมอบดอกไม้และรูปภาพให้เป็นกำลังใจ

ต่อมาเวลา  13.30 น. นายปิยบุตร กล่าวภายหลัง เข้ารับทราบข้อกล่าวหา กับเจ้าหน้าที่บก.ปอท. กว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ว่า วันนี้พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาตนในความผิดฐานดูหมิ่นศาลตามกฎหมายอาญามาตรา 198 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 2 ข้อหา ซึ่งตนปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ส่วนที่ได้สงสัยว่าใครมอบอำนาจให้พ.อ.บุรินทร์นั้น จากการตรวจคำให้การพบว่า ฝ่ายกฎหมายของคสช.เป็นผู้มอบอำนาจ ตัวคสช. ที่มีหัวหน้าคสช. และเป็นแคนดิเดทนายกรัฐตรีของพรรคการเมือง โดยถือเป็นคู่แข่งพรรคอนาคตใหม่โดยตรง แต่กลับมอบอำนาจให้มากล่าวหาตน ในเรื่องการดูหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ ตนขอตั้งข้อสังเกตไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ มีองค์กรผู้ใช้อำนาจคือ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ดังนั้นศาลถือเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน ระบบการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เสมอ ดังนั้นองค์กรตุลาการย่อมต้องอยู่ระนาบเดียวกัน โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินข้อพิพาททางการเมือง ยิ่งต้องถูกตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้

นายปิยบุตร กล่าวว่า เข้าใจว่าการตรวจสอบตุลาการ หากวิจารณ์มากๆอาจกระทบต่อการพิพากษาคดี การวิจารณ์จึงทำได้โดยวิจารณ์คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษา ซึ่งตนทำมาโดยตลอดตั้งเเต่ตอนเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ในเรื่องดูหมิ่นศาลนั้นเมื่อเทียบเคียงแล้วอาจคล้ายกับการหมิ่นบุคคลอื่น ซึ่งตามปกติแล้ว คนที่ถูกดูหมิ่นจนทำให้เสื่อมเสียเกียติยศชื่อเสียง จะเป็นผู้ริเริ่มกล่าวโทษฟ้องคดี แต่การดูหมิ่นศาล ถูกบัญญัติไว้เป็นอาญาแผ่นดิน ใครจึงไปกล่าวโทษก็ได้ ซึ่งคดีนี้จะมีความสำคัญมาก ในแง่ที่จะเป็นบรรทัดฐาน หากสุดท้ายตนมีความผิดจริง ก็จะทำให้บรรทัดฐานการวิจารณ์การใช้อำนาจรัฐ จะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต่อไปใครไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน ก็อาจโดนใครไม่รู้ไปแจ้งความร้องทุกข์ นี่อาจเป็นจุดอ่อนของกฎหมายไทย การที่ตนโดน ขอให้เป็นอุทาหรณ์ของสภาพการณ์การใช้กฎหมายที่เป็นอยู่ว่า มีข้อบกพร่องอย่างไร ที่จะกระทบกระเทือนต่อการใช้เสรีภาพของประชาชน

Advertisement

เมื่อถามว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองหรือไม่ นายปิยบุตร กล่าวว่า ตนมั่นใจในกระบวนการยุติธรรมและความเป็นกลางของพนักงานสอบสวน แต่กระบวนการเริ่มต้นที่เกิดขึ้น ตนเห็นใจเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะคสช.เป็นผู้กล่าวโทษ สาธารณชนสามารถใช้วิจารณญาณในเรื่องนี้ดูได้ ว่า ทำไมพรรคอนาคตใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งจึงต้องเจอเรื่องนี้ตลอดเวลา ซึ่งทราบจากเจ้าพนักงานสอบสวนว่า มีคนมาร้องเรียนพรรคอนาคตใหม่ทุกวัน ส่วนคดีนี้จะนำพยานเข้ามาขอให้ปอท.สอบเพิ่มประกอบสำนวนหรือไม่ ขอนำข้อกล่าวหาที่ได้มาวันนนี้ไปศึกษารายละเอียดก่อน ซึ่งตนได้ขอเวลาพนักงานสอบสวนไป 15 วัน ทั้งที่ตามปกติ จะมีเวลาทำคำให้การ 30 วัน

“แต่คดีนี้มีการขอเร่งรัดกันมา ดังนั้นภายในวันที่ 25 เม.ย. ตนจะทำคำให้การต่อพนักงานสอบสวนให้เรียบร้อย ทั้งที่ตนเป็นผู้ถูกกล่าวหาย่อมมีสิทธิในการทำคำให้การ แต่กลับมีเวลาเพียง 9 วัน จากนี้จะนำข้อกล่าวหาในวันนี้ไปสแกนลงเว็บไซต์ของพรรคให้สังคมรับรู้ ซึ่งตนดูแล้วมีหลายข้อความที่ตนไม่ได้พูดด้วย” นายปิยบุตรกล่าว ส่วนการจะฟ้องกลับหรือไม่นั้น นายปิยบุตร กล่าวและว่า” ขอเรียนว่า มาเป็นนักการเมืองสิ่งสำคัญที่สุดคือการอดทนอดกลั้นต่อการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง มิเช่นนั้นสังคมประชาธิปไตยจะไปต่อไม่ได้ ตนกับนายธนาธรอดทนถึงที่สุด หลายครั้งเป็น เฮทสปีช มีการใส่ร้ายป้ายสี จึงฝากไปถึงนักการเมืองที่มาจากการยึดอำนาจ รวมถึงองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐด้วยว่า ต้องอดทนอดกลั้นกับความเห็นต่าง เรานักการเมืองจากการเลือกตั้งยังทนได้ นักการเมืองที่มาจากการยึดอำนาจก็ต้องทนได้เช่นกัน”นายปิยบุตร กล่าว

Advertisement

เมื่อถามว่า ใครเร่งรัดคดีมา นายปิยบุตร กล่าวว่า ไม่ทราบ ข้อให้สื่อช่วยตามหาว่าใครกันแน่เร่งรัดให้ตนต้องส่งคำให้การในวันที่ 25 เม.ย. เพราะปกติ สิทธิผู้ต้องหาในการทำคำให้การ ส่วนมากก็จะให้ 15-30 วัน

นายปิยบุตร กล่าวต่ออีกว่า “ความผิดฐานดูหมิ่นศาลคือการดูหมิ่นตัวตุลาการในการพิจารณาคดี แล้วคสช.เกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ ถ้าเทียบกันคสช.ก็เหมือนเป็นรัฐบาล ต่อไปถ้ามีใครวิจารณ์ศาล รัฐบาลก็ต้องแจ้งความดำเนินคดีทุกคดีหรือไม่ ในอดีตความผิดฐานดูหมิ่นศาล ตัวผู้พิพากษาจะเป็นผู้เริ่มคดีแทบทั้งนั้น แทบจะไม่ปรากฎเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นมาแจ้งความ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก”

ด้าน นายกฤษฎางค์  นุตจรัส ทนายความ กล่าวว่า คดีนี้ที่เร่งรัดภายในวันที่ 25 เม.ย.นี้ พนักงานสอบสวนอ้างว่า คสช.กล่าวหานายปิยบุตรหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ ตนก็ย้อนถามว่า พนักงานสอบสวนได้สอบถาม ไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า นายปิยบุตรหมิ่นจริงหรือไม่ หรือยัง ก็ได้ความว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ตอบ ศาลรัฐธรรมบอกเพียงแต่ว่าหมิ่นหรือไม่ให้อยู่ในดุลพินิจศาลยุติธรรม จึงเป็นข้อสงสัยว่า ตัวผู้เสียหายยังไม่บอกว่าโดนหมิ่นหรือเสียหายหรือไม่

“ตอนแรกเราขอเวลาทำคำให้การ 30 วัน ก่อนลดมา 15 วัน และสุดท้ายเหลือ 9 วัน เพราะผู้ใหญ่เร่งรัด ด้วยระยะเวลา 9 วัน เราอาจทำให้การไม่ทัน แต่เชื่อความยุติธรรมยังมีอยู่ เมื่อให้เวลาเราน้อย เราก็จะร้องขอในชั้นอัยการ ซึ่งเราจะปรึกษากันอีกทีว่า เราจะต้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือตัวแทนด้วยหรือไม่ เพราะตรงนี้มีข้อพิรุธที่ขนาดพนักงานสอบสวนยังไม่ทราบว่าหมิ่นหรือไม่แล้วจะเชื่อคำพูดของพ.อ.บุรินทร์ฝ่ายเดียวได้อย่างไร”นายกฤษฎางค์กล่าว

นายกฤษฎางค์ กล่าวอีกว่า เท่าที่ตนดูข้อกล่าวหาไม่พบการหมิ่นศาล เป็นเพียงถ้อยคำเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทุกศาลย่อมถูกวิจารณ์ได้อยู่แล้ว ส่วนการที่พ.อ.บุรินทร์นำข้อความที่นายปิยบุตรไม่ได้พูดมาอ้างในคำให้การ จะเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จหรือไม่นั้นตนกับลูกความยังไม่ได้ดำเนินการอะไร เพราะไม่ได้คิดแค้นใจอะไร คนที่มีปัญหาเรื่องนี้คือคสช.

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image