สมาคมนักกฎหมายอาเซียนมีมติตั้งสถาบันกฎหมายอาเซียนเเล้ว เริ่มฟิลิปปินส์ (ชมคลิป)

“ไสลเกษ”ปธ.ศาลฎีกา เผยสมาคมนักกฎหมายอาเซียนมีมติตั้งสถาบันกฎหมายอาเซียนเเล้ว เริ่มต้นในฟิลิปปินส์ ปัดฝุ่นยกร่างเเนวทางบังคับตามคำสั่งชี้ขาดอนุญาโตฯ ขึ้นมาผลักดันให้บังคับใช้ได้จริงมีประสิทธิภาพใน10 ประเทศอาเซียนสกัดข้อขัดเเย้ง

เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ทแอนด์สปา เมอร์ลินบีช จ.ภูเก็ต นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียนประจำประเทศไทย กล่าวถึงข้อสรุปในการประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมาธิการถาวรของสมาคมกฎหมายอาเซียน ครั้งที่ 41 (41th ASEAN Law Association Governing Council Meeting)หรือ ALA โดย คณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียนประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมาว่าทั้ง 10 ประเทศหรือการสนับสนุนให้มีการตั้งสถาบันกฎหมาย กฎหมายระหว่างอาเซียน (Asian Law Institute) ขึ้นมาโดยสถาบันดังกล่าวจะทำหน้าที่รวบรวมประมวลกฏหมายในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมดโดยจะเน้นที่กฎหมายเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนก่อนเป็นลำดับแรกหลังจากนั้นจึงจะเป็นกฎหมายในส่วนอื่นๆ ซึ่งถ้ามีการตั้งสถาบันนี้ได้สำเร็จจะเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยทางกฎหมายของอาเซียน โดยเรามีข้อตกลงกันว่าจะให้ไปตั้งที่ประเทศฟิลิปปินส์โดยให้ประเทศฟิลิปปินส์เป็นผู้บริหารสถาบันนี้ก่อนในเบื้องต้น ซึ่งทางประเทศฟิลิปปินส์เองก็ได้สนับสนุนเต็มที่เพื่อที่จะให้เกิดสถาบันนี้ขึ้นมาโดยการระดมทุนเงินบริจาคเพื่อให้มีการตั้งสถาบันขึ้นมา ซึ่งเมื่อมีการตั้งขึ้นมาแล้วก็จะมีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ยกร่างข้อบังคับรวมถึงเงื่อนไขการบริหาร งบประมาณการดูแลต่างๆ โดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการบริหาร

นอกจากนี้ในการประชุมเมื่อวานยังมีการต่อยอดแนวความคิดเกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางสัญญาระหว่างรัฐภาคีทั้ง 10 ประเทศว่าเราจะหาทางออกหรือตีความกฎหมายกันอย่างไร แต่เราก็ยังไม่ได้มีการลงนามที่เป็นข้อผูกมัดใดๆ อยู่ระหว่างการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาหาทางออกการหาทางออกข้อขัดแย้งทางสนธิสัญญา นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้นำแนวทางในการปฏิบัติกรณีที่มีข้อพิพาทและมีการชี้ขาดในอนุญาโตตุลาการซึ่งมีปัญหาว่าเมื่อมีการชี้ขาดแล้วทำในประเทศหนึ่งแล้วจะไปบังคับอีกประเทศหนึ่งได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งที่ประชุมได้กล่าวว่าก่อนหน้านี้เคยมีการยกร่างแนวทางที่จะให้การชี้ขาดในอนุญาโตตุลาการในประเทศหนึ่งไปใช้บังคับกับอีกประเทศหนึ่งได้ แต่ก็ต้องมาคุยกันในรายละเอียดว่าไม่ให้แต่ละประเทศมีความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทุกฝ่ายต่างยอมรับในหลักการที่จะบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งข้อเสนอนี้เคยมีข้อยุติมาแล้วในการประชุมเมื่อหลายปีที่แล้ว แต่ไม่มีคนที่ติดตามให้เกิดการปฏิบัติจริงในที่ประชุมครั้งนี้เลยบอกว่าให้นำข้อตกลงที่ได้ข้อยุติหลายปีมาแล้วมานำเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียน( ASEAN SOM) เพื่อที่จะบังคับให้เป็นไปตามพันธสัญญาของคู่กรณีทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนก็จะได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะยอมรับและจะประกาศบังคับใช้กันอย่างจริงจังได้หรือไม่ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นสมควรโอนเว็ปไซต์ของ ALA ให้อยู่ในความดูแลของสถาบันกฎหมายอาเซียน เนื่องจากเห็นว่าบทบาทของสถาบันจะดูแลเรื่องได้กว้างกว่า เพราะมีการจัดตั้งระเบียบข้อบังคับที่เป็นระบบซึ่งสามารถจะบริหารจัดการข้อมูลของเว็บไซต์ได้ดีกว่า

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image