วงเสวนานิติ มธ. ถกปม ‘บอส อยู่วิทยา’ จี้ ผบ.ตร.ตอบปมคำถาม ชี้ร้อนแรงเทียบคดี ‘เชอรี่แอน’

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 1 สิงหาคม ที่ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์กฎหมายอาญา และอาชญาวิทยา จัดเสวนาโต๊ะกลม ในหัวข้อ “คดี (กระทิงแดง) ชนตำรวจ : นักกฎหมายเห็น สังคมรู้สึก คำถามที่กระบวนการยุติธรรมต้องตอบ”

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากกระบวนการยุติธรรมไทยเราน่าเขื่อถือ คงไม่ต้องจัดเสวนาในวันนี้ เพราะปัญหาคือ เรากำลังสงสัยในความน่าเชื่อถืออย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นครั้งที่ร้อนแรงที่สุด เทียบเคียงได้กับ เชอรี่แอน

“ส่วนตัวได้ตั้งข้อสังเกตว่า เราจะทำให้เรื่องนี้ถึงศาลยุติธรรมได้อย่างไร เพราะวิธีเดียวที่จะคืนความเชื่อถือได้คือให้คดีไปถึงศาล แต่จะมีวิธีการใด ลำพังสั่งไม่ฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่างชาติสืบสวนคัดค้านได้ แต่กลับบอกว่า อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีต่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา ทุกข้อกล่าวหา และ ผบ.ตร.ไม่แย้งคำสั่งอัยการ โดยเท่าที่ผ่านมา ผู้แทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่ตอบเรื่องเหตุผลว่าเหตุใดไม่คัดค้าน ในวันแรกที่คนไทยรู้ข่าว รู้จาก ก็สำนักข่าวต่างประเทศ ทั้งที่เป็นคดีอยู่ในความสนใจคนไทยมาตลอด 8 ปี คนจึงสงสัยว่าเงินง้างความยุติธรรมได้จริงหรือไม่ เพราะสั่งไม่ฟ้องไปเงียบๆ”

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์

ผศ.ดร.ปริญญากล่าวต่อว่า ผบ.ตร. ท่านจะลอยตัวไม่ได้อีต่อไป ท่านต้องตอบคำถามสื่อมวลชน ตนสงสัยว่าลำพังมีเพียงพยานใหม่ สี่ท่าน ก็หักล้างหลัฐานเก่าได้เลยหรือ ทำไมพยานเหล่านี้เพิ่งมาปรากฏตัวเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ทั้งยังไม่ได้มีการให้คำอธิบายอย่างสิ้นสงสัย ซึ่งความจริงเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ น่าจะคุยกันได้ ขนาดเราขับรถเกินอยู่เนืองๆ ยังถูกตรวจวัดได้ กรณีนี้แตกต่างกันมาก กับ ความเร็วที่หายไป จาก 177 กับ 76 กม./ชม. เหตุผลที่ 2 พยานหลักฐานที่ขับตามมาให้การว่าขับนายวรยุทธขับเพียงแค่ 50 กม/ชม. แต่เห็นผู้ตายเปลี่ยนรถจากเลน จึงเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้เกิดจากความไม่ระมัดระวัง คนผิดคือ ด.ตร.วิเชียร ที่ขับรถปาดหน้า จึงไม่มีเหตุในการฟ้อง จึงสั่งไม่ฟ้อง ทำไม พนักงานอัยการจึงเชื่อ 2 ท่านนี้ง่ายเหลือเกิน ทั้งที่เพิ่งมาปรากฏตัวใน ปี 2562

Advertisement

“ถามว่า ทำไมอัยการไม่สงสัยอย่างพวกเราสงสัย หรือ เพราะเหตุผลเดิมที่เคยสั่งฟ้องไปแล้วมาสั่งไม่ฟ้องต้องหักล้างของเดิมได้ อย่างแรกผู้ที่ขับรถตามมา ขับตามมาจริงหรือไม่ มีอะไรมายืนยันเพียงพอหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อสังเกตุ ถ้าเป็นพวกเราคงต้องมาแถลงต่อสาธารณชนว่าเข้าใจผิด เพื่อให้สิ้นสงสัย แต่กระบวนการนี้ไม่มี จู่ๆ ปรากฏพยานขึ้นมา 2 คน ตำรวจค้านได้ แต่ไม่ค้าน ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องจริง ตำรวจมีส่วนด้วยอย่างนอน ตามหลักการถ่วงดุลที่คัดค้านได้ แต่ไม่คัดค้าน” ผศ.ดร.ปริญญากล่าว

ด้าน ศ.(พิเศษ) อรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าทุกคนจะเข้าใจสิ่งที่ตนพูด ในฐานะอดีตอัยการสูงสุด เนื่องจากตนกำลังตกเป็นจำเลยของสังคม อยากเรียนว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปี 2477 นั้น ตนยังเชื่อมั่นว่าดีที่สุดในโลก

ทั้งนี้ โดยปกติผู้ที่จะดำเนินคดีได้ คือพนักงานอัยการเท่านั้น แต่กฎหมายนี้ให้อำนาจทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหาย จึงทำงานได้อย่างคู่ขนาน แต่จากข้อเท็จจริงจากสื่อว่า ผู้ที่เสียชีวิต ปัจจุบันไม่มีบุพพการีและผู้สืบสันดาร การพิจารณาของพนักงานอัยการ เป็นไปตามมาตรา 140-147 และมีมาตราที่ประเทศอื่นไม่มีด้วย พนักงานอัยการมีสิทธิใช้ดุลพิจนิจได้ แต่การสั่งไม่ฟ้องจะมีการตรวจสอบถ่วงดุล โดยในต่างจัดหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ใน กทม. คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งผู้พิจารณามี 3 คน ได้แก่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.), รอง ผบ.ตร. และ ผู้ช่วย ผบ.ตร. แต่ต่อมามีการแก้ไขโดย คสช.ว่า ปัจจุบันเวลาสั่งไม่ฟ้อง จะต้องสั่งไปที่ ผู้บัญชาการตำรวจภูธร เป็นต้น

Advertisement

ดังนั้น ในส่วนของการคานอำนาจ มี และการทำงานของพนักงานอัยการ ในสมัยก่อน อย่างปี 2540 มีการสั่งคดีและร้องขอความเป็นธรรมจากอัยการสูงสุดท่านหนึ่ง และท่านสั่งไม่ฟ้อง จนเป็นที่ครหาถึงการคานอำนาจ ตอนหลังเมื่อวิเคราะห์กันแล้ว อัยการสูงสุดจึงเห็นว่า การสั่งไม่ฟ้องควรลดลงมาเป็นอำนาจของรองอัยการสูงสุด ไม่ควรถึงมืออัยการสูงสุด โดยปี 2548 มีการแก้ไขว่า ถ้าเป็นคดีที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง คืออัยการจังหวัด ใน กทม.เรียกกว่าอัยการพิเศษฝ่าย หากมีการร้องขอความเป็นธรรม ไม่ว่าจะผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหา จะต้องมีการเสนอสำนวนไปยังอธิบดีอัยการของสำนักงานนั้นๆ

ศ.(พิเศษ) อรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด

“ในกรณีนี้คือ สำนักงานอัยการสูงสุด กรุงเทพใต้ ซึ่งเดิมมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว โดยระหว่างนั้นสามารถร้องขอความเป็นธรรมได้ เป็นเช่นนี้มาตลอด แต่จะต้องทราบข้อเท็จจริงเล็กน้อย และถ้ามีการเปลี่ยนคำสั่ง เช่น สั่งฟ้อง แล้วสั่งไม่ฟ้อง ระดับอธิบดีทำไม่ได้ จะต้องสูงกว่า คือ รองอัยการสูงสุด แต่จะมีอำนาจได้ก็ต่อเมื่อได้รับมอบหมายเรื่องงานจึงจะเป็นผู้สั่งคดี แต่ถามว่าสั่งได้ทันทีหรือไม่ ต้องบอกว่า ไม่ได้ เพราะมีสำนักงานคดีกิจการ อัยการ สูงสุด ที่จะเป็นผู้ตรวจสอบพยานหลักฐาน หากเรื่องในการร้องขอความเป็นธรรมนั้นไม่น่าพิจารณา จะยุติการร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งจะส่งเรื่องต่อไป จนจบที่รองอัยการสูงสุด ถามว่าอัยการสูงสุดไม่รู้เรื่องได้หรือไม่ ตอบว่าได้ เพราะระเบียบเขียนไว้ชัดว่า จบที่รองอัยการสูงสุด ซึ่งหากสั่งไม่ฟ้องแล้วต้องส่งกลับไปที่ผู้้เกี่ยวข้อง” ศ.(พิเศษ) อรรถพลกล่าว

ศ.(พิเศษ) อรรถพลกล่าวต่อว่า หากเปรียบกระบวนการยุติธรรมกับตาชู ตาชั่ง ตนก็ขอยันยันว่า ยังใช้ได้อยู่ กฎหมายเมืองไทยดีที่สุดในโลก เป็นระบบที่เราควรจะต้องเดินตามแบบเดิม ใครจะคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขต้องคิดดีๆ ว่าการจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้นดีหรือไม่

“คนที่จะสั่งฟ้องคือ รองอัยการสูงสุด ซึ่งระเบียบไม่ได้บอกให้รายงานใคร แต่ต้องส่งสำนวนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 145 ซคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะพิจารณาโดยกองคดี หากออกมาไม่ถูกใจกระแสสั่งคม ก็ต้องดู และให้ความเห็นใจท่านด้วย” ศ.(พิเศษ) อรรถพลกล่าว และว่า
อัยการทั้งประเทศไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่จะต้องให้ความเป็นธรรมคนสั่งคดีด้วย อย่างไรก็ดี เป็นการใช้ดุลพินิจอย่างละเอียดรอบคอบหรือไม่ ถ้้าดุลพินิจเป็นไปโดยชอบก็ไม่ผิด หากไม่ชอบก็มีอำนาจหน้าจะลงโทษได้อยู่แล้ว ขอให้รอไปอีกนิด”

“ในการพิจารณาคดี ท่านจะต้องเอาหลักฐานมาชั่งน้ำหนัก ในการทำงาน เหรียญมี 2 ด้าน ต้องคิดถึงจิตใจของผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาทั้งที่ไม่ได้ทำความผิด การตั้งเหรียญให้อยู่ตรงกลางนั้นยาก แต่หากไม่เป็นมาตรฐานเมื่อไหร่ พนักงานอัยการที่สั่งคดีมีความผิดอย่างแน่อน” ศ.(พิเศษ) อรรถพลกล่าว

ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ผอ.ศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การตรวจสอบถ่วงดุลที่รอบคอบ และความน่าเชื่อถือ สำคัญมาก ตามมาตรา 145 และ 145/1 กรณีทั่วไปสามารถโต้แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง และสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การพิจารณาคดี แต่ทำไมคดีนี้จึงผ่านไป
ผลของคำสั่ง เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ห้ามมิให้มีการสอบสวนในเรื่องเเดียวกันนั้นอีก กล่าวคือ รื้อขึ้นมาไม่ได้ แต่มีเงื่อนไขหนึ่งที่สังคมเถียงกันอยู่ คือ เว้นแต่ได้หลักฐานใหม่

ทั้งนี้ การตีความ ต้องตีความตามวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย เช่น คดีเพชรซาอุฯ เจ้าหน้าที่การทูตสั่งไม่ฟ้อง แต่พบหลักฐานใหม่เป็นแหวนผู้ตาย ซึ่งมีหลายประเด็น คือ

1.มีพยานหลักฐานใหม่ ดังนั้น คดีนี้ หากมีเทคนิควัดความเร็วที่น่าเชื่อถือ หรือถามคนที่ขับรถผ่านมา ถามว่ามีความน่าเชื่อถือมีหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องความรู้สึก แต่จะถือเป็นหลักฐานสำคัญได้หรือ หากมีเทคโนโลยีเข้ามาส่วนตัวมองว่าจะเป็นพยานหลัึกฐานใหม่ในคดีได้

2.แม้ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าคดีนี้เกิดที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่อัยการสั่งฟ้องไปแล้วนั้น จะมีการสั่งฟ้องเพิ่มหรือไม่ และไปถึงไหน ต้องมีการรื้อข้อเท็จจริง

  1. กมธ.ไม่มีสิทธิสืบพยาน เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ซึ่งผิดขั้นตอน

ทั้งนี้ ถ้าอัยการไม่พอใจสำนวนการสอบสวน ตามมาตรา 143 วรรค 2 บอกว่า อัยการมีอำนาจสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมได้ แต่ต้องทำให้ข้อเท็จจริงกระจ่างให้ได้

ดังนั้น คดีกระทิงแดง ไม่ว่าจะฟั่งฟ้องหรือไม่ ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงว่า หลักฐานเพียงพอจะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ นี่คือจุดหลักจุดเดียว ซึ่งไม่กี่วันมานี้มีการแถลงข่าวว่า เฮโรอีนใช้ผสมในยาชา ซึ่งเลิกใช้ 140 ปี ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น เหตุที่จะไม่สั่งฟ้อง คือ 1.พยานหลักฐานพอเพียงหรือไม่ 2.หากหลักฐานพอเพียงพอ แต่ได้มาโดยไม่ชอบ อัยการจะสั่งไม่ฟ้องก็ได้ แต่ตอนนี้เรามีมาตรา 226/11 อยู่

ประการสุดท้าย อาจมีเหตุผลเรื่องดุลพินิจ เพราะ อัยการไม่ใช่พนักงานไปรษณีย์ แต่เป็นกึ่งตุลาการ สามารถชั่งน้ำหนักได้ จุดเดียวคือ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ถ้าไม่เพียงพอแล้วไม่ฟ้องจริง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเราฟ้องมาก่อน อยู่ๆไม่ฟ้อง จึงถือเป็นคดีที่น่าสนใจ ว่าจะทำอย่างไรในเรื่องความย้อนแย้งนี้

ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ผอ.ศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา

ศ.ดร.สุรศักดิ์กล่าวว่า ตนเรียกร้องความตรงไปตรงมา เนื้อไหนร้าย ต้องตัดออกเพื่อรักษาทั้งกระบวนการ จะทำอย่างไรให้คดีนี้กระจ่าง ดีเอสไอคืออีกหนทาง ให้คนกลางทำ เพราะความเชื่อมั่นลดลงต่ำมาก ซึ่งสิ่งที่ตนเน้นมากคือทำอย่างไรจะให้เกิดความน่าเชื่อถือ

“กระบวนการยุติธรรมที่ดูดาย บางเรื่องเรากระตือรือร้นมากเกินไป วันที่แถลงข่าว คนรู้สึกว่าเกินไปหรือไม่ ภาษาฝรั่งบอกว่า ‘to do or to die’ คนในกระบวนการยุติธรรมจะต้องปฏิรูปตัวเอง เหตุการณ์สำคัญหนึ่งคือ เชอรี่แอน ที่น่าเศร้ายิ่ง จึงทำให้เกิดรัฐธรรนูญปี 2540 เป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ เชื่อว่าครั้งนี้คงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องมีคนที่อยากทำให้องค์กรได้รับการยอมรับ มีเกียรติ ศักดิ์ศรี ให้มีความยุติธรรม และน่าเชื่อถือ” ศ.ดร.สุรศักดิ์กล่าว

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image