ศาลเยาวชนครอบครัวกลางฯอนุญาตปล่อยชั่วคราว เยาวชนโดนเเจ้ง 7 ข้อหารวมม.112

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ที่ศาลเยาวชนเเละครอบครัวกลาง ถ.กำเเพงเพชร พนักงานสอบสวน สต.ยานนาวานำ นำเยาวชนไทยอายุ 16 ปีเศษผู้ต้องหาความผิดมาตรา112,ร่วมกันชุมนุมทำกิจกรรมมั่วสุมกันในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค,ร่วมกันกระทำการหรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป,ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหนักงานควบคุมโรคติดต่อ,ร่วมกันชุมนุมสาธารณะที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นที่ชุมนุมหรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเกินพึงคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามเหตุอันสมควรขัดขวางหรือทำการใด ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะและการดูแลการชุมนุมสาธารณะนั้น,ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ,ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

จากกรณีชุมนุมช่วงเย็นถึงกลางคืนวันที่ 29 ต.ค.ที่หน้าวัดพระเเม่อุมาเทวี(วัดเเขก) สีลม มายื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาตรวจสอบการจับกุมเเละมีคำสั่งตามมาตรา 71  พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ประกอบป.อาญามาตรา143 (หมายควบคุมตัว)

โดยผู้ต้องหาได้ยื่นคัดค้านการขอออกหมายคุมตัวของพนักงานสอบสวนพร้อมขอให้ศาลไต่สวนพนักงานสอบสวน โดยอ้างเหตสรุปว่าไม่มีเหตุที่จะคุมตัวเนื่องจากผู้ต้องหาได้เข้าพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก เเละผู้ต้องหายังศึกษาอยู่ที่สถานศึกษาตามปกติและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอนและไม่มีพฤติการณ์หลบหนี แต่ประการใดจึงไม่มีความจำเป็นจะต้องออกหมายควบคุมหรือหมายขังผู้ต้องหาไว้ ทั้งคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหาจนเสร็จแล้วรวมทั้งได้ทำการสอบประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ด้วยแล้วการสอบสวนคดีในส่วนที่เหลือและการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวอ้างในคำร้องขอศาลออกหมายควบคุมฯ นั้นล้วนเป็นเรื่องการดำเนินการของพนักงานสอบสวนกับบุคคลอื่นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการไปได้โดยไม่ต้องมีตัวของผู้ต้องหา

แต่อย่างใดหากผู้ต้องหาต้องอยู่ในความควบคุมระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนย่อมจะเป็นการควบคุมตัวที่เกินจำเป็นนอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้วยังสร้างภาระเกินจำเป็นกับผู้ต้องหากระทบต่อสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาเป็นอย่างมากประการสำคัญเป็นการกระทบกระเทือนต่อจิตใจของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเพียงเยาวชนอย่างรุนแรงโดยไม่จำเป็นและเป็นการกระทบต่อสวัสดิภาพและอนาคตของผู้ต้องหา

Advertisement

ผู้ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่าเสรีภาพในการแสดงออกหรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถือเป็นองค์ประกอบหลักของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งนอกจากจะเป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศคือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากลและกติกาสากลว่าสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองแล้วในประเทศไทยเสรีภาพในการแสดงออกหรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญอันถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองมากที่สุดในโลกได้รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็กเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งรวมถึงการชุมนุมอย่างสันติทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในพ.ศ.2532โดยให้คำมั่นว่าจะดำเนินการเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าถึงสิทธิที่พวกเขาจึงมีมีซึ่งรวมถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติโดยได้รับการรับฟังทั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเขียนไว้ชัดเจนว่ารัฐมีหน้าที่ต้องปกป้องสิทธิเด็ก

เเละข้อ3 ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กฯ ว่าการกระทำหรือการดำเนินการทั้งหลายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรกและข้อ13 รัฐต้องให้ความคุ้มครองต่อสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเด็กดังนั้นแล้วเยาวชนจึงสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติโดยได้รับการรับฟังดังกล่าวนี้ได้และลำพังการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวก็มิใช่การกระทำความผิดในตัวเองที่เห็นได้ชัดอย่างกรณีความผิดฆ่าคนตายหาก แต่เป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองคุ้มครองไว้ให้ทำได้

ด้วยเหตุผลตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่ได้เรียนต่อศาลข้างต้นผู้ต้องหาจึงขอศาลได้โปรดคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเยาวชนมีคำสั่งยกคำร้องขอศาลออกหมายควบคุมหรือหมายขังของพนักงานสอบสวนและปล่อยตัวผู้ต้องหาไปและมีคำสั่งคุ้มครองไม่กำหนดเงื่อนไขอื่นใดที่จะกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเยาวชนเกินสมควร

Advertisement

โดยศาลพิเคราะห์คำร้องของพนักงานสอบสวนให้ศาลพิจารณาตรวจสอบการจับกุมเเละมีคำสั่งออกหมายควบคุมตัวพร้อมคำคัดค้านเเล้ว
เเล้วเห็นว่าคำคัดค้านการควบคุมตัวของตำรวจกรณีเป็นกระบวนพิจารณาชั้นตรวจสอบการจับกุมซึ่งดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการ(ไต่สวน)ตามร้องคัดค้านรวมสำนวนไว้

โดยหลังจากนั้นผู้ต้องหาได้ยื่นขอปล่อยชั่วคราว โดยใช้ตำเเหน่ง ส.ส.ของ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ยื่น

ศาลพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเเล้วอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตั้งแต่ชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นหากผิดสัญญาปรับ12,000 บาทใช้ตำแหน่งประกัน เเละนัดไปศูนย์ให้คำปรึกษาเเละเเนะนำในวันที่ 18 ธ.ค.63 พร้อมรายงานตัวรับทราบคำสั่งศาลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 น.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image