ศาลแพ่งพิพากษา ‘ศุภชัย’ อดีต ปธ.สหกรณ์คลองจั่นกับพวกชดใช้ 9 พันล.

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก อ่านคําพิพากษาคดีที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จํากัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายศุภชัย ศรีศุภอักษร กับพวก รวม 9 คน เป็นจําเลย และจําเลยร่วมอีก 32คน ซึ่งศาลแพ่งมีได้มีคําสั่งให้รวมการพิจารณาคดีหมายเลขดําที่ พ.3628/2557 และ พ.4462/2557 เข้าด้วยกัน โดยโจทก์ฟ้องทั้ง 2 สํานวน มีใจความว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552-30 พฤษภาคม 2555 ในขณะที่นายศุภชัย จําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการดําเนินการสหกรณ์โจทก์ จําเลยที่ 1 ได้ใช้อํา
นาจหน้าที่โดยมิชอบ โดยไม่ได้กระทําภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์มีการเบิกจ่ายเงินโดยทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยเบิกจ่ายเงินด้วยเช็ครวม 878 รายการ เป็นเงิน 11,367,218,813.84 บาท โดยระบุว่าเป็นการทดรองจ่าย แต่ไม่มีการนําเงินที่เบิกจ่ายมาส่งคืนให้แก่โจทก์โดยได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่บุคคลภายนอก รวม 191 รายการ เป็นเงิน 4,036,846,911.44 บาท

สั่งจ่ายเช็คให้แก่จําเลยที่ 2 รวม 22 รายการ เป็นเงิน 119,020,000 บาท จําเลยที่ 3 เป็นรองผู้จัดการใหญ่ของสหกรณ์โจทก์ได้ลงนามสั่งจ่ายเช็คร่วมกับ จําเลยที่ 1 โดยไม่มีอํานาจหน้าที่ในการสั่งจ่ายเช็ค จําเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินสหกรณ์โจทก์ได้ใช้อํานาจหน้าที่ของตนร่วมกันจงใจ ยินยอมและสนับสนุนให้จําเลยที่ 1 เบียดบังและยักยอกเงินของสหกรณ์โจทก์ส่วนจําเลยที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากการที่จําเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของสหกรณ์โจทก์อันเป็นการได้มาซึ่งเงินหรือทรัพยย์สินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขอให้บังคับจําเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชําระเงินจํานวน 119,020,000บาท พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้จําเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกัน ชําระเงินจํานวน 9,522,533,049.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จําเลยที่ 1 ร่วมกับจําเลยที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ชําระเงินคืนส่วนที่จําเลยแต่ละคนได้รับไป

ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอให้เรียกวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือพระญาณมหามุนี กับพวก รวม 32 คน เข้าเป็นจําเลยร่วมเเต่ต่อมาโจทก์ขอถอนฟ้องจําเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 และจําเลยร่วมที่ 30 ที่ 31 (วัดพระธรรมกาย) และที่ 32 (พระราชภาวนาวิสุทธิ์)
โดยจําเลยและจําเลยร่วมให้การในทํานองเดียวกันว่า คดีโจทก์ขาดอายุความละเมิด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกคืน การใช้สิทธิฟ้องของโจทก์ไม่ใช่การใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนเงินและทรัพย์สินที่จําเลยที่ 6-9 ได้มานั้น เป็นการได้มาโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นลาภมิควรได้ทั้งไม่เกี่ยวข้อง กับการกระทําความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2552 ขอให้ยกฟ้อง

โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่าตามระเบียบของสหกรณ์โจทก์ ข้อ 20 กําหนดไว้ว่าการ จ่ายเงินให้จ่ายเฉพาะเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์และเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ เเต่ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค 878 ฉบับ โดยระบุในใบสําคัญจ่ายว่าเป็นเงินทดรองจ่ายให้กับ จําเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การจ่ายเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์สหกรณ์โจทก์

Advertisement

การกระทําที่ผิดระเบียบของจําเลยที่ 1 เป็นการกระทําทุจริตแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองและผู้อื่น โจทก์ในฐานะ เจ้าของเงินตามเช็คซึ่งจําเลยที่ 1 ได้สั่งจ่าย จึงมีสิทธิติดตามเอาเงินตามเช็คพิพาท 878 ฉบับคืนได้ จําเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของโจทก์มอบให้จําเลยที่ 2 จํานวน 22 ฉบับ รวมเป็นเงิน 119,020,000 บาท โดยระบุในใบสําคัญ จ่ายเงินว่าเป็นเงินสํารองจ่ายของจําเลยที่ 1 ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินของสหกรณ์ที่ให้จ่ายเงินได้เฉพาะเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์การกระทําของจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทําโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันคืนเงินจํานวน 119,020,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

จําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คร่วมกับจําเลยที่ 3 จํานวน 841 ฉบับ เงินจํานวนดังกล่าวจําเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายโดยระบุ ไว้ในใบสําคัญจ่ายเงินว่าเป็นเงินสํารองจ่ายของจําเลยที่ 1 ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินของ สหกรณ์ ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 และ 3 กระทําโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมายสําหรับตนเอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพื่อติดตามเงิน จํานวน 9,522,533,049.50 บาท คืนจากจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 ได้

นอกจากนี้ การที่จําเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของโจทก์มอบให้แก่บุคคลต่างๆ โดยไม่ใช่กิจการภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจําเลยที่ 8 ที่ 9 จําเลยร่วมที่ 1 จําเลยร่วมที่ 5-16 จําเลยร่วมที่ 18-26 และจําเลยราวมที่ 28 ตามจํานวนที่จําเลยแต่ละคนได้รับ ส่วนเงินที่จําเลยร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับจากจําเลยที่ 1 นั้น สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ยึดและอายัดไว้ โจทก์จะต้องไปดําเนินการพิสูจน์สิทธิต่อไป

Advertisement

โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจําเลยและจําเลยร่วม เนื่องจากจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 ร่วมกัน สั่งจ่ายเช็คของโจทก์โดยไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกําหนดอายุความ ไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดหรือลาภมิควรได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จึงมีคำพิพากษาให้จําเลยที่ 1ชําระเงินให้แก่โจทก์จํานวน 9,642,164,453.61 บาท
พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 119,020,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (วันที่26สิงหาคม 2557) และของเงินต้น 9,522,533,049.50 บาท นับแต่วันฟ้อง (15 ตุลาคม 2557) เป็นต้นไป จนกว่าจะชําระเสร็จ ให้จําเลยที่ 2 ร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์จํานวน 119,631,404.11 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ของเงินต้นจํานวน 119,020,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง ให้จําเลยที่ 3 ร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์จํานวน 9,522,533,049.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ของ
นับจากวันฟ้อง (15 ตุลาคม 2557) ให้จําเลยที่ 8, 9 จําเลยร่วมที่ 5-16 จําเลยร่วมที่ 18-26 และจําเลยร่วมที่ 28 ร่วมกับจําเลยที่ 1 ชําระเงินโจทก์ตามจํานวน ที่จําเลยแต่ละคนได้รับพร้อมทั้งดอกเบี้ยนับเเต่วันฟ้อง

สําหรับจําเลยร่วมที่ 17,29 ให้ยกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเบิกถอนเงินตามเช็คแล้วนําเงินไปมอบ ใหเจําเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไม่ได้นําไปใช้เป็นส่วนตัว จึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image