กรมบังคับคดีติวเข้ม จนท. รองรับกม.เงินดิจิทัล อนาคตต้องสร้าง “wallet” รับโอนทรัพย์ที่ถูกอายัด

เมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่โรงแรมเอสดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กรมบังคับคดี จัดอบรมโครงการ “การให้ความรู้รูปแบบของธุรกรรมเงินดิจิทัล  โดยมีดร.ยรรยง เต็งอำนวย กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นวิทยากรบรรยาย ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้รู้ถึงรูปแบบและลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัล(Digital Assets)และนำความรู้ไปใช้พัฒนากระบวนการบังคับคดีสินทรัพย์เหล่านี้ 

น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า ทรัพย์สินดิจิทัลหรือธุรกรรมการเงินดิทัลเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งปัจุบันยังไม่เคยมีการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัลเลย มีเพียงการแก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกันยายน 2560 ที่สามารถบังคับคดีทางทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างแต่ยังไม่ครอบคลุมถึงทรัพย์สินดิจิทัล หรือธุรกรรมเงินดิจิทัล ดังนั้นเมื่อพระราชกำหนดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่19) พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา

Advertisement

น.ส.รื่นวดี  กล่าวด้วยว่า เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้เกิดความชัดเจนของสินทรัพย์ดิจิทัลว่ามีอะไรบ้างและให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนตามกฎหมาย และยังทำให้การบังคับคดีของกรมบังคับคดี ทำงานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีนิยามของทรัพย์ที่ชัดเจน และกรมบังคับคดี ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการบังคับคดี จึงต้องเร่งศึกษาเพื่อเตรียมรองรับการบังคับคดีกับสินทรัพย์เงินสกุลดิจิทัล ที่คาดว่าจะมีคดีมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ นักวิชาการให้ความมั่นใจว่า การทำธุรกรรมเงินดิจิทัลจะทิ้งร่องรอยบันทึก มีการใช้กุญแจส่วนตัวและกุญแจสาธารณะในการทำธุรกรรมซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการบังคับคดีได้

 

ดร.ยรรยง เต็งอำนวย กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ด้าน นายยรรยง กล่าวว่า การมีกฎหมายบังคับใช้ที่ชัดเจน มีผลดีทั้งในแง่การส่งเสริม คุ้มครองและป้องกัน ทรัพย์ดิจิทัล ทำให้ทรัพย์ดิจิทัลได้รับการยอมรับว่าเป็นทรัพย์สิน ส่วนการยึดทรัพย์ในการบังคับคดี เจ้าพนักงาน ต้องมีวิธีการในการทำให้จำเลยมอบ password หรือรหัสลับของธุรกรรมนั้น เพื่อโอนทรัพย์ดิจิทัลนั้น มาอยู่กระเป๋าดิจิทัลที่กรมบังคับคดีสร้างขึ้น แต่ทั้งนี้กระบวนการทั้งหมด จะต้องมีกฎหมายลูกออกมารองรับด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เพราะเป็นเรื่องใหม่

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image