เลขาธิการ อย.เตือนอันตราย ‘ยาผีบอก’ พบมีส่วนผสมสเตียรอยด์

วันที่ 15 ตุลาคม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงข่าวพบหญิงอายุ 49 ปี เสียชีวิตที่บ้านพัก แม้ยังไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงแต่ในที่เกิดเหตุพบซองยาผีบอก ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบซองยาดังกล่าว พบว่าไม่มีการขึ้นทะเบียนกับ อย.จัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม พยายามเลียนแบบชื่อยาที่ได้รับอนุญาต ผู้ผลิตต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนผู้ขายต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 3 แสนบาท ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบย้อนหลังพบว่า อย.เคยเตือนอันตรายของยาผีบอกตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากตรวจพบว่ามีส่วนผสมของสเตียรอยด์ และยังได้ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) มหาสารคาม ขยายผลและตรวจสอบถึงแหล่งผลิตในพื้นที่ จ. มหาสารคาม พร้อมดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดด้วย จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อยาผีบอกมากิน เพราะอาจได้รับอันตรายได้

“ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบยาแผนโบราณที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดข้อ ปวดเข่า เมื่อรับประทานแล้วหายปวดเร็วผิดปกติ มักจะลักลอบผสมสเตียรอยด์ เพื่อให้ผู้ใช้เห็นผลทันใจ ซึ่ง สเตียรอยด์เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะมีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแทบทุกระบบ มีผลข้างเคียงสูง ผู้ผลิตที่เห็นแก่ได้มักลักลอบนำมาผสมในยาแผนโบราณ เพื่อให้เกิดผลในการรักษาที่รวดเร็ว  โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดกับผู้บริโภค การรับประทานยาแผนโบราณที่ลักลอบผสมสเตียรอยด์ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ใช้มากมาย เช่น ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่าย เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง อาจถึงขั้นกระเพาะทะลุ กล้ามเนื้อลีบ กระดูกผุ ภูมิคุ้มกันลดลง บางรายถึงขั้นไตวาย เป็นอันตรายถึงชีวิต” นพ.ไพศาล กล่าว

เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ขอเตือนประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หากเจ็บป่วยให้ปรึกษาแพทย์ และหากต้องการซื้อยาให้ซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำร้าน อย่าหลงเชื่อยาที่แสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง และอย่าซื้อยาจากแหล่งจำหน่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น บุคคลที่นำยามาขายด้วยตนเองตามแผงลอย ตลาดนัด และร้านค้าย่อย เพราะอาจได้รับยาที่มีการผลิตโดยไม่ถูกสุขลักษณะ ยาไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจทำให้เกิดการแพ้ยาและเสียโอกาสในการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยว่ายานั้นได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ fda.moph.go.th หรือทาง Oryor Smart Application และขอให้ผู้บริโภคช่วยเป็นหูเป็น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image