“กทม.” ตรวจความพร้อมคลองโอ่งอ่าง เตรียมงานลอยกระทง 8-11 พ.ย. กำชับเข้ม 6 ข้อ เน้น โป๊ะต้องแข็งแรง!

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน นายธรรมรัต หวั่งหลี ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและโฆษกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่คลองโอ่งอ่าง (ช่วงสะพานหัน) เพื่อตรวจความพร้อมของสถานที่ก่อนการจัดงานลอยกระทงคลองโอ่งอ่าง ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน 2562 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งศรัทธา ขอขมาอธิษฐาน สืบสานประเพณี” ตามที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมาย โดยมีผู้บริหารสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์และสำนักงานเขตพระนคร ร่วมลงพื้นที่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโป๊ะ ซึ่งนำมาติดตั้งเพื่อให้ประชาชนลงไปลอยกระทง โดยโป๊ะสามารถรับน้ำหนักได้ จำนวน 25 คนกำชับให้สำนักงานเขตพระนครและสัมพันธวงศ์ จัดเจ้าหน้าที่คอยดูแลอำนวยความปลอดภัย ให้ประชาชน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เทศกิจ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์ช่วยเหลือ อาทิ เสื้อชูชีพ ห่วงยาง ถังดับเพลิง บอลลูนไลฟ์ ไฟฉาย ฯลฯ ให้พร้อมเพื่อการดูแลความปลอดภัยให้ประชาชน พร้อมควบคุมการลงไปลอยกระทง ต้องไม่เกิน 20 คนในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังได้ตรวจสอบความพร้อมของการจัดงาน อาทิ ความมั่นคงแข็งแรงของเวที การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมงาน ฯลฯ

2.การตรวจสอบความพร้อมของกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (ซีซีทีวี) ในพื้นที่จัดงาน จำนวน 46 กล้องประสานสำนักการจราจรและขนส่ง ตรวจสอบกล้องซีซีทีวี จำนวน 46 กล้อง ให้พร้อมใช้งานและเชื่อมสัญญานไปที่ศูนย์ควบคุมกล้องซีซีทีวี ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

3.การทำความสะอาดทางเท้าและพื้นที่โดยรอบกำชับให้เขตฯ ล้างทำความสะอาด กวดขันและไม่ให้มีการตั้งวางแผงค้า หรือล้างอุปกรณ์บนทางเท้า

Advertisement

4.การติดตั้งบ่อดักไขมันขอความร่วมมือร้านค้าและบ้านเรือนในบริเวณดังกล่าว ให้ติดตั้งบ่อดักไขมัน ตลอดจนไม่ล้าง หรือเทน้ำจากการล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงบนทางเท้า โดยกำชับให้มีการตรวจสอบบ่อดักไขมันให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. การสัญจรบนทางเท้าของรถจักรยานยนต์ สำนักงานเขตฯ ได้ติดตั้งแบริเออร์ (แบบแท่ง) ทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้รถจักรยานยนต์สัญจรบนทางเท้าได้ แต่พบว่ายังมีการฝ่าฝืน
จึงได้กำชับให้เขตฯ กวดขันไม่ให้มีการขับขี่บนทางเท้า รวมทั้งสำรวจและปิดช่องว่างระหว่าง
อาคารที่ยังมีเปิดอยู่ เพื่อไม่ให้มีช่องทางในการนำรถจักรยานยนต์เข้ามาวิ่งบนทางเท้า
รวมทั้งเสนอให้มีการปรับแบบเส้นทางสัญจร โดยให้คำนึงรถวีลแชร์ รถฉุกเฉิน หรือรถดับเพลิงฯลฯ เพื่อการดูแลประชาชน

Advertisement

6.การจัดเก็บป้ายโฆษณา ขอความร่วมมือประชาชนที่มีอาคารบ้านเรือนในบริเวณดังกล่าว รวมถึงผู้ค้าทั้ง 2 ฝั่งของคลองโอ่งอ่าง จัดเก็บป้ายโฆษณาเพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม 7.ตรวจสอบการก่อสร้างโครงหลังค้ารุกล้ำพื้นที่สาธารณะ บริเวณสะพานหัน (พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์) โดยสั่งการให้เขตสัมพันธวงศ์ ตรวจสอบและขอความร่วมมือให้ดำเนินการให้ถูกต้อง และ 8.การจัดระเบียบกันสาด และทาสีอาคารทั้ง 2 ฝั่งมอบหมายให้เขตฯ ประสานผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสีทาอาคาร เพื่อขอสนับสนุนสีพร้อมอุปกรณ์ ในการใช้ทาอาคารให้เป็นสีเดียวกัน เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image