‘เอพี’ ปั้นคนอสังหาฯ สูตรไทยแลนด์ 4.0

นับเป็นปีที่ 3 ของโครงการ เอพี โอเพ่นเฮ้าส์ 2018Ž ที่มุ่งมั่นสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ที่เป็นทั้งนักคิด
นักสร้างสรรค์ เข้าสู่วงการอสังหาริมทรัพย์ไทย

โครงการนี้ถือเป็นภารกิจหลักของ เอพี อะคาเดมีŽ ในการที่จะยกระดับศักยภาพบุคลากรในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร

สำหรับปีนี้ โครงการเอพี โอเพ่นเฮ้าส์ 2018 ดำเนินการภายใต้สโลแกน คิดให้ต่าง อยู่อย่างฉลาด ในวันที่โลกเปลี่ยนŽ และยังคงมีนิสิต นักศึกษา ด้านวิศวกรรมโยธา การตลาด และการขาย ให้ความสนใจสมัครเข้าโครงการมากถึง 3,000 คน จาก 77 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ แต่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การฝึกงานเสมือนได้ทำจริงอย่างมืออาชีพเป็นเวลา 2 เดือน เพียง 50 คน แบ่งเป็น ด้านวิศวกรรมโยธา 30 คน ด้านการตลาดและการขาย 20 คน

วิทการ จันทวิมล

วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บอกว่า ในจำนวนนิสิต นักศึกษา 50 คน ทุกคนมีความรู้ความสามารถ แต่มีเพียง 4 คนเท่านั้น ที่มีความสามารถเหนือเพื่อนๆ ในรุ่น และได้ต่อยอดไปศึกษาดูงานต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคตบนแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานระดับโลก ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ จิโช เรสซิเดนซ์
(บริษัทในเครือมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป-MECG) พันธมิตรธุรกิจของเอพี (ไทยแลนด์) ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

Advertisement




“2เดือน ที่นิสิต นักศึกษาฝึกงานกับเอพี นอกจากจะเน้นให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งด้านนวัตกรรมการออกแบบก่อสร้าง และกระบวนการขายสินค้าอสังหาริมทรัพย์ผ่านแพลตฟอร์มใหม่ๆ โดยมี
ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ปีนี้ได้นำแนวคิดดีไซน์ ธิงกิ้ง (Design Thinking) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ที่มองปัญหาจากมุมมองของลูกค้า มาประยุกต์ใช้เป็นโจทย์ที่ท้าทายให้แก่เยาวชนที่เข้าโครงการฝึกงานกับเอพี ด้วยการให้พัฒนาโครงการออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2030 ให้เริ่มคิดตั้งแต่กระบวนการวางแผนพัฒนาโครงการ วางแผนการศึกษา ทำความเข้าใจ ตีความ หาความต้องการจริงๆ (Unmet Needs) ของลูกค้า ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัย ออกแบบสินค้า วางแผนก่อสร้าง ทำการตลาด และส่งมอบสินค้า ซึ่งน้องๆ สามารถทำผลงานได้ดี”Ž วิทการ กล่าว

ทิฆัมพร สำเร็จศิลป์

ทิฆัมพร สำเร็จศิลป์ หรือ มีนŽ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า หลังจากทราบข่าวจากรุ่นพี่ว่า เอพี อะคาเดมี
มีโครงการฝึกนิสิต นักศึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ก็ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมทันที และตั้งเป้าว่าจะเข้าโครงการนี้ และเมื่อสามารถไปถึงเป้าแรกได้ ก็ตั้งใจเรียนรู้งานทุกด้านอย่างจริงจัง และลงมือปฏิบัติในทุกขั้นตอนของธุรกิจนี้


Advertisement

“พอผมได้ลงมือทำจริง ถึงเข้าใจว่ามันต้องเรียนรู้ให้ครบวงจร จึงจะสามารถพัฒนางานไปได้ ที่ผมสนใจคือการได้เรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีการออกแบบ และการก่อสร้างใหม่ๆ เช่น ระบบ AI BIM เทคโนโลยีการออกแบบงานก่อสร้างอาคารสูงอัจฉริยะ 7 มิติ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคอนโดมิเนียมในอนาคต ยิ่งได้ไปดูงานในประเทศญี่ปุ่นด้วย ยิ่งรู้สึกว่าคุ้มค่ามากกับความทุ่มเท ตั้งใจของตัวเองŽ” มีน กล่าว

พิมพิศา กลิ่นขจร

ด้าน พิมพิศา กลิ่นขจร หรือ พิมŽ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและ
สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ที่ได้จากเอพีเต็มๆ คือการได้ทำจริง และลงไปดูการก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูปถึงไซต์ก่อสร้าง ยิ่งได้ไปดูงานที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศต้นแบบด้านการพัฒนาการก่อสร้างสำเร็จรูป ถือว่าโชคดีมากๆ

 

“สำหรับโครงการและผลงานที่ได้ร่วมทำกับเพื่อน คือโครงการ ZNERYNE เป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบวิถีเซน สงบ อยู่กับธรรมชาติ มองเห็นพื้นที่สีเขียวด้วยการออกแบบบ้านที่เน้นกระจกหน้าต่างบานใหญ่ แต่กรองแสงและความร้อน ซึ่งบ้านในประเทศญี่ปุ่นก็มีรูปแบบนี้เช่นกัน นอกจากนี้ จากการไปศึกษาดูแลโครงการ MUJI HOUSE ที่มูจิสร้างบ้านขาย ได้เห็นรูปแบบการนำเสนอของพนักงานขายที่ใส่ใจกับทุกสิ่ง และสามารถถ่ายทอดข้อมูลของบ้านให้ลูกค้าพึงพอใจได้”Ž พิมพิศา กล่าว

นภวัตร พุทธะชา

ขณะที่ เบนซ์Ž นภวัตร พุทธะชา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่มีชื่อติดอยู่ในโครงการนี้ เมื่อได้เข้าไปสัมผัสด้วยตัวเองแล้วยิ่งพบว่าเป็นโครงการที่ดีมาก เพราะมีตารางฝึกงานที่ชัดเจน สามารถวางแผนงานได้ และมีโอกาสได้ร่วมทำงานกับพี่ๆ มืออาชีพ ที่ช่วยกันถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกฝน อบรมให้น้องๆ เด็กฝึกงานอย่างตั้งใจ


“ผมสนใจธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งที่ผมได้จากกระบวนการดีไซน์ ธิงกิ้ง คือการมองโจทย์จากมุมมองของลูกค้า แทนที่จะเป็นมุมมองของนักการตลาด ต้องขอบคุณเอพีที่ให้โอกาสผมเข้ามาพัฒนาตัวเอง ทำให้ผมรู้จักคิด และนำทฤษฎีมาปรับใช้Ž” เบนซ์ กล่าว

ภัทรลภา วจีไกรลาส

สำหรับคนสุดท้าย ปอนด์Ž ภัทรลภา วจีไกรลาส นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ช่วง 2 เดือน มีโอกาสได้ทำโปรเจ็กต์ร่วมกับมีน เป็นโครงการชื่อว่า The Loch การออกแบบโครงการหมู่บ้านนี้เน้นลักษณะเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับทะเลสาบ เพราะต้องการให้ผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นคนเมือง ที่แต่ละวันมีแต่ความวุ่นวายได้กลับไปอยู่ที่บ้านแล้วเหมือนได้อยู่บ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัด ซึ่งการออกแบบดังกล่าวได้ใช้กระบวนการดีไซน์ ธิงกิ้ง ด้วย

MUJI HOUSE
THE PARK HOUSE

 

“การได้ไปดูงานที่บ้านมูจิ และ The Park house ซึ่งเป็นต้นแบบการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้บริบทการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ที่เมืองโอซากา ยิ่งทำให้มีแรงบันดาลใจในการกลับมาออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยที่เน้นความเป็นธรรมชาติ เรียบง่าย แต่ตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัย อยากให้โครงการดีๆ แบบนี้มีต่อไปทุกปีŽ” ปอนด์ กล่าว

ถือว่าตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image