ขรก.บำนาญก.สาธารณสุข เสนอกรมบัญชีกลาง เพิ่มวงเงินบำเหน็จดำรงชีพ ช่วยข้าราชการเกษียณ

กรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลังสหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย   เสนอร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ ขอให้ สนช.สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อทำให้ข้าราชการบำนาญมีรายได้เพิ่มขึ้น  โดยข้าราชการบำนาญถือเป็นคนจนรุ่นใหม่ ได้เงินบำนาญเดือนละ 20,000 บาท หักค่าใช้จ่ายอื่น เหลือ 18,000 บาทต่อเดือน ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ ขณะที่กรมบัญชีกลางแจงว่าการเพิ่มมากขึ้น อาจเกินที่รัฐค้ำประกัน ซึ่งก็มีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยเพิ่มเงินบำนาญ กับไม่เห็นด้วยนั้น

ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่  22 กันยายน  พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข และ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)  กล่าวว่า จริงๆ กรณีข้าราชการที่เงินบำนาญไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพนั้น มีจริงในกลุ่มของข้าราชการรุ่นเก่า อายุ 80 ปี เพราะได้รับเงินเดือนน้อยมาก เพราะเงินข้าราชการมาเพิ่มขึ้นช่วงหลังๆ แต่ในกลุ่มที่ได้รับเงินบำนาญน้อยอายุ 80 ปีนั้น จริงๆก็ไม่เสมอไป ส่วนใหญ่จะเป็นในข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ข้าราชการตำแหน่งสูงๆ ก็ได้รับกันเยอะ  อย่างไรก็ตาม ตนมีข้อเสนอคือ ควรจะนำเงินบำเหน็จตกทอดทายาทมาแบ่งให้กับข้าราชการเกษียณ  โดยนำมาจัดสรรเพิ่มเติมให้กับเงินบำเหน็จดำรงชีพให้สูงขึ้นจะดีกว่าหรือไม่ ซึ่งอยากเสนอให้กรมบัญชีการทำตรงนี้น่าจะดีกว่า

“จริงๆเดิมทีเงินบำเหน็จตกทอดทายาทจะให้กรณี ข้าราชการบำนาญเสียชีวิต ยกตัวอย่าง หากเงินเดือน 20,000 บาท ก็นำไปคูณกับจำนวนปีที่ทำงานราชการ เช่นทำมา 35 ปี ก็จะได้เงินประมาณ 700,000 บาท ซึ่งในอดีตเงินบำเหน็จตกทอดให้ทายาทตรงนี้ จะให้ทั้งหมด แต่มาหลายปีมีการปรับแก้เพิ่มเติม โดยแบ่งส่วนหนึ่งไม่เกิน 4 แสนเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ  แต่ไม่ได้ให้ก้อนเดียว จะแบ่งเป็ฯ 2 งวด ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเพิ่มเงินบำเหน็จดำรงชีพมากขึ้น เพราะการแบ่งให้เงินตกทอดไปให้ทายาทนั้น ทั้งๆที่ข้าราชการยังมีส่วนที่เดือดร้อนในการดำรงชีพ ยิ่งเงินเดือนน้อยๆ ก็น่าเห็นใจ ก็ควรนำมาให้พวกเขาใช้จะดีกว่า” พญ.เชิดชู กล่าว

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image