‘หมอจุฬา’ จวกพ.ร.บ.ฯ เปิดกัญชาทางการแพทย์ แต่ส่อปิดช่องทางการเข้าถึงของผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรรมการพิจารณาการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha”  ถึงความคืบหน้าการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพรกัญชามาใช้ในทางการแพทย์  ระบุว่า “ถ้าร่างพระราชบัญญัตินี้ตกลงมาแล้วจะตัดโอกาสที่คนป่วยจะปลูกเองสกัดเองซื้อหามารักษาตัวเอง ต้องผ่านทางหน่วยงานผ่านทางแพทย์หรือคนที่ระบุไว้เท่านั้น

ตามที่ได้เคยเรียกร้องกันหลายครั้งก็คือทำให้ครอบครัวและชุมชนของคนป่วยซึ่งขณะนี้มีการรักษาตัวกันอยู่แล้ว ได้ประโยชน์เต็มที่โดยสามารถแบ่งปันข้อมูลการสกัด การปลูกหลังบ้านและวิธีการใช้ในโรคต่างๆซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันสามารถเรียนรู้ได้

และยังสามารถตอบโจทย์ได้ว่าภาวะโรคแม้กระทั่งมะเร็งชนิดไหนจะได้ประโยชน์จากกัญชาชนิดใดแบบใดปริมาณเท่าใดและใช้เป็นระยะเวลาเท่าใดในตอนเริ่มต้น
การเพิ่มโทษทั้งคุกทั้งปรับโดยดูจากปริมาณของกัญชาและสารสกัดกัญชาที่ครอบครองโดยตีเป็นจำหน่ายซึ่งโทษสูงมาก

และถ้าครอบครองในปริมาณที่น้อยกว่าก็ยังเป็นโทษที่สูงมาก
ตกลงว่ารัฐ ทำเพื่อใครหรือเพื่ออำนวยความสะดวกผลประโยชน์ให้บริษัทโดยที่ประชาชนคนป่วยไม่สามารถช่วยตัวเองได้และถามว่ามีแผนปัจจุบันกี่คนที่สามารถรู้ถึงธรรมชาติของกัญชาและสามารถให้คำแนะนำและปรับขนาดปรับวิธีในการให้ที่เหมาะสมเมื่อควบรวมกับยาแผนปัจจุบัน

Advertisement

กรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติสารเสพติด
1-มีประเด็นที่มีไว้ครอบครองแล้วผิดกฎหมาย ในข้อที่ครอบครองเพื่อจำหน่ายคือปริมาณตั้งแต่ 10 กิโลกรัมหรือสารสกัดตั้งแต่ 1 กิโลกรัม
ประเด็นคือถ้าในชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันและสก้ด สำหรับส่วนรวมหรือแม้เก็บไว้เองก็ตาม จะไม่ได้หรือ?
1 กิโลกรัมสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้ประมาณ 70 ถึง 80 cc หรือถึง 150 cc ถ้ามีน้ำมันมะพร้าวผสมด้วย
2-โทษตั้งแต่สองปีถึง 15 ปีและปรับ 200,000 บาทถึง 1,500,000 บาทถ้าเป็นพืชกระท่อมจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ประเด็นคือตามในข้อหนึ่งถ้าเจตนาเป็นในการช่วยรักษาซึ่งกันและกันก็ต้องโทษอยู่ดี
และพืชกระท่อมไปเกี่ยวอะไรด้วย
3- ผู้ใดครอบครองไม่ถึง 10 กิโลกรัมต้องโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึง 10 ปีหรือปรับตั้งแต่ 40,000 บาทถึง 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ประเด็นคือก็ได้อันนี้ครอบครัวของผู้ป่วยเองก็มีการสกัดอยู่แล้วตกลงก็คือถูกจับถูกปรับหมด?
4-ผู้ที่สามารถจะขออนุญาตได้จะไม่ได้เป็นประชาชนทั่วไป หรือถ้าได้จะมีความยากลำบากมาก
ประเด็นคือทำเพื่อใครเพื่อคุณป่วยหรือตายไปก็ดี?
5- กันชง hemp เอามาเกะกะในยาเสพติดทำไม และแม้แต่กัญชาเองโอกาสที่จะติดก็ยากกว่าบุหรี่เหล้าเลิกง่ายกว่าภายใน 30 วันอันตรายเมื่อเทียบกับบุหรี่และเหล้าเทียบเท่ากับฟ้าและเหว แต่บุหรี่และเหล้าถูกกฎหมายคนสูบคนดื่มไม่ถูกจับถูกปรับยกเว้นก่อให้เกิดความรำคาญในที่สาธารณะหรือทำอันตรายเช่นขับรถหรือเอะอะอาละวาด

และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงโทษที่เกี่ยวกับบุหรี่และเหล้าน้อยกว่าที่ตราหน้ากัญชามหาศาล” 

 

ถ้าร่างพระราชบัญญัตินี้ตกลงมาแล้วจะตัดโอกาสที่คนป่วยจะปลูกเองสกัดเองซื้อหามารักษาตัวเอง…

โพสต์โดย ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เมื่อ วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2018

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image