‘มหิดล’ ชวนปลูกต้นไม้สกัด พีเอ็ม 2.5 บุกบ้าน

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 18 มกราคม ที่ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าว “มาตรการการดูแลสุขภาพและการจัดการที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้เกี่ยวกับฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5”

รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกวันนี้ในชีวิตประจำวันของเราได้รับผลกระทบจากการพัฒนาค่อนข้างมาก พื้นที่ในเมืองมีการก่อสร้างมีการรุกล้ำเข้ามามากมาย สิ่งที่ลดน้อยไปมากคือ พื้นที่สีเขียวซึ่งจะช่วยปกป้องความรุนแรงจากสภาวแวดล้อมที่ผิดแผก โดยเฉพาะฝุ่นที่เกิดขึ้น

ปกติพื้นที่สีเขียว 1.5 ไร่ รองรับ 1,000 คน ปัจจุบันพื้นที่สีเขียวของเราลดน้อยลงไปมาก ปัจจัยที่จะช่วยปกป้องเราก็ลดน้อยลงไปด้วย เราจึงต้องใช้พืชพันธุ์ต่างๆ เข้ามาช่วย จากการศึกษาเราพบว่า พืชแต่ละชนิดมีคุณสมบัติบรรเทาฝุ่นที่จะเข้าสู่ร่างกายได้ในระดับหนึ่ง เราอาจจะต้องสร้างพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ทั้งในแนวตั้งและแนวดิ่ง อาจจะสร้างในรูปแบบของกรีนรูฟ ใครที่อยู่คอนโด อาจจะต้องใช้พืชกระถางที่เป็นไม้พุ่ม โดยเฉพาะพืชที่มีผิวใบที่มีขน ที่มีความสามารถในการดักจับฝุ่นละออง

ทางด้าน ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ซึ่งทำวิจัยร่วมการใช้พืชพรรณเพื่อการดักจับฝุ่นละอองในอากาศ กล่าวว่า ต้นไม้เป็นสิ่งกำบัง ดักจับผลพิษทางอากาศที่ดี ในต่างประเทศเราพบว่ามีการศึกษาทั้งในจีน และยุโรปหลายประเทศ

Advertisement

จากการศึกษาพบว่ามีพืชแต่ละชนิดสามารถดักจับฝุ่นได้อย่างน้อย 10-90% ขึ้นกับชนิดของพืช ไทยเรามีพันธุ์พืชมากกว่า 1 หมื่นชนิด แต่เราหยิบมาใช้น้อยมาก ผมอยากให้คนไทยสร้างพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นไม้กระถาง ไม้เลื้อย สวนแนวตั้ง ซึ่งนอกจากตะขบฝรั่ง ที่ช่วยได้จริง เพราะใบมีความเหนียว เนื่องจากขนต่อม ที่มีลักษณะเหนียวช่วยดักจับฝุ่นละอองได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆ”

“สำหรับพืชของไทยมีหลายพันธุ์ เช่น อินทนิล เล็บมือนาง พวงชมพู อัญชัน ฯลฯ นอกจากกันฝุ่น ยังเพิ่มออกซิเจนในอากาศ ทำให้ภูมิทัศน์ในบ้านเรือนเราสวยงาม ส่วนไม้ยืนต้น มี โมกมัน ชงโค ฯลฯ ซึ่งเป็นไม้ที่เราคุ้นเคย เวลาเราเพิ่มพื้นที่ก่อสร้าง เราเอาพื้นที่สีเขียวกลับไปคืนได้มั้ย อย่าง ประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างได้ดีที่สุด”

จากการศึกษาพบว่ามีพืชแต่ละชนิดสามารถบรรเทาฝุ่นเข้าในร่างกายเรา อย่าง ใบจับได้ 10 ไมครอนเลยทีเดียว จึงจำเป็นต้องหาพื้นที่สีเขียวเพิ่ม อย่างคอนโดมิเนียมก็ปลูกได้ หาพืชกระถางที่เป็นไม้พุ่มโดยเฉพาะที่มีผิวใบมีขน

ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ กล่าวว่า ต้นไม้เป็นสิ่งกำบังชั้นดีในการดักจับฝุ่นละอองในอากาศได้ดี ในต่างประเทศมีงานวิจัยเยอะมาก อย่าง จีน หรือสหรัฐอเมริกา ในยุโรปหลายๆ ประเทศ ก็ทำควบคู่ไปกับเทคโนโลยี

จากการศึกษาพบว่ามีพืชแต่ละชนิดสามารถดักจับฝุ่นได้อย่างน้อย 10-90% ขึ้นกับชนิดของพืช ไทยเรามีพันธุ์พืชมากกว่า 10,000 ชนิด แต่เราหยิบมาใช้น้อยมาก ผมอยากให้คนไทยสร้างพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นไม้กระถาง ไม้เลื้อย สวนแนวตั้ง ซึ่งนอกจากตะขบฝรั่ง ที่ช่วยได้จริง เพราะใบมีความเหนียว เนื่องจากขนต่อมที่มีลักษณะเหนียวช่วยดักจับฝุ่นละอองได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆ สำหรับพืชไทยก็มีหลายพันธุ์ เช่น อินทนิล เล็บมือนาง พวงชมพู อัญชัน ฯลฯ นอกจากกันฝุ่น ยังเพิ่มปริมาณออกซิเจนในอากาศ ทำให้ภูมิทัศน์ในบ้านเรือนเราสวยงาม ส่วนไม้ยืนต้น มี โมกมัน ชงโค ฯลฯ ซึ่งเป็นไม้ที่เราคุ้นเคย

“เวลาเราเพิ่มพื้นที่ก่อสร้าง เราเอาพื้นที่สีเขียวกลับไปคืนได้มั้ย อย่าง ประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างได้ดีที่สุด” 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image