‘เชียงใหม่’ ฝุ่นพิษทุบสถิติ ทะลุ 241 AQI สูงลิ่ว 351 เหนือวิกฤตสีแดง 15 พื้นที่ เลย-ขอนแก่น’ ก็หนัก

“เชียงใหม่” กระอักฝุ่นพิษทุบสถิติ PM2.5 ทะลุ 241 มคก./ลบ.ม. ค่าAQI สูงลิ่ว 351 เหนือวิกฤตสีแดง 15 พื้นที่ อีสาน”เลย-ขอนแก่น”ก็หนัก

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ พบว่า ค่าฝุ่นละออง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ – มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีแดง 15 พื้นที่ (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) และพื้นที่สีส้ม 1 พื้นที่ (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) ค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 90 -241 มลก./ลบ.ม. (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) ค่า PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 137-282 มลก./ลบ.ม. (มาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม.)

นายประลอง กล่าวว่า โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกินมาตรฐาน ดังนี้ ในพื้นที่ ต่อไปนี้ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย เชียงราย 215 มคก./ลบ.ม. ต.เวียง อ.เมือง เชียงราย 126 มคก./ลบ.ม. ต.ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่ 241 มคก./ลบ.ม. มีค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) 351 สูงที่สุดในประเทศ ต. ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ 221 มคก./ลบ.ม.ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่ 132 มคก./ลบ.ม.ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม เชียงใหม่ 134 มคก./ลบ.ม.ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง 186 มคก./ลบ.ม.ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ ลำปาง 107 มคก./ลบ.ม.ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ ลำปาง 194 มคก./ลบ.ม.ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ เครื่องตรวจวัดมีปัญหา บ้านกลาง อ.เมือง ลำพูน 210 มคก./ลบ.ม.ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 233 มคก./ลบ.ม.ต.ในเวียง อ.เมือง น่าน 146 มคก./ลบ.ม.ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ น่าน 183 มคก./ลบ.ม.ต.นาจักร อ.เมือง แพร่ 141 มคก./ลบ.ม.ต.บ้านต๋อม อ.เมือง พะเยา 184 มคก./ลบ.ม.ต.แม่ปะ อ.แม่สอด ตาก 90 มคก./ลบ.ม.

Advertisement

ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต.นาอาน อ.เมือง จ.เลย 118 มคก./ลบ.ม. ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 87 มคก./ลบ.ม. ภาคกลาง ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 62 มคก./ลบ.ม. ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 57 มคก./ลบ.ม. ต.บ้านเหนือ อ.เมือง กาญจนบุรี 64 มคก./ลบ.ม.

นายประลอง กล่าวว่า ทั้งนี้ คพ. ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่งดการเผาในที่โล่งเพื่อป้องกันการเพิ่มสูงขึ้นของฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในกรณีที่ประชาชนอยู่ในพื้นที่ที่ปริมาณฝุ่นละอองมีผลกระทบต่อสุขภาพ ขอให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด ใจสั่น คลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะ แน่นหน้าอก ให้รีบพบแพทย์ ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อย 5 วัน และสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศได้ทางเว็บไซต์ air4thai.pcd.go.th และแอพลิเคชั่น air4thai

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image