“หมอธีระวัฒน์” โพสต์แนะข้อควรระวังใช้ “กัญชา” รักษาโรค อย่าคิดว่าเป็นยาวิเศษ

เมื่อวันที่ 29 เมษายน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thiravat Hemachudha” ระบุถึงข้อควรระวังในการใช้พืชกัญชาทางการแพทย์ โดยเฉพาะกับการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และโรคอื่นๆ อีกทั้งในการนำมาใช้ห้ามคิดว่า กัญชาเป็นยาวิเศษ หรือกัญชาคือยา เมื่อจะนำมาใช้รักษาโรค ต้องรู้ว่าโรคนั้นคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร และการใช้กัญชานั้นเพื่อการบรรเทาอาการ ควบร่วมกับยาปัจจุบัน หรือใช้เป็นยาหลักต่อเมื่อยาปัจจุบันนั้นไม่ได้มีคุณสมบัติในการรักษาโรค เพียงแต่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น

ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวระบุว่า

“ข้อควรระวังของการใช้กัญชาในโรคพาร์กินสันและโรคอื่นๆ

Advertisement

เวลาก่อนจะใช้ กัญชาไม่ว่า CBD หรือน้ำมันกัญชาธรรมดา ที่มีสารออกฤทธ์ในทางเมา
สิ่งสำคัญก็คืออธิบายให้ผู้ป่วยทราบก่อนว่ายาพากินสันที่ใช้อยู่เป็นเพียงบรรเทาอาการและ ไม่ได้ช่วยให้โะคหาย แต่ขณะเดียวกันการใช้ยาขนาดมากเพื่อทำให้เข้าใกล้ปกติมากที่สุด กลับกลายเป็นเร่งให้โรคพัฒนาได้เร็วขึ้น จนกระทั่งไม่ว่าจะใช้ยาอะไรก็ไม่ได้ผลเพราะเป็นการเร่งให้สมองส่วนที่บกพร่องอยู่แล้วทำงานเกินกำลัง

และการใช้ยาพากินสันในแต่ละมื้อในขนาดมากเกินไป อาจทำให้มีความดันโลหิตตกและหน้ามืด การทรงตัวไม่ดีขณะเปลี่ยนท่าจากนอนไปนั่ง นี่งไปยืน และความดันตกเช่นนั้นเป็นข้อสังเกตที่สำคัญว่าจะทำให้โรคไปเร็วหรือไม่ และรายงานระยะหลังพบว่าอาจจะกระตุ้นทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมอีกด้วย orthostatic hypotension ขณะลุกขึ้นทันที ไม่ต้องรอ 3 นาที

ข้อแนะนำ

Advertisement

1-ลดขนาดยาให้น้อยที่สุดแต่ไม่ใช่หยุดยาเพราะจะกลายเป็น dopamine deprivation และที่สำคัญคือหยุดยาที่ทำให้ levodopa ค้างอยู่ในสมองนาน เช่น entacapone และแม้แต่ dopamine agonists ถ้าเป็นไปได้ เช่น pramipexol ropinirole

2-และใช้กัญชาร่วมในขนาดที่น้อยที่สุดเพียงครึ่งหยด ต่อวัน ในวันแรก และต้องเริ่มตอนก่อนนอนทุกครั้ง

3-ในขณะเดียวกันประเมินยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้ด้วย ว่าจะมีปฏิกิริยาควบรวมกับกัญชาที่ใช้อยู่หรือไม่ซึ่งอาจจะต้องลด/เพิ่มขนาดยาในเวลาต่อมา เพราะกัญชาอาจไปเพิ่มฤทธ์หรือลดฤทธ์ของยานั้นๆ และทำให้อาการของโรคอื่นกลับเลวลงไปอีก

4-การเพิ่มขนาดของกัญชาควรกระทำอย่างช้าๆในวันรุ่งขึ้นหรือ ในอีกสองวันถัดมาทั้งนี้ โดยประเมินจากผลข้างเคียงได้แก่ง่วงเมา โซเซ เวียนหัวคลื่นไส้หรือมีความดันตกซึ่งอาจจะเกิดกับน้ำมันกัญชาธรรมดามากกว่า แต่เกิดกับ CBD ได้ แม้ว่าจะน้อยมาก และดูว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้วหรือยัง

5-ถ้ายังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจค่อยค่อยเพิ่มทุกวันหรือทุกสองวันได้ขนาดครึ่งหยด ตอนก่อนนอน และควรหยุดอยู่ที่ไม่เกินสามถึงสี่หยด การจะใช้กัญชาในช่วงเวลาอื่นหรือไม่อย่างไรขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงอะไรบ้างและผู้ป่วยทำงานอะไรเวลากลางวันและอาจจะเกิดอันตรายในการทำงานพริอไม่

6-ห้ามคิดว่ายิ่งใช้ปริมาณมากยิ่งดีเนื่องจากการใช้กัญชาในการรักษาโรคเป็นการปลุกระบบกัญชาธรรมชาติในตัวให้ทำงานและปรับสมดุลย์ในร่างกาย

คำแนะนำนี้ได้จากตำรา ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ได้จากคำแนะนำของเพื่อนคู่หูจากชมรมใต้ดินและได้จากการพัฒนาจากการดูผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย
และไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำตามนี้ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยขึ้นอยู่กับชนิดของกัญชา ขนิดของสายพันธุ์กัญชา และความเข้มข้นของกัญชาที่ใช้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้มักจะไม่ทราบธรรมชาติที่มา ควรเริ่มน้อยที่สุดก่อน ส่วน CBD บริสุทธิ์นั้นเป็นประสบการณ์ไม่นานมานี้ โดยการใช้ในผู้ป่วยใช้เวลาประเมินประมาณสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา

อนี่ง หมอไม่ได้เป็นคนครอบครองกัญชาขายกัญชาให้ผู้ป่วยใดๆทั้งสิ้น แต่ผู้ป่วยสามารถได้กัญชาจากชมรมจิตอาสา

หมอแนะนำวิธีใช้และติดตามการรักษาร่วมกับเพื่อนชมรมใต้ดิน โดยไม่ได้ปฏิบัติผิดกฎหมายใดทั้งสิ้น

เพื่อผลประโยชน์สูงสุดและเป็นการรักษาชีวิตของผู้ป่วยโดยที่สามารถลดค่าใช้จ่ายของยาปัจจุบันได้จากเดือนละประมาณตั้งแต่ 7,000 ถึง 28,000 บาทต่อเดือน ลงมาถึงประมาณ 200 ถึง 700 บาทต่อเดือน

และใช้การปฏิบัติเช่นนี้กับโรคอื่นๆได้แก่โรคสมองเสื่อมที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่แก้ไขได้ อาการปวดเส้นประสาทใบหน้า อาการปวดอย่างอื่น ภาวะนอนไม่หลับเครียด อาการเกร็ง บิด
ใช้ควบรวมกับยาโรคลมชักที่คุมอาการยังได้ไม่ดี โดยต้องมีความระวังอย่างสูงสุด เพราะกัญชาจะไปเพิ่มฤทธ์ของยากันชัก

การใช้กัญชาไม่ได้ผลดีที่สุดในทุกราย ในกรณีที่ไม่ได้ผลมีความจำเป็นต้องประเมินตัวโรคใหม่ ว่ามีสาเหตุซับซ้อนอย่างอื่นหรือไม่ หรือมีการใช้ยาสมุนไพรอื่นๆควบรวมไปด้วย

และในโรคทางสมองบางอย่าง multiple system atrophy จะมีความผิดปกติของหลายระบบร่วมกันเช่นระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำให้ความดันตกเหลือประมาณ 50 ถึง 70 ร่วมกับอาการเกร็ง spsticity อาการพาร์กินสันส์ อาการเซ และการรับรู้สัมผัสของขา ผิดปกติ คือมีทั้ง posterior column และ cerebellum ผิดปกติ โดยมี peripheral nerve ด้วย

การใช้กัญชาในกรณีนี้ จุดประสงค์เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยโดยทำให้ความดันอยู่ในระดับปกติ มีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ยากระตุ้นความดัน ในโรคดังกล่าว มีคนไข้หนึ่งรายซึ่งขณะนี้สามารถคุมความดันได้แต่อาการอื่นๆดีขึ้นแต่ไม่ถึงกับน่าพอใจ

ประเด็นสุดท้าย ห้ามคิดว่ากัญชาเป็นยาวิเศษ กัญชาคือยา เมื่อจะนำมาใช้ในการรักษาโรค ต้องรู้ว่าโรคนั้นคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไรและการใช้กัญชานั้นเพื่อการบรรเทาอาการ ควบร่วมกับยาปัจจุบัน หรือใช้เป็นยาหลักต่อเมื่อ ยาปัจจุบันนั้นไม่ได้มีคุณสมบัติในการรักษาโรคเพียงแต่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น

รักษาชีวิตผู้ป่วยประหยัดมากที่สุด ผลข้างเคียงน้อยที่สุด และใช้สมบัติของชาติ สมบัติของคนไทยทุกคนอย่างคุ้มค่า”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image