สผ.แจง ความก้าวหน้า ประชุมเมืองบอนน์ อนุสัญญายูเอ็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

สผ.แจง ความก้าวหน้า ประชุมเมืองบอนน์
อนุสัญญายูเอ็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 27 มิถุนายน นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า การประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประจำปี 2562 (SB 50) ที่ เมืองบอนน์ สหพันธ์รัฐเยอรมนี วันที่ 17-27 มิถุนายน โดยการประชุมอย่างเป็นทางการของรัฐภาคีครั้งแรกหลังจากได้มีข้อตกลงร่วมกันต่อแนวปฏิบัติของความตกลงปารีส (Paris Agreement Work Programme: PAWP) อันเป็นผลลัพธ์ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 24 (COP 24) ที่ ณ เมืองคาโตวิเซ สาธารณรัฐโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 2-15 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยในการประชุมครั้งนี้มีการหารือภายใต้การประชุมองค์กรย่อย 2 องค์กรคือ องค์กรย่อยเพื่อให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SBSTA) และองค์กรย่อยเพื่อให้คำปรึกษาด้านการดำเนินงาน (SBI)

นางรวีวรรณ กล่าวว่า ที่ประชุมได้เจรจาหาข้อตกลง ที่คงค้างจากการประชุม COP 24 เพื่อหาข้อสรุปนำไปสู่การตัดสินใจทางการเลือกในการประชุม COP 25 ณ กรุงซันติอาโก สาธารณรัฐชิลี ในช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึง ซึ่งประเด็นสำคัญเหล่านี้ได้แก่ 1.กลไกที่นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีส ที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง รูปแบบและกลไกการแลกเปลี่ยน ซื้อขายคาร์บอนเครดิตโดยสมัครใจ ทั้งที่ใช้กลไกตลาดและไม่ใช้ตลาด 2.กรอบเวลาร่วมในการจัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. กรอบความโปร่งใสในการดำเนินงานและการสนับสนุน 5. การพิจารณารายงานฉบับพิเศษของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่ออุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และ 6.ผลกระทบเชิงลบจากการใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

Advertisement

นางรวีวรรณ กล่าวว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนมุมมอง เพื่อนำเสนอรายละเอียดของรายงานความก้าวหน้ารายสองปี (Biennial Update Report) ทั้งนี้กระบวนการ นี้ เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการด้านความโปร่งใส ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ต้องเข้าร่วมเพื่อสร้างความโปร่งใสในการรายงานข้อมูลการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพในอนาคต โดยได้ตอบข้อซักถามของประเทศต่าง ๆ ในประเด็นสำคัญ อาทิ ข้อมูลสถานการณ์ประเทศ โครงสร้างเชิงสถาบัน ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2556 ซึ่งมีปริมาณ 318.66 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (MtCO2) และผลการลดก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ. 2556 จำนวน 40.14 MtCO2 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 เทียบกับในกรณีปกติ เป็นต้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image