กทม.พร้อมรับมือ “พายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 12” จ่อถล่ม 31 ส.ค.-1 ก.ย.นี้

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. เปิดเผยตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเตือนเพื่อรับมืออิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 12 เนื่องจากจะทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย ขณะที่สำนักพยากรณ์ต่างประเทศคาดการณ์รัศมีของพายุดังกล่าวจะส่งผลกระทบถึงกรุงเทพฯ ว่า ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ ได้เฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศและใช้เรดาร์ตรวจจับกลุ่มฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ฝนตกหรือจุดที่มีปัญหาน้ำท่วม ผ่าน 5 ช่องทาง ได้แก่ Website http://dds.bangkok.go.th Facebook : http://www.facebook.com/bkk.best Twitter : http://twitter.com/bkk_best/bkk best ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม. Line ID : @bkk_best และแอปพลิเคชัน กทม. Connect

นายณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนั้น สำนักการระบายน้ำ ได้เตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำของ กทม. เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนจากพายุโซนร้อน โดยดำเนินการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พัฒนาระบบระบายน้ำในทุกพื้นที่ รวมถึงล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง จัดเก็บขยะและวัชพืชที่ขวางทางน้ำไหล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ บำรุงรักษาอุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบปัญหาอุปสรรคการระบายน้ำในช่วงฝนตก อีกทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ

ด้าน นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า กทม. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง  ด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยของต้นไม้ขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดแนวทางดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) สำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขต สำรวจตรวจสอบความแข็งแรงต้นไม้ใหญ่และวัสดุค้ำยันต้นไม้ในพื้นที่เพื่อป้องกันกิ่งลำต้นหัก ฉีกขาด และโค่นล้ม 2) กำชับทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การตัดแต่งกิ่งที่สุ่มเสี่ยงต่อการหัก ฉีกขาด การสางโปร่ง การลดทอนความสูง และการค้ำยันต้นไม้ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และ 3) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่ของตนเองและตัดแต่งเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือกรณีพบเห็นต้นไม้ในที่สาธารณะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ขอความร่วมมือให้แจ้งสำนักงานเขต เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image