กทม.เตรียมพร้อมเส้นทางงานพระราชพิธี ติดตั้ง ‘รถไฟฟ้าส่องสว่าง-วงจรปิด’

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมทางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) ในการให้บริการด้านความปลอดภัยและดูแลประชาชนที่จะไปเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 ในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 กทม.โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำแผนการวางกำลังเจ้าหน้าที่ประจำรถดับเพลิง รถไฟฟ้าส่องสว่างแอร์ไลท์ (Air Light) รวมถึงเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต (เสื้อชูชีพ ห่วงยาง เชือกช่วยชีวิต) บริเวณท่าเรือต่างๆ และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย จุดจอดรถดับเพลิงและรถไฟฟ้าส่องสว่าง แบ่งพื้นที่การอำนวยการเป็น 6 พื้นที่ ได้แก่ 1.ท่าวาสุกรีและหอสมุดแห่งชาติ 2.โรงเรียนการข่าวทหารบกและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3.กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ(กพร.ทร.) ตลาดท่าเตียน บ้านปราณี และปากคลองตลาด 4.สำนักงาน กปร.สวนหลวงพระราม 8  5.โรงพยาบาลศิริราช และ 6.โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ซึ่งในแต่ละจุดนั้นมีเจ้าหน้าที่ประจำรถดับเพลิงพร้อมถังดับเพลิงสีเขียว ประจำการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที

“สำหรับจุดติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้น มีจุดติดตั้งทั้งสิ้น 22 จุด จำนวน 78 เครื่อง ตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่งและถนนเส้นต่างๆในพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบด้วย 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 4 เครื่อง 2.ใต้สะพานพระราม 8 จำนวน 2 เครื่อง 3.ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 3 เครื่อง 4.ถนนมหาราช จำนวน 1 เครื่อง 5.ถนนหน้าพระลาน จำนวน 3 เครื่อง 6.ถนนราชดำเนินใน จำนวน 4 เครื่อง 7.ถนนราชดำเนินกลาง จำนวน 5 เครื่อง 8.ถนนมหาราช จำนวน 2 เครื่อง 9.สวนนคราภิรมย์ จำนวน 2 เครื่อง 10. สนามฟุตซอล สน.บวรมงคล จำนวน 1 เครื่อง 11.ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี จำนวน 6 เครื่อง 12.สวนหลวงพระราม 8 จำนวน 3 เครื่อง 13.ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งขาเข้า) จำนวน 1 เครื่อง 14.ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งขาออก) จำนวน 1 เครื่อง 15.สวนสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 เครื่อง 16. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร จำนวน 3 เครื่อง 17.อุทยานสถานพิมุข จำนวน 3 เครื่อง 18.กรมอู่ทหารเรือ จำนวน 3 เครื่อง 19.ราชนาวิกสภา จำนวน 4 เครื่อง 20.หอประชุมทหารเรือ จำนวน 6 เครื่อง 21.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร จำนวน 4 เครื่อง และ 22.วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร จำนวน 4 เครื่อง” นางศิลปสวย กล่าว

Advertisement

นอกจากนี้ นางศิลปสวย กล่าวว่า ยังได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตประจำท่าเรือในพื้นที่ จำนวน 44 นาย ประจำการ 22 ท่าเรือ ประกอบด้วย 1.ท่าเรือวัดราชาธิวาส  2.ท่าเสด็จวาสุกรี 3.ท่าเรือวัดเทวราชกุญชร 4.ท่าเรือเทเวศร์ 5.ท่าเรือธนาคารแห่งประเทศไทย 6.ท่าเรือสะพานพระราม 8 7.ท่าเรือพระอาทิตย์ 8.ท่าเรือราชนาวีสโมสร 9.ท่าการท่องเที่ยว 10.ท่าเรือปิ่นเกล้า 11.ท่าเรือธรรมศาสตร์ 12.ท่าเรือท่าพระจันทร์ 13.ท่าเรือมหาราช 14.ท่าเรือท่าช้าง 15.ท่าเรือท่าราชวรดิษฐ์ 16.ท่าเรือท่าเตียน 17.ท่าเรือวัดบวรมงคล 18.ท่าเรือบ้านปูน 19.ท่าเรือราชนาวิกสภา 20.ท่าเรือหอประชุมกองทัพเรือ 21.ท่าเรือกองบัญชาการกองทัพเรือ และ 22.ท่าเรือพระราม 8

“ด้านการเตรียมความพร้อมของกล้องวงจรปิดบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคและที่ตั้งจุดบริการประชาชนนั้น สำนักการจราจรและขนส่ง กทม.ได้ทำการตรวจสอบกล้อง อุปกรณ์ควบคุมและตู้ควบคุม กล้องวงจรปิดที่มีการติดตั้งตามบริเวณที่ตั้งบริการประชาชนต่างๆ บริเวณพื้นที่แก้มลิง รวมทั้งจุดคัดกรอง และตามเส้นทางเสด็จฯ ให้สามารถใช้งานได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,476 กล้อง ซึ่งแบ่งการควบคุมเป็น 6 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 จำนวน 808 กล้อง โซนที่ 2 จำนวน 898 กล้อง โซนที่ 3 จำนวน 508 กล้อง โซนที่ 4 จำนวน 392 กล้อง โซนที่ 5 จำนวน 349 กล้อง และโซนที่ 6 จำนวน 449 กล้อง แบ่งเป็นกล้องแบบเชื่อมโยงระบบ จำนวน 2,120 กล้อง แบบไม่เชื่อมโยงระบบ จำนวน 1,356 กล้อง พร้อมติดตั้ง ปรับมุมกล้องและโยกย้ายตำแหน่งกล้องให้มีความเหมาะสม โดยการติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณจุดคัดกรอง รวม 19 จุดคัดกรอง จำนวน 48 กล้อง ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2.ใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งพระนคร) 3.พิพิธบางลำพู 4.ทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5.พระแม่ธรณีบีบมวยผม 6. สนามหลวง 1 (ด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 7.สนามหลวง 2 (ด้านศาลฎีกา) 8.ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า(ฝั่งพระนคร) 9.ท่ามหาราช 10.ท่าช้าง 11.แยกท่าเตียน 12.หน้าวังสราญรมย์ 13.ใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) 14.เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 15.ทางเข้าท่ารถไฟ 16.อุทยานสถานพิมุข 17.ท่าเรือวังหลัง 18.หน้าวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร และ 19.หน้าวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร” นางศิลปสวย กล่าว

Advertisement

ปลัดกทม.กล่าวอีกว่า รวมถึงตรวจสอบและดูแลความเรียบร้อยของศูนย์บริหารจัดการวงจรปิด ภายในสำนักงานเขต จำนวน 7 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี และเขตคลองสาน อีกทั้งให้การสนับสนุนเสาสำหรับติดตั้งกล้องวงจรปิด ของตำรวจสื่อสาร จำนวน 9 เสา ตรวจสอบการสื่อสารด้วยระบบ Trunk Radio โดยการเฝ้าระวังระบบเครือข่ายสื่อสารที่ใช้เชื่อมสัญญาณให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงสัญญาณกล้องวงจรปิด จากทุกจุดในเส้นทางที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีฯ มายังศูนย์ติดตามสถานการณ์กรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างเสร็จสิ้นตามกำหนด มีความพร้อม 100% สำหรับความคืบหน้าการประดับตกแต่งเมือง โดยสำนักสิ่งแวดล้อม กทม.ภายใต้แนวคิด “สายน้ำแห่งพระบารมี ราชสดุดีรวมใจไทย” ได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่หลัก 15 จุด ในขณะนี้ทุกจุดมีความคืบหน้าในการทำงาน และคาดว่าจะแล้วเสร็จทุกจุดในวันที่ 20 ตุลาคมนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image