กรมแพทย์ย้ำอีกเสียง ‘กระท่อม’ มีซีบีดีมากกว่าทีเอชซี แต่หากปลูกผิดถิ่นอาจกลายพันธุ์เป็น ‘น้องกัญชา’

จากกรณีที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมในการกำหนดให้พืชกระท่อมเป็นการยาเสพติดให้โทษแล้ว ซึ่งต่อมา นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาลัยและฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และ นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(ไบโอไทย) มีความเห็นพ้องต้องกันในการปลดล็อกพืชกระท่อม ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เพื่อการนำประโยชน์ไปใช้ในทางการแพทย์

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กระท่อมเป็นพืชประจำถิ่นและมีพื้นฐานสายพันธุ์เดียวกับกัญชา โดยมีการนำมาใช้ประโยชน์หลักๆ คือ เส้นใย ซึ่งนำมาถักเป็นผ้าใยกระท่อม และคุณสมบัติอีกอย่างคือ สารที่อยู่ในต้นที่มีความใกล้เคียงกับกัญชา คือมีสารทีเอชซี(THC)และซีบีดี(CBD) ซึ่งสามารถนำสารซีบีดีนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยสัดส่วนของสารทั้ง 2 สารในพืชกระท่อม จะพบว่ามีซีบีดีมากกว่าทีเอชซี จึงมีแนวคิดว่าการนำกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีการปลูกแล้วนำมาใช้ในการแพทย์อาจจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก หากมีสายพันธุ์ที่มีสารซีบีดีที่นำไปใช้ประโยช์ในปริมาณมากและมีสารทีเอชซีที่ใช้ในการสันทนาการในปริมาณน้อยมาก ก็อาจเป็นทางออกให้ประชาชนในอีกกทางหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อไป

เมื่อถามว่า พืชกระท่อมมีผลเสียอย่างไรบ้าง นพ.มานัสกล่าวว่า การข้อมูลพบว่ากระท่อมและกัญชามีความใกล้เคียงกันมาก ซึ่งจะทำให้มีโอกาสกลายพันธุ์ได้ เช่น การปลูกในกรุงเทพมหานครมีสารทีเอชซีน้อยมาก แต่ในทางกลับกันโดยนำไปปลูกที่จังหวัดอื่นอาจจะมีสารทีเอชซีสูงก็จะกลายเป็นพืชที่มีความใกล้เคียงกับกัญชามากขึ้นไปอีก
“การที่มีสารทีเอชซีมากขึ้นในการปลูกต่างถิ่น กระท่อมก็จะกลายเป็นน้องกัญชาได้ แต่เราไม่บอกว่ากลายเป็นกัญชาแต่เราอธิบายว่ามันอาจจะมีทีเอชซีที่สูงขึ้น สัดส่วนตรงนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่าเกิดจากตัวแปรใด แต่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยงแปลงของสารคือสภาพภูมิอากาศ ดิน เป็นต้น ซึ่งทำให้สารสกัดในกระท่อมเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้” นพ.มานัสกล่าว

นพ.มานัสกล่าวว่า การใช้กระท่อมมีความปลอดภัยมากกว่ากัญชา เนื่องจากสัดส่วนของสารที่มีสารทีเอชซีน้อยกว่ากัญชา ซึ่งปลอดภัยการในการปลูก ซึ่งน่าจะเป็นเจตนาที่ดีต่อประชาชนและกระท่อมโดยแท้จริงเป็นพืชภูมิปัญญา และหากนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็อาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต ขณะนี้ในต่างประเทศมีการสารซีบีดีในการผสมอาหาร ขนม เวชสำอาง เป็นต้น โดยมีการระบุชัดเจนว่าไม่มีสารทีเอชซีที่เป็นสารกล่อมประสาทที่ใช้ในสันทนาการและใช้ในการเสพติด ดังนั้นในอนาคตเชิงอุตสาหกรรม หากประเทศไทยผลิตพืชกระท่อมออกมาและสามารถสกัดเอาสารซีบีดีที่เป็นประโยชน์ออกมาใช้ในการผสมอาหารได้ ก็จะเป็นโอกาสทางธุรกิจได้

Advertisement

“การที่คนนำไปใช้ผิดประเภท ก็จะต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องหนักใจของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ที่กำลังคุยกันอยู่ว่าจะปลดล็อกได้ยังไง ควบคุมได้ยังไง หากไม่ปลดล็อกอาจจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจแต่ถ้าปลดล็อกมากเกินไปก็จะเสี่ยงต่อการนำไปใช้ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์” นพ.มานัสกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image