สสส.ชูนโยบาย ‘ปักหมุด หยุดสูบ’ ‘ชวน ช่วย เลิกบุหรี่’ ลดผู้ป่วย-เสียชีวิต

บุหรี่ภัยร้ายใกล้ตัว ในปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด โรคทางเดินหายใจ เนื่องด้วยสาเหตุจากการสูบบุหรี่มากถึงปีละกว่า 55,000 ราย และยังมีผู้ป่วยอีกกว่า 500,000 ราย หรือคิดเป็น 10 เท่าของจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ยังคงนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (รพ.) จากจำนวนตัวเลขเหล่านี้นับว่ามหาศาลทั้งในด้านงบประมาณและการสูญเสีย

นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการควบคุมยาสูบ โดยเฉพาะโครงการ ชวน ช่วย เลิกบุหรี่Ž ข้อมูลจากระบบบัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการประจำปี 2560 มีผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาใน รพ. ด้วยโรคจากบุหรี่ถึง 553,611 ครั้ง คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลรวม 21,389 ล้านบาท โดยต้องนอนรักษาตัวใน รพ. เฉลี่ยครั้งละ 7 วัน คิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 38,638 บาท/ครั้ง ดังนั้น การช่วยเลิกบุหรี่จึงมีความจำเป็นในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่เกิดจากพิษของบุหรี่ สสส.จึงสนับสนุนโครงการจัดความรู้และสื่อสารการขับเคลื่อนงานตามพันธกิจชวนและช่วยเลิกบุหรี่ ดำเนินการในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย ลพบุรี นครนายก นครปฐม ปทุมธานี กาญจนบุรี ราชบุรี บุรีรัมย์ สกลนคร ตรัง นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทั้งนี้มี 3 สถานประกอบในจังหวัดสมุทรปราการและตรังเข้าร่วมโครงการ
การทำงานโครงการชวน ช่วย เลิกบุหรี่ จะผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีสมาชิกกระจายอยู่ทั่วทุกหมู่บ้าน มี รพ.ทั่วไปและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นแกนกลางสนับสนุนให้เครือข่าย อสม.ทำหน้าที่ช่วยคนในชุมชนให้เลิกบุหรี่ตามบริบท วิถีชีวิต สภาพสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่Ž นพ.คำนวณกล่าว

น.ส.นิรดา แสนรัตน์ ผู้รับผิดชอบโครงการจัดความรู้และสื่อสารการขับเคลื่อนงานตามพันธกิจชวนและช่วยเลิกบุหรี่ สสส. กล่าวว่า สสส.สนับสนุนการใช้มาตรการและรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างต่อเนื่อง แต่การช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ยังดำเนินการได้น้อยกว่ามาตรการอื่นถึงแม้จะมีการจัดระบบบริการเลิกบุหรี่ใน รพ. แต่พบว่าการเข้าถึงบริการในคลินิกเลิกบุหรี่ยังมีค่อนข้างน้อย ดังนั้น การช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่จึงต้องทำทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ทั้งในและนอกระบบ รพ. เข้าถึงระบบบริการ รวมถึงการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีบทบาทในการแก้ปัญหาหรือลดอัตราการสูบบุหรี่ในพื้นที่หรือชุมชนของตนเอง

Advertisement

นางขนิษฐา ตั้งกิตติวัฒน์ ผู้อำนวยการ รพ.สต.โพรงมะเดื่อ จ.นครปฐม กล่าวว่า จากการดำเนินงานชวน ช่วย เลิกบุหรี่ที่ผ่านมา 3 ปี สามารถเชิญชวนผู้ติดบุหรี่ในพื้นที่เข้าโครงการได้กว่า 576 ราย และในจำนวนนี้สามารถเลิกขาดได้ 72 ราย ส่วนในรายที่เหลืออยู่ในระหว่างการติดตาม พูดคุยเพื่อให้เลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด โดย อสม.ในพื้นที่จะมีบทบาทสำคัญในการชวน ช่วยเลิกบุหรี่ ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลิกบุหรี่ รวมถึงแนะนำสมุนไพรและตัวช่วยต่างๆ รวมไปถึงการกดจุดเลิกบุหรี่

“ในจำนวนที่เลิกได้ 72 รายนั้น คือผู้ที่เลิกบุหรี่ได้เด็ดขาดมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ถ้ายังไม่ถึง 1 ปีเราไม่กล้าการันตีว่าเขาจะเลิกได้ตลอดไป เนื่องจากการเลิกบุหรี่จะต้องอาศัยกำลังใจจากครอบครัว คนรอบข้างของผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพราะหากเลิกได้แล้วกลับไปสูบอีกก็เท่ากับไม่มีความหมาย แต่เราก็ไม่ท้อถอย หากผู้ที่เลิกไปแล้วกลับไปสูบบุหรี่แต่ก็อยากกลับมาเลิก เราก็จะพาเขากลับเข้าสู่กระบวนการใหม่อีกครั้ง อาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม”Ž นางขนิษฐา กล่าว

นางอำนวย สุทัตโต อสม.รพ.สต.บ้านใหม่ จ.ปทุมธานี กล่าวว่า การเริ่มต้นการละเลิกบุหรี่มาจากโครงการกระดาษแผ่นเดียวโดยให้สมาชิก อสม.ทำกระดาษรณรงค์ด้วยข้อความจากใจเพื่อให้คนในครอบครัวเลิกบุหรี่และนำกระดาษเหล่านั้นไปติดไว้บริเวณที่คนในครอบครัวใช้เป็นพื้นที่สูบบุหรี่ ซึ่งก็สามารถเห็นผลได้ในเบื้องต้น ต่อมาด้วยโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทาง อสม.จึงจัดนิทรรศการแสดงข้อมูลโทษของบุหรี่ภายในศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาล การจัดกิจกรรมจะมีการให้ข้อมูลและแจกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการช่วยเลิกบุหรี่ เช่น น้ำยาบ้วนปากที่ใช้ในการช่วยลดความอยากบุหรี่ สเปย์ดอกหญ้าขาว เป็นต้น ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี

Advertisement

“เราเข้าไปใน 2 เดือนแรก เรามีของไปให้ช่วยให้เลิกบุหรี่ แต่พอเข้าเดือนที่ 3 ของหมดและยังไม่สามารถเบิกของจากส่วนกลางได้ จึงทำให้การทำดำเนินโครงการขาดความต่อเนื่อง และมีจำนวนคนที่ต้องการใช้เป็นจำนวนมาก เราจึงคิดค้นลูกอมช่วยลดความอยากบุหรี่ที่คิดค้นโดยแพทย์ของ รพ.สต. นวัตกรรมลูกอมที่ทำจากนมผงเด็กผสมกับนมข้น เนยและหญ้าดอกขาว เคี่ยวให้เข้มข้น แต่การใช้ลูกอมนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ ว่าเป็นผู้ป่วยเรื้อรังและเหมาะสมจะใช้วิธีนี้หรือไม่ รวมไปถึงการทำชาจากหญ้าดอกขาวที่ลดความอยากบุหรี่ได้ดีเช่นกัน หากผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่ รพ.สต.บ้านใหม่ ทั้งนี้ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อเป็นการพาณิชย์แต่อย่างใด และขณะนี้กำลังดำเนินศึกษาวิจัยต่อยอดต่อไปŽ” นางอำนวย กล่าว

ร.ท.นพนนท์ ศรีอิ่ม บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ จ.ราชบุรี กล่าวว่า ในความเข้าใจผิดๆ ว่า การสูบบุหรี่เป็นเครื่องหมายของการโตเป็นหนุ่ม จึงเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 15 ปี และสูบอย่างหนักเป็นเวลาติดต่อกันมานานกว่า 40 ปี โดยสูบเฉลี่ยวันละ 2 ซอง หรือคิดเป็นเงิน 200 บาท/วัน เมื่ออายุมากขึ้นปัญหาสุขภาพก็ตามมา ทั้งระบบหายใจ อาการเจ็บหน้าอกและมีกลิ่นปาก เนื่องจากเป็นครูฝึกและเป็นหัวหน้าแผนกฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ติดยาเสพติด จึงได้พบปะกับ อสม.เป็นประจำ ทำให้เกิดการชักชวนจาก อสม. อ.ดอนทราย จ.ราชบุรี แนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ด้วยวิธีการกดฝ่าเท้า ในตอนนั้นไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่ด้วยความอยากลองจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

โดยหลักการนวดกดจุดที่ฝ่าเท้าเพื่อยับยั้งและบำบัดผู้ติดบุหรี่นั้น น.ส.จารุพร จันทาศรี แพทย์แผนไทย รพ.สต.ดอนทราย จ.ราชบุรี อธิบายว่า บริเวณฝ่าเท้ามี 5 จุด ได้แก่ สมองเล็ก สมองใหญ่ ต่อมใต้สมอง จมูกและลำคอท่อหายใจ ที่เมื่อนวดไปแล้วสารเคมีที่เรียกว่า สารโดปามีน เป็นสารก่อสุขที่หลั่งออกมาจะทำให้ความอยากบุหรี่ลดลง และรสบุหรี่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ผลของการนวดจะขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นเท้าและระยะเวลาการติดบุหรี่ของผู้ที่ต้องการบำบัด การนวดต้องทำต่อเนื่อง 10 วันติดกัน วันละ 15 นาที เปิดบริการมานานกว่า 4 ปีและมีผู้เข้ารักษาต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่หากผู้เข้ารับการบำบัดมีจิตใจที่แน่วแน่ก็จะสามารถเลิกบุหรี่ได้เกือบทุกราย สำหรับผู้ที่สนใจอยากนวดเพื่อรับการรักษาติดต่อได้ที่เบอร์ 08-1009-7997 โดยการนวดไม่เสียค่าใช้จ่ายและเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ที่จะเปิดเวลา 09.00-16.00 น.

ส.ต.บุญร่วม ฮะสูงเนิน บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า เริ่มต้นสูบบุหรี่มาตั้งแต่ พ.ศ.2524 เดิมทีเกิดจากความเครียดจึงอยากลองสูบบุหรี่รวมถึงความเชื่อที่ว่าการสูบบุหรี่จะช่วยไล่ยุงได้ จึงได้เริ่มสูบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จุดเปลี่ยนความคิดที่ทำให้อยากเลิกบุหรี่คือ เมื่อครั้งหนึ่งย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ได้ไปปฏิบัติธรรมร่วมกับผู้อื่นและได้เป็นผู้กล่าวนำการสวดมนต์ จึงได้ฉุกคิดขึ้นมาว่าจะถือศีลได้อย่างไรถ้ายังเสพติดการสูบบุหรี่ จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการกับ อสม.ประจำหมู่บ้านเพื่อเลิกบุหรี่

“เลิกบุหรี่มาได้ 3-4 ปีแล้ว ร่างกายดีขึ้น หายใจคล่องขึ้น ยกกระสอบข้าวสารคนเดียว 15 กระสอบได้สบายๆ ไม่เหนื่อยหอบเหมือนเมื่อก่อนแล้ว รวมไปถึงคนในครอบครัวก็เป็นกำลังใจมาตลอดระยะที่เลิกบุหรี่ ตอนนี้ผมพร้อมจะช่วยเหลือคนอื่นให้เลิกบุหรี่ได้แบบผม การเอาธรรมะเข้าช่วยมันทำให้ผมนึกถึงคนใกล้ตัว ผมก็อยากเลิกบุหรี่เพื่อลูกเพื่อเมีย”Ž ส.ต.บุญร่วม กล่าว

ทั้งนี้ สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่มีส่วนในการขับเคลื่อนโครงการ ชวน ช่วย เลิกบุหรี่Ž พร้อมประกาศเจตนารมณ์ ปักหมุด หยุดสูบŽ ร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่และสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างปัจจัยเอื้อต่อการ ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image