2563 พึงรักษางานที่มีอยู่ ทางออกดีที่สุด “แรงงานไทย”

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) โดย รศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ได้เผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้วางแผนการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศŽ มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลข้อมูล ทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ การผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วง พ.ศ.2552-2561 เพื่อศึกษาความต้องการกำลังคนและศักยภาพการผลิตในสถาบันการศึกษาของประเทศไทยและสาขาที่เป็นความต้องการ ความจำเป็นของประเทศทั้ง ปริมาณและคุณภาพ เพื่อวางแผนและพัฒนากำลังคนของประเทศให้ตอบสนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการ ที่เปลี่ยนแปลงไป และสาขาที่เป็นความต้องการ ความจำเป็นของประเทศในอนาคตราว 5-10 ปีข้างหน้า

รศ.ยงยุทธ กล่าวว่า รายงานการวิจัยนี้จัดทำร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นการมองภาพในอนาคต ด้านแรงงานในปีต่อๆ ไปจะเป็นอย่างไร ด้านความต้องการของตลาดแรงงานรวมไปถึงจำนวนแรงงานที่มีจะมีมากน้อยเพียงใดในอนาคตไปจนถึงปี พ.ศ.2568 ตลอดจน การดูผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประชากร ซึ่งเป็นการศึกษาจากฐานประชากรชุดใหม่ เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการจ้างงานของแต่ละภาคในประเทศไทย

จากรายงานพบว่า ความต้องการแรงงาน ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ในปี พ.ศ.2559-2563 ความต้องการแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ในอัตราที่ต่ำ อัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตลอดช่วงปีพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 0.65 ต่อปี หรือราว 39.75 ล้านคน ในปี พ.ศ.2563 เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจปี พ.ศ.2563 พบว่า ภาคบริการยังคงเป็นภาคที่มีจำนวนแรงงานมากที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.80 ต่อปี หรือราว 17.33 ล้านคน ภาคที่มีการจ้างงานรองลงมาคือภาคเกษตร พบว่ามีความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.44 ต่อปี หรือราว 13.17 ล้านคน ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีการจ้างงานน้อยที่สุด พบว่าในอนาคตของภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.82 ต่อปี ส่งผลให้ในปี พ.ศ.2563 จะมีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมราว 10.14 ล้านคน

Advertisement

ส่วนความต้องการแรงงานที่ แยกตามระดับการศึกษาและสาขาวิชาพบว่า ความแรงงานที่จบสาขาเกษตรศาสตร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 8.96 ต่อปี ทั้งในผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ในขณะที่ความต้องการแรงงานที่จบอนุปริญญาในสาขาเกษตรศาสตร์มีอัตราขยายตัวต่ำที่สุด สาขาที่รองลงมาคือสาขาการบริการคิดเป็นอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.64 ต่อปี สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาที่มีอัตราการขยายตัวของแรงงานที่ใกล้เคียงกันคิดเป็นประมาณร้อยละ 4.19 ต่อปี และความต้องการแรงงานที่จบสาขาสุขภาพและสวัสดิการมีอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.72 ต่อปี

ท้ายที่สุดสาขาที่มีการขยายตัวติดลบคือ สาขามนุษยศาสตร์ที่มีความต้องการแรงงานอัตราการขยายตัวติดลบร้อยละ -2.80 ต่อปี

“ตอนนี้ฐานมีที่อยู่มีแต่ฐานที่จบจากสายสังคมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดความลำบาก เนื่องจากสายสังคมมาทำงานวิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์ยังสามารถผลัดเปลี่ยนมาทำงานในสายสังได้ เช่น หมอยังสามารถมาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ได้ นักวิทยาศาสตร์ไปเป็นนักอื่นได้ แต่นักอื่นจะมาเป็นมานักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ตลาดมันถูกแยกออกมาเป็นแบบนี้ มันก็เลยยาก กลุ่มคนที่เป็นภาระคือคนในสายสังคม ทำไมคนสายสังคมก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมเยอะไปหมด ไปจนถึงความเหลื่อมล้ำทั้งด้านรายได้ โอกาสในการจ้างงาน โอกาสในการศึกษา ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงานรวมกันไป”Ž รศ.ยงยุทธ กล่าว

Advertisement

ทั้งนี้ ในด้านแรงงานสาขาที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจพัฒนาประเทศให้เติบโตได้ระบุอุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศดังนี้ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร นอกจากนี้ ยังกำหนดอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเป็นที่ต้องการของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อย่างไรก็ตาม การศึกษาเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทราบสาขาการศึกษาเพื่อเตรียมแรงงานเข้าสู่ตลาดในอุตสาหกรรมต่างๆ ตามความต้องการของแรงงาน

หากจะมองหาแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในอนาคต เพื่อไม่ให้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือต้องกลายเป็นคนกลุ่มปัญหาสังคม รศ.ยงยุทธบอกว่า จะต้องอาศัย ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21Ž (21st Century Skills) เป็นหลักใหญ่พื้นฐานของบุคลิกของคนที่พึงมีและที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7CŽ อันหมายความถึง 3R ได้แก่ (R) Reading อ่านออก (W) Riting เขียนได้ และ (A) Rithemetics คิดเลขเป็น และ 7C คือ 1.Critical Thinking and Problem Solving ทักษะด้านการคิดและการแก้ปัญหา ย่างมีวิจารณญาณ 2.Creativity and Innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.Cross-cultural Understanding ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ 4.Collaboration Teamwork and Leadership ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ 5.Communications Information and Media Literacy ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ 6.Computing and ICT Literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 7.Career and Learning Skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม การจะเริ่มถึงจุดใหญ่ได้ก็จะต้องเริ่มจากสะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า พึงระลึกไว้เสมอว่า หากมีงานทำอยู่นั้น ก็จะไม่เกิดปัญหา เนื่องจากการตกงานเพียง 1 คน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแก่ผู้ร่วมชายคา

การรักษางานที่มีไว้จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดและควรใช้เวลาที่พอมีเหลือนำไปเพิ่มพูนทักษะเพื่อให้เป็นบุคคลแห่งปีศตวรรษที่ 21 ที่มีความพร้อมเดินหน้าและมีชีวิตรอดต่อไป

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image