“หมอยง” เตือนรับข้อมูล “โควิด-19” มาก ทำเสียสุขภาพ แนะลดเสพสื่อ-ทำตามคำแนะนำ สธ.

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชน ทุกครั้งที่มีโรคอุบัติใหม่ และองค์ความรู้ยังไม่มาก ทุกคนจะเกิดความกลัว โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีสื่อสังคมเข้ามามาก ข้อมูลที่เกิดขึ้นจะมีความจริงเพียงร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือเป็นความเห็น ละขึ้นกับว่าผู้เติมจะเติมในแง่บวกหรือแง่ลบ   

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า การเสพสื่อ หรือรับรู้สื่ออย่างมาก จะทำให้เหมือนอยู่ในเหตุการณ์ ผลที่เกิดขึ้นจะคล้ายกับ post traumatic stress มีอาการนอนไม่หลับ หวาดกลัว ตื่นตัว สะดุ้ง ไม่มีสมาธิในการทำงาน เครียดง่าย
ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อสุขภาพ ดังนั้นทางออกที่เป็นไปได้ ถ้ารู้ตัวว่ามีอาการดังกล่าว ขอให้ลดการเสพสื่อ เรียนรู้ แยกความจริงกับความเห็น ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
มีสติ ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และผู้ที่รู้จริงเท่านั้น

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

Advertisement

 

 

ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวระบุว่า

Advertisement

“โรคโควิด 19 กับผลทางจิตใจ
ทุกครั้งที่มีโรคอุบัติใหม่ และองค์ความรู้ยังไม่มาก
ทุกคนจะเกิดความกลัว โดยเฉพาะในปัจจุบัน มีสื่อสังคมเข้ามามากมาย
ข้อมูลที่เกิดขึ้นจะประกอบไปด้วยความจริง 20% และเติมด้วยความเห็น
ความเห็นที่เติมเข้าไป ก็ขึ้นอยู่กับผู้เติม ในแง่บวก หรือลบ ก็ได้
สิ่งที่สำคัญในการเสพสื่อ เราต้องแยกความจริง และความเห็น
ภาพของโรค ทำให้ถูกมองว่า เป็นโรคร้าย และบางครั้งมองดูเหมือนใกล้ตัว
บุคลากรทางการแพทย์ จะยิ่งใกล้ตัวเข้าไปใหญ่
การกักให้อยู่บ้าน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ประกอบกับความกลัว จะมีผลทางจิตใจค่อนข้างมาก
ในสมัย MERS ระบาด มีการศึกษาผลทางจิตใจ ในผู้สัมผัสโรค ก็จะพบคล้ายกับ post traumatic stress คือมีอาการ ตื่นตัว สะดุ้ง ตกใจ ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายกับเรื่องธรรมดา
ในขณะนี้หลายคน ถึงแม้จะไม่อยู่ในเหตุการณ์
แต่การเสพสื่อ หรือรับรู้สื่ออย่างมาก ก็จะทำให้เหมือนอยู่ในเหตุการณ์
ผลที่เกิดขึ้น ก็จะคล้ายกับ post traumatic stress มีอาการนอนไม่หลับ หวาดกลัว ตื่นตัว สะดุ้ง ไม่มีสมาธิในการทำงาน เครียดง่าย
เมื่อมองดูแล้ว อาการดังกล่าวในภาพรวม จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพ และจะต้องถูกคำนึง มากกว่า โรคโควิด 19 ในขณะนี้เสียอีก
ดังนั้นทางออก ที่เป็นไปได้ ถ้ารู้ตัวว่ามีอาการดังกล่าว ขอให้ลดในการเสพสื่อ เรียนรู้ แยกความจริงกับความเห็น
ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
ให้มีสติ ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ตามคำแนะนำของทางสาธารณสุข และผู้ที่รู้จริงเท่านั้น”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image