‘สุวิทย์’ ถก ‘สตาร์ตอัพ’ รับมือโควิด-19 แย้มหากยืดเยื้ออาจเลื่อนเปิดเทอม-ทำงานที่บ้าน

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด อว.รับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในภาวะฉุกเฉิน โดยมอบให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เป็นแม่งานในการจัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการรับมือสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน พร้อมเชิญกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ ร่วมหารือด้วย ทั้งนี้ ในที่ประชุมแบ่งการรับมือออกเป็น 2 สถานการณ์ คือ การรับมือในสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน และการรับมือที่จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วน แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่

1.การพัฒนาระบบการติดตาม และการตรวจสอบ ถือว่าจำเป็นเร่งด่วน เพื่อติดตามคนที่เดินทางเข้าประเทศทั้งหมดตั้งแต่ผ่าน ตม. โดยการให้ผู้ที่เดินทางทั้งหมดติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพื่อให้สามารถทราบตำแหน่ง และรายงานผลแบบทันทีบนแผนที่ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะสนับสนุนระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (mega data) ร่วมกับสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) และกรมควบคุมโรค

2.การใช้ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อช่วยในคัดกรอง วินิจฉัยเบื้องต้น และตอบคำถาม ผ่านทางปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และ ระบบตอบการสนทนาอัตโนมัติ แก่ประชาชนในกรณีที่เกิดความกลัวและความกังวล ตลอดจนการดูแลตัวเองเบื้องต้น นอกจากนี้ ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล อาจจะช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการลดการมาโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยตั้งเป้าหมายลดร้อยละ 20 โดยมอบให้สมาคม health tech startup ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับผิดชอบ

Advertisement

3.ระบบแสดงตำแหน่งและจัดส่งสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นเร่งด่วน การพัฒนาแผนที่แสดงตำแหน่งที่จำหน่ายหน้ากากเพื่อให้ประชาชนทราบและสามารถซื้อได้ และแผนที่แสดงตำแหน่งของห้องน้ำที่มีความปลอดภัย รวมถึงวิธีการกระจายหน้ากากอนามัย และการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ มอบให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคม health tech startup รับผิดชอบ

และ 4.การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ และการกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านการผลิต เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เจล ชุดตรวจ โดยการจัดหาวิธีเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการควบคุมโรค เช่น หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI กรมสรรพสามิต และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อปลดล็อกหรือแก้ปัญหาของอุตสาหกรรม มอบให้ สวทช. และสภาอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ รับผิดชอบ

Advertisement

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

 

 

“คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ เนื่องจากบางระบบเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ได้ทันที ซึ่งในแต่ละกลุ่มย่อยจะมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแล หารือ ประสานงานและติดตามงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยจะนำร่องใช้ประโยชน์ผ่านเครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี สวนดอก และโรงพยาบาลภายใต้สังกัด อว. ก่อนขยายต่อไปยังเครือข่ายอื่นทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน และคนทำงาน เพราะหากประเทศไทยเข้าสู่ระยะ 3 หรือในสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลให้เลื่อนการเปิดเทอมของนักเรียน หรือการทำงานจากที่บ้าน” นายสุวิทย์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image