โลกสรุป “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ต้องลงทุนระบบ “ปฐมภูมิ” ให้หนัก

โลกสรุป หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าŽ ต้องลงทุนระบบ ปฐมภูมิŽ ให้หนัก-ไปต่อไม่ได้หากไม่เน้น ส่งเสริมสุขภาพŽ

การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้สะท้อนมุมมองของนานาชาติต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องไปให้ถึง ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือในปี 2573 โดยตัวแทนจากทุกประเทศ สนับสนุนให้ระบบนี้ไปต่อ เพื่อสร้างหลักประกันว่าในอนาคตต้องไม่มีใครที่ ล้มละลายŽ หรือ ยากจนŽ จากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป

ทั้งหมดนี้ ยังคงเป็นเรื่องยาก เพราะมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลก ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ เพราะระบบนี้ต้องการการลงทุนโดยรัฐ ภายใต้เม็ดเงินมหาศาล และในอีกหลายประเทศ ต้องเข้าไป Disrupt กลไกธุรกิจ ระบบประกันสุขภาพเอกชน ไปจนถึงบริษัทยา โรงพยาบาลเอกชน ที่มีรายได้มหาศาลในแต่ละปี เพื่อก่อร่างสร้างระบบนี้ ให้เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

เบฟเวอร์ลี โฮ ที่ปรึกษาพิเศษ รมว.สาธารณสุข ประเทศฟิลิปปินส์ เล่าว่า ฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในประเทศน้องใหม่ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเพิ่งเริ่มต้นผ่านกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อให้ประชาชนฟิลิปปินส์เข้าถึงการรักษาได้ง่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย ในระยะเริ่มต้น ฟิลิปปินส์ได้ดึงงบประมาณจาก ภาษีบาปŽ ไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพสามิตจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และกาสิโน เข้าไปในโครงการ ซึ่งฟิลิปปินส์ มียอดทำให้ได้งบประมาณเพิ่มระดับหนึ่ง โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์คาดว่า การดึงภาษีบาปมาใช้จะได้งบประมาณเพิ่มขึ้นราว 2.5 หมื่นล้านเหรียญฟิลิปปินส์ (ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท)

Advertisement

เบฟเวอร์ลี กล่าวว่า ก้าวต่อไปของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าฟิลิปปินส์ คือ การโฟกัสไปยังระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยรัฐบาลเห็นความจำเป็นว่าโครงการจะไปต่อไม่ได้ หากเน้นไปที่การรักษาอย่างเดียว เพราะงบประมาณสาธารณสุขจะพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังวางแผนในการดึงภาษีแบบ Earmarked tax หรือ ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 1% ของงบประมาณด้านสุขภาพทั้งหมดต่อปี เพื่อลงไปยังการ ส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรคŽ โดยตรง ผ่านสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งทำให้งบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรคของฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นจาก 1 ปีก่อนหน้ากว่า 400%

Advertisement

ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ยังร่างกฎหมายสนับสนุนให้เกิดระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อให้คนฟิลิปปินส์ 104.9 ล้านคนทั่วประเทศ เข้าถึงสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิอย่างทั่วถึง โดยร่วมมือกับภาคประชาสังคม ในการผลักดันระบบสุขภาพปฐมภูมิ ให้เข้าถึงประชากรให้มากที่สุด

“เรารู้ดีว่า การสร้างระบบแบบนี้ ต้องใช้เวลาและต้องใช้กลไกที่เข้มแข็ง ทั้งด้วยกฎหมายและด้วยอำนาจทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากภาคประชาชนให้มากที่สุด เพื่อให้ระบบสามารถขับเคลื่อนได้เร็ว ไม่ต้องรอกลไกรัฐ ไม่ต้องรอรัฐบาล แต่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง”Ž เบฟเวอร์ลี ระบุ

ขณะที่ โกกู อาโวนัวร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริการสุขภาพ ประเทศกานา กล่าวว่า ความท้าทายของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในทวีปแอฟริกาก็คือ การที่ยังมี โรคติดต่อŽ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรีย หรือโรคเอดส์ ทำให้ทรัพยากรรัฐ และงบประมาณ ถูกมุ่งไปยังการจัดการปัญหาพวกนี้, มากกว่าจะไปสู่การสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ โดยวิธีคิดขณะนี้คือ หลายประเทศมองว่าต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงต้องหาจุดกึ่งกลางระหว่างการจัดการปัญหาโรคระบาด และการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาได้

นอกจากนี้ แอฟริกายังคงเผชิญปัญหาที่ใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศรายได้ปานกลางอื่นๆ อย่างการขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข และจำนวนผู้ป่วยในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบระบบ จึงต้องวางแผนให้ครบทุกมิติ ไม่ใช่แค่มิติการรักษาอย่างเดียว แต่ต้องจัดการให้เชื่อมโยงกับปัญหาที่รอบด้านกว่า อย่างการจ้างงานบุคลากรสาธารณสุข และการจัดการกับโรคเรื้อรัง ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งทั้ง 2 ปัญหา จะทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพุ่งสูงขึ้นจนหยุดไม่อยู่ ซึ่งรัฐบาลอาจมองว่าไม่คุ้มค่าการลงทุน

ด้าน เอริกา ดี รุจิเอโร นักวิชาการจากวิทยาลัยสาธารณสุข ดาลลา ลานา มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา กล่าวว่า หากพิจารณาการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั่วโลก จะเห็นชัดว่า ยังขาดมิติการลงทุนด้านส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรค แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ยังไม่สามารถจัดสรรงบประมาณลงไปในด้านหลักส่งเสริมสุขภาพได้ดีพอ และเมื่อไม่ได้ลงทุนในส่วนนี้ ก็ทำให้งบประมาณที่ใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง อย่างเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ หรือมะเร็ง พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

“ปัญหาก็คือ ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่า หากลงทุนในระบบส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรคมากขึ้น จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากขนาดไหน และจะลดจำนวนการตายได้เท่าไหร่ เพราะฝั่งส่งเสริมสุขภาพ เป็นเรื่องของการป้องกันระยะยาว อาจยังไม่เห็นผลชัดในเวลารวดเร็ว ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ควรจัดสรรงบประมาณใหม่ มุ่งเน้นไปตั้งแต่การวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และเพิ่มสัดส่วนงบประมาณ ให้ความสำคัญผ่านระบบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ให้ไม่น้อยไปกว่าการรักษา”Ž เอริกา ระบุ

ขณะที่ ออน ควอท ผู้อำนวยการสำนักงานองค์กรด้านเอดส์แห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Council of AIDS Service Organizations) กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็คือ เจตจำนงทางการเมืองจากผู้นำแต่ละประเทศ ยังไม่หนักแน่นพอ

แม้ในรายงานของสหประชาชาติ เรื่อง สุขภาพŽ จะเป็นเรื่องใหญ่ ที่มากกว่า 97% ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่มีเพียง 20% เท่านั้น ที่รายงานว่าตัวเอง มีความคืบหน้าในการดำเนินงานด้าน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าŽ และมีเพียง 5% เท่านั้น ที่ระบุว่า ประเทศตัวเองเดินหน้าจนบรรลุตัวชี้วัดด้านการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ


อย่างไรก็ตาม ในความมืดมน เราได้เห็นประเทศอย่างไทย หรือญี่ปุ่น ที่ช่วยผลักดันให้เกิดปฏิญญาการเมืองด้านระบบสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเร่งให้ทั่วโลกสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของตัวเองให้เร็วที่สุด แต่สิ่งที่ต้องเรียกร้องก็คือ สหประชาชาติ อาจต้องหากลไกที่เชื่อมประสานแต่ละประเทศมากกว่านี้ เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เกิดขึ้นได้จริงทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้าŽ

แอนน์ มิลล์ ศาสตราจารย์ด้านนโยบายและเศรษฐศาสตร์สุขภาพ และรองผู้อำนวยการวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า ทุกเวทีของการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เห็นตรงกันก็คือ แต่ละประเทศต้อง ออกแรงŽ มากขึ้น ในการลดจำนวนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ประชาชนจ่ายออกจากกระเป๋าเอง (Out of Pocket payment) ซึ่งยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จาก 9.4% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด ในปี 2543 เป็น 12.7% ในปี 2560 ให้นำไปสู่การจัดการโดยรัฐ อย่างเป็นระบบมากขึ้น

นอกจากนี้ แอนน์ยังสรุปว่า ทุกประเทศเห็นตรงกันว่า ควรดึงภาคเอกชน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ได้ โดยอาจเป็นไปในรูปของ การลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐ-เอกชน หรือ Public-Private Partnership หรือ PPPs อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อควรระวัง โดยการลงทุนแบบนี้ ควรเป็นไปภายใต้รัฐบาล ที่มีความเข้มแข็งเท่านั้น และต้องมีระบบกฎหมายที่แข็งแรง รวมถึงมีระบบธรรมาภิบาลที่ดี มิเช่นนั้น จะเป็นไปไดสูงที่รัฐ จะถูกเอกชนเอาเปรียบ

ขณะเดียวกัน แอนน์ยังเห็นด้วยกับการนำ ภาษีบาปŽ จากเหล้า บุหรี่ มาช่วยเป็นส่วนเสริมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเชื่อว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และจะสามารถเพิ่มงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้

ส่วนการ ร่วมจ่ายŽ ที่หลายประเทศ เห็นว่าจำเป็นต้องสร้างระบบนี้มากขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืน และตอบโจทย์เรื่อง สังคมผู้สูงอายุŽ นั้น แอนน์ สรุปว่า ควรจะต้องเป็น อัตราคงที่Ž หรืออาจเป็นการร่วมจ่ายรายปี โดยมีข้อยกเว้น สำหรับกลุ่มคนยากจน และควรหลีกเลี่ยงการร่วมจ่ายโดยคิดเป็น เปอร์เซ็นต์Ž จากบิลค่ารักษา
ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะเป็นคำตอบให้กับปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่ซับซ้อนขึ้น มีปัญหามากขึ้นทั่วโลก และจะเป็นเกราะกำบังคนยากจน ไม่ให้ต้องตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ทรมาน ในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล

เพียงแต่ในรายละเอียด ยังมีเรื่องให้ขบคิดอีกมาก และเป้าหมายที่วางไว้ให้เกิดขึ้นได้จริงทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจไม่ได้มาง่ายๆ…

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image