ร่วมด้วย ช่วยสิ่งแวดล้อม รถเข็นรักษ์โลก ทางใหม่ คนขายอาหารริมทาง

ร่วมด้วย ช่วยสิ่งแวดล้อม รถเข็นรักษ์โลก ทางใหม่ คนขายอาหารริมทาง

หากพูดถึงเอกลักษณ์ของประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่ผู้คนมักหลงใหลและกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของ อาหารŽ จะสังเกตได้ว่าเราสามารถพบเห็นร้านค้าต่างๆ กระจายอยู่ทุกพื้นที่ แม้กระทั่งริมทางที่รถสัญจรไปมา ซึ่งอาหารริมทาง หรือที่รู้จักกันดีว่า สตรีทฟู้ดŽ ถือเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน ไม่เพียงแต่หาทานได้ง่ายและมีรสชาติที่ถูกปากแค่คนไทยเท่านั้น

แต่ยังรวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ จนกระทั่งนิตยสารธุรกิจระดับโลกอย่าง Forbes ยังเคยลงคอลัมน์เกี่ยวกับ The Worldžs Top 10 Cities For Street Food หรือ 10 เมือง ที่มีอาหารริมทางที่ดีที่สุด และยกให้กรุงเทพมหานครของประเทศไทยเป็นอันดับ 1 อีกด้วย แต่ภายใต้เสน่ห์ที่ว่านี้ชีวิตของคนขายอาหารริมทางกลับไม่ได้สวยหรูตามชื่อเสียงที่ได้รับ เพราะมีเงินทุนเริ่มต้นน้อย หากจะต้องซื้อหรือเช่าพื้นที่ตามอาคาร หรือศูนย์การค้าคงทำได้ยาก ดังนั้นชีวิตของคนขายอาหารริมทางจึงต้องหา หนทางŽ

Advertisement

เมื่อเป็นธุรกิจของคนต้นทุนน้อย การคาดหวังความสะดวกสบายในบั้นปลายชีวิต จึงเป็นไปได้ยาก เพราะรายได้คือการทำงานแลกแบบวันต่อวัน หากวันไหนหยุดพักรายได้ของวันนั้นก็จะไม่ได้รับด้วยเช่นกัน คนขายอาหารริมทางจึงต้องทำงานหนักทุกวัน บางรายใช้วิธีหาลูกจ้างมาช่วยงานเพื่อให้ตนเองได้พัก แต่ผลที่ได้กลับทำให้รสชาติผิดเพี้ยนไปจากเดิมจนทำให้เสียลูกค้าและส่งผลถึงรายได้ที่น้อยลงไปอีก บวกกับการต้องขายอยู่ริมทาง ดังนั้นสิ่งที่ต้องต่อสู้ด้วยมากที่สุด คือเสียงวิจารณ์ในเรื่องของความสะอาด และสุขลักษณะของผู้ขาย รวมไปถึงปัญหากลิ่นควัน ยิ่งทำให้ฝันที่จะสุขสบายลืมตาอ้าปากได้นั้นเป็นจริงได้ยากยิ่งขึ้น

แต่ในปี 2563 ฝันของคนขายอาหารริมทางที่อยากจะสุขสบายนั้นกำลังจะเป็นจริง เมื่อมีนวัตกรรมที่เป็นผลงานของนักวิจัยไทยที่ได้ร่วมมือกันคิดค้นรถเข็นสำหรับคนขายอาหารริมทางในชื่อ รถเข็นรักษ์โลกŽ

           

Advertisement

คำถามคือรถเข็นคันนี้จะช่วยให้คนขายอาหารริมทางมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า  ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาใช้ โดยนวัตกรรมที่นำมาตั้งต้นได้แก่ ระบบดูดควันและบำบัดก่อนปล่อยควันที่ไม่เป็นมลพิษกลับคืนสู่อากาศ อีกทั้งยังมีระบบน้ำทิ้ง ที่มีชุดถังดักไขมันด้านในของรถเข็น มีระบบน้ำดี สำหรับสำรองน้ำ เพื่อใช้ล้างกระทะและซิงก์ และในอนาคตจะมีการพัฒนาในส่วนของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาติดตั้ง เพื่อใช้ในระบบการเตรียมการปรุงของอาหาร และอุปกรณ์ทำความเย็น ช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังช่วยควบคุมคุณภาพอาหาร ลดของเสีย และลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าจะได้ประโยชน์ตรงนี้

”ลองคิดดูว่าพ่อค้าแม่ค้า ขายตลอด 7 วัน ไม่เคยได้พักเลยอาจจะมีเหนื่อยล้า เพลีย ถ้าเราสามารถทำให้ธุรกิจของเขาสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ เขาจะได้มีโอกาสได้พักผ่อน คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีคนทำได้โดยไม่ต้องปิดร้าน จุดนี้คือ ต้องนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมเข้าไปช่วยในการออกแบบ เพื่อให้อาหารมีความสม่ำเสมอ ทำกี่ครั้งก็ได้รสชาติดังเดิม สามารถขยายร้านค้าและขยายสาขาได้”Ž นายณรงค์กล่าว

หลายคนอาจตั้งคำถามว่า รถเข็นที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ในส่วนของราคาก็คงจะสูงตามฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่รถเข็นนี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนส่วนหนึ่งสำหรับ 100 ท่านแรก โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 20,000 บาท และเพิ่มขึ้นตามฟังก์ชั่นการใช้งาน สำหรับผู้ที่ยังมีทุนไม่เพียงพอ ธนาคารออมสิน เข้ามาช่วยเหลือในส่วนของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ขณะนี้มีผู้ที่สนใจสั่งจองแล้ว กว่า 70 ราย จะปิดรับสมัครในวันที่ 3 เมษายน 2563 ที่จะถึงนี้

สำหรับผู้ที่สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สวทช. โทรศัพท์ 0-2564-8000, 0-2564-6310-11 หรือ www.decc.or.th/streetfood/

 

สตรีทฟู้ด

สตรีทฟู้ด เป็นแหล่งขายอาหารที่นิยมอย่างแพร่หลาย ที่พึ่งพาของคนไทยตั้งแต่มื้อเช้า ถึงมื้อค่ำ  มีทั้งเครื่องดื่ม ขนม จากอดีตถึงปัจจุบันสตรีทฟู้ดเป็นจุดขายที่โดดเด่นของประเทศ เมื่อปี 2559-2560 สำนักข่าว CNN ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับให้กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นเมืองที่มีอาหารริมทาง (Street Food) ที่ดีที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก สตรีทฟู้ดตอบโจทย์ผู้บริโภคในเรื่องของ ความสะดวก ประหยัด หาได้ง่าย จนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนเมือง

จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภค 76% ซื้ออาหารสตรีทฟู้ดบริโภคเป็นประจำ โดย สตรีทฟู้ดเป็นไฮไลต์ด้านวัฒนธรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวประเทศไทย ให้มาลิ้มลองอาหารไทยที่มีความหลากหลาย โดดเด่นทั้งในเรื่องของรสชาติ ที่เป็นแบบดั้งเดิม อร่อยแบบไทยๆ รวมไปถึงการที่ได้เห็นทักษะ ลีลา และเทคนิคที่ใช้ในการประกอบอาหาร ที่นักท่องเที่ยวไม่เคยพบเห็นมาก่อน

ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) สวทช. ได้พัฒนานวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกในเวอร์ชั่นที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำเร็จแล้วในวันนี้ และยังมีเป้าหมายส่งมอบนวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลก จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คัน ให้กับผู้ประกอบการสตรีทฟู้ดได้ใช้งานจริงในการประกอบกิจการ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม โดยวางรูปแบบการพัฒนาแบ่งเป็น 4 โมเดลหลักเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบการสตรีทฟู้ด ดังนี้

1) รถเข็นน้ำหนักเบาพร้อมระบบน้ำดี, ถังบำบัดและซิงก์น้ำ

2) รถเข็นน้ำหนักเบาพร้อมระบบน้ำดี, ถังบำบัดและซิงก์น้ำ+ระบบดูดควัน

3) รถเข็นน้ำหนักเบาพร้อมระบบน้ำดี, ถังบำบัดและซิงก์น้ำ+ระบบดูดควัน+หัวเตาแก๊ส 2 หัว

4) ระบบตู้เก็บความเย็นพร้อมแท่นรับพ่วงข้าง

ซึ่งภายใต้โครงการนี้ สวทช.จะทำให้ราคาเป้าหมายของรถเข็นนวัตกรรรมรักษ์โลก เป็นราคาที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าสตรีทฟู้ดควบคุมต้นทุนและคุณภาพได้ และลูกค้าเองได้ประโยชน์ ได้ดูแลสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลกนี้ จะช่วยลดปริมาณการปล่อยชองเสียและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย

โครงการนี้ ธนาคารออมสินจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกอบการ โดยมีงบประมาณสนับสนุนส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้ประกอบการได้ใช้รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลกนี้ ในราคาเพียง 20,000 บาท และยังมีแคมเปญเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นแคมเปญพิเศษที่จัดขึ้นเพื่อผู้ประกอบการภายในโครงการนี้เท่านั้น จำกัดเพียง 100 รายแรก จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการพ่อค้าแม่ค้าเข้ารับเอกสิทธิ์ดังกล่าวโดยสมัครเข้าร่วมโครงการ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image