กรมอุทยานฯ เช็กลิสต์ม้าลาย-สัตว์แอฟริกาทั่วประเทศ ร่วมปศุสัตว์เก็บสารคัดหลั่งตรวจสอบต้นตอโรคกาฬโรคแอฟริกา

กรมอุทยานฯ เช็กลิสต์ม้าลาย-สัตว์แอฟริกาทั่วประเทศ ร่วมปศุสัตว์เก็บสารคัดหลั่งตรวจสอบต้นตอโรคกาฬโรคแอฟริกา

เมื่อวันที่ 4 เมษายน นายสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการ กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา (ไซเตส) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวการล้มตายของม้าอย่างเฉียบพลันเป็นจำนวนมากในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีการสันนิษฐานว่าที่มาของโรคมาจากม้าลายหรือสัตว์ป่าที่นำเข้าจากทวีปแอฟริกานั้น ที่ผ่านกรมอุทยานฯ ได้มีการทำงานร่วมกับกรมปศุสัตว์และมีการสำรวจสวนสัตว์หรือสถานที่เพาะเลี้ยงต่างๆ ที่มีการนำเข้าสัตว์ป่าจากแอฟริกาในพื้นที่ต่างทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ปากช่อง และมีการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากสารคัดหลั่งจากสัตว์โดยเฉพาะม้าลายมาตรวจสอบ โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการ

นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามกรณีที่ระบุว่าม้าลายเป็นตัวแพร่เชื้อนั้น ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เพราะม้าลายที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้มีอาการป่วย อีกทั้งม้าลายที่นำเข้ามาในประเทศล็อตสุดท้ายนั้นก็เข้ามาหลายปีแล้ว จึงยังฟันธงไม่ได้ว่าเป็นม้าลายแพร่เชื้อหรือไม่ ทั้งนี้ที่ผ่านมาการนำเข้าสัตว์ป่าจากแอฟริกาต้องได้รับอนุญาตจากทั้งกรมอุทยานฯ และกรมปศุสัตว์ และมีการกักกันโรคทั้งจากประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นปัญหาคือม้าลายที่นำเข้า ไม่ได้มีตัวเลือกให้ระบุว่าเป็นม้าลาย แต่ระบุว่าเป็นม้าธรรมดา จึงทำให้มีปัญหาในการติดตาม ทั้งนี้ในส่วนของม้าแข่งที่มีการตายลงนั้น ก็มีการนำไปแข่งหลายพื้นที่ทั้งในและนอกประเทศ การสืบหาสาเหตุต้นตอของจึงต้องทำโดยละเอียดต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และกรมอุทยานฯ ได้เข้าตรวจสอบและเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากม้ลายและสัตว์ต่างถิ่น ในสวนสัตว์โบนันซ่า อ.ปากช่อง ซึ่งเป็นสถานที่หนึ่งที่ถูกระบุว่ามีสัตว์ป่าจากแอฟริกามาตรวจสอบ อย่างไรก็ตามสัตว์ในสวนสัตว์โบนันซ่าโดยเฉพาะม้าลายนั้นนำเข้ามาหลายปีแล้ว และบางส่วนเป็นลูกม้าลายที่เกิดในประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการรอผล อย่างไรก็ตามม้าลายเหล่านี้ไม่แสดงอาการป่วย ขณะที่สนามกอล์ฟ แรนโชว์ ชาญวีร์ ของนายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุขนั้น ไม่มีการเพาะเลี้ยงม้าลายหรือสัตว์ป่าจากแอฟริกาแต่อย่างใด ขณะที่การนำเข้าสัตว์จากแอฟริกาล็อตล่าสุด คือกรณีของสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ ที่มีการเคลื่อนย้ายยีราฟจาก จ.ปราจีนบุรี และยีราฟหลุดหนีระหว่างเคลื่อนย้ายจนตายลงนั้น ซึ่งเหตุการณ์เกิดบนถนนสาย 304 ซึ่งห่างจากอ.ปากช่อง จึงไม่น่าจะเชื่อมโยงกันได้

แฟ้มภาพ มติชน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image