“หมอธีระวัฒน์”โพสต์รายงานการใช้ยารักษาผู้ป่วยโควิด19 ทั่วโลก บางอย่างได้ผล บางอย่างไม่ได้ผล

“หมอธีระวัฒน์” โพสต์รายงานการใช้ยารักษาผู้ป่วย “โควิด19” ทั่วโลก บางอย่างได้ผล บางอย่างไม่ได้ผล

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว รายงานความคืบหน้าในการใช้ยาชนิดต่างๆ รักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 โดยเป็นการติดตามการใช้ยาของประเทศต่างๆ

ทั้งนี้ข้อความระบุว่า

“ยาอะไรจะมาใช้รักษาโคโรนาไวรัส 2019?
จากตันเดือน กุมภาพันธ์ จนมาถึง 4 พค 2563
#สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลที่สนใจ

ข้อมูลในบทความนี้ เเผยแพร่ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เรียบเรียงโดยใช้โครงจาก วารสาร Bioscience Trends 28 มกราคม และรายงานการรักษาในคนที่ติดเชื้อไวรัส RNA ชนิดต่างๆและที่มีกระบวนการในการเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายในมนุษย์แบบโควิด19

Advertisement

จนกระทั่งถึงวันนี้คือวันที่ 4 พฤษภาคม 2563
ยาที่ใช้ และเป็นยาที่เรายอมรับว่าได้ผลดีจากการใช้ในประเทศไทยเองคือ
ฟาร์วิพิราเวียร์ (ญึ่ปุ่น) หรือฟาร์วิราเวียร์ (จีน)
ส่วนยาที่ใช้ในโรคเอดศ์ ดูจะไม่ได้ผล (protease inhibitor) (วารสาร นิวอิงแลนด์) ดีนัก ทั้งในการทำให้ปอดอักเสบดีขึ้นในเวลาอันรวดเร็วและจำนวนไวรัสที่ลดลงจนกระทั่งหายไปและกลไกในการต้านการอักเสบ
ยาที่ใช้ในไข้หวัดใหญ่ oseltamivir หรือ tamiflu และ ribavirin แม้กระท้่ง interferon ถูกลดน้ำหนักความสำคัญไปเช่นกัน จากเหตุผลดังข้างต้น

ยา ไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) เป็นยาเบื้องต้นเนื่องจากสามารถใช้เพื่อการลดภาวะอักเสบเกินควร และมีหลักฐานว่าโอนให้จำนวนไวรัสลดลง
ปริมาณขนาดของยาที่ใช้ในประเทศไทยจัดว่าต่ำกว่าที่ใช้ในต่างประเทศมาก ขนาดใน ต่างประเทศทำให้เกิดมีรายงานของผลข้างเคียงได้หลายระบบและที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเต้นผิดปกติ และโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอดส์ แลเยาปฏิชีวนะ azithromycin โดยที่ ที่มาของการใช้ในโควิด-19 ดูไม่ชัดเจนนัก
(ข้อมูลของเรื่องยาต่างๆนั้นในประเทศจีนเองมีการใช้เป็นเอกเทศในหลายโรงพยาบาล และประสบการณ์ต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากในผู้ป่วยมหาศาลในระยะแรกและไม่ทราบว่าจะใช้ยาอะไรดี)

ยาโมโนโคลนัล แอนติบอดีย์ ในการกดภูมิคุ้มกันในระดับต่างๆตั้งแต่ IL 6 IL 17 IL 23 IL 1 beta และ TNF alpha เป็นต้น แม้ว่าจะกดการอักเสบได้ชงัด แต่มีข้อกังวลในเรื่องการกดภูมิคุ้มกันมากเกินไป และอาจจะส่งผลทำให้มีการปลดปล่อยไวรัสออกมานานขึ้นแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว และกลับเพิ่มจำนวนของไวรัสมากเข้าไปอีกถ้าไม่มียาต้านไวรัสที่ดีพอ

Advertisement

ส่วนยา เรมเดซีเวียร์ remdesiviet ของ Gilead สหรัฐ รายงานจากประเทศจีน ในวารสาร lancet 29 เมษายน 2563 ในผู้ป่วยวิกฤติแม้ว่า จำนวนในการศึกษาจะไม่ทะลุถึงเป้าเท่าที่ต้องการให้สามารถตัดสินได้ด้วยกระบวนการทางวิจัยและสถิติก็ตาม
แต่จำนวนผู้เสียชีวิตดูไม่ต่างกันกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา (แม้ว่าในการศึกษากลุ่มที่ใหญ่ขึ้นพบว่าอาการจะดีขึ้นเร็วกว่าไม่ใช้สี่วัน)
ทั้งนี้รายงานจากประเทศจีนมี จำนวน 236 ราย (โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะศึกษา 453 คน)
22 (14%) รายจาก 158 รายที่ใช้ remdesivir เสียชีวิต ในขณะที่ มี 10 ราย (13%) จาก 78 รายตาย ในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image