สวทช. เดินหน้ายกระดับผลงานการออกแบบและวิศวกรรม โชว์ผลงานผลักดันสตรีทฟู้ด นำร่อง “รถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3”

สวทช. เดินหน้ายกระดับผลงานการออกแบบและวิศวกรรม โชว์ผลงานผลักดันสตรีทฟู้ด นำร่อง “รถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3”

นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า”จากอดีตถึงปัจจุบันสวทช.ดำเนินการตามพันธกิจด้านการเตรียมพร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการ
พัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ ที่เรียกกันสั้นๆว่า NQI (National Quality Infrastructure) ซึ่งปัจจุบัน สวทช.มีทรัพยากรด้าน NQI ขนาดใหญ่ ครอบคลุมหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์มีศักยภาพด้านการทดสอบ สอบเทียบ ตรวจสอบ รับรองผลิตภัณฑ์ในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงมีระบบคุณภาพการปฏิบัติงานทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบ รับรอง ในระดับสากลISO/IEC17025 ,ISO/IEC17020, ISO/IEC17065 ซึ่งได้รับการยอมรับและทำงานร่วมกับหน่วยงานควบคุมภาครัฐ เช่น สมอ. อย. กสทช. พพ. สนข. หน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ ตลอดจนมีประสิทธิภาพและความสามารถในการออกแบบวิศวกรรม ,การสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนา application ทางด้าน simulation , AI และ Big Data และความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุอาหาร โลหะ ฯลฯเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลักตามเป้าหมายของประเทศอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

 

สำหรับการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา Pain points และตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ Street food แบบตรงเป้านั้น สวทช.เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญในเรื่องนี้เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดกับผู้ประกอบอาหารริมทาง
และผู้บริโภคโดยตรงที่จะได้จำหน่ายและบริโภคอาหารที่นอกจากเรื่องความอร่อยแล้วยังมีคุณภาพปลอดภัยและลดการปลดปล่อยของเสียเข้าสู่สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนี้ยังเล็งเห็นว่าธุรกิจ Street food ยังเชื่อมโยงกับValue chain ทางธุรกิจอื่นๆอีกมาก อาทิผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรถเข็น อุปกรณ์ที่ใช้ในรถเข็น และหรือ Food truck และอื่นๆ รวมถึงการใช้วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์อาหารจากโรงงานแปรรูป
ประเภทต่างๆ ทั้งเครื่องปรุงรส เครื่องเทศ ส่วนผสมอาหาร เป็นต้น และยังมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจำพวกบรรจุภัณฑ์ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของ street food โดยตรงอีกด้วย
ทั้งนี้สวทช. โดยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมหรือเรียกสั้นๆว่า DECC นำความรู้ทางด้านวิศวกรรมและการออกแบบเข้ามาช่วย Matching ความต้องการที่แท้จริงของ Street food เพราะการตอบโจทย์
หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้านับวันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตัดสินใจว่าจะซื้อ/ไม่ซื้อ ใช้/ไม่ใช้โดยนอกเหนือจากการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแล้วยังมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการและกระตุ้นให้เกิดการขยายงานใช้จริงในวงกว้างต่อไปด้วย

Advertisement

ในส่วนของคุณสมบัติรถเข็นรักษ์โลกสำหรับ Street food ในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้ดร.อัมพร โพธิ์ใย ผู้อำนวยการศูนย์บริการศึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า เป็นการต่อยอดจาก รถเข็นเวอร์ชั่นแรก ที่ผู้ประกอบการกะเพราซาวห้า ได้รับการสนับสนุนจากDECC สวทช. ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมรถกะเพราซาวห้า โดยมีโจทย์ที่ท้าทายคือ ต้องสามารถลดน้ำหนักรถเข็นให้มีน้ำหนักเบาที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพการดูดควันให้สามารถใช้งานในพื้นที่ปิดได้รวมทั้งปรับปรุงระบบบำบัดน้ำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและในวันนี้DECC สวทช. ได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู้ดที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำเร็จ
แล้วในวันนี้โดยการพัฒนาในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้เป็นรถเข็นน้ำหนักเบาพร้อมระบบน้ำดี, ถังบำบัดและซิงค์น้ำ+ ระบบดูดควัน + หัวเตาแก๊ส 2 หัว โดยคุณสมบัติที่สำคัญของรถ มีรายละเอียดดังนี้

  • ระบบน้ำทิ้งและน้ำดีโดยมีชุดถังดักไขมันด้านในของรถเข็นจากระบบน้ำทิ้ง และสำรองน้ำดีเพื่อใช้
    ล้างกระทะและซิงค์
  • ระบดูดและบำบัดควัน เพื่อทำการดูดควันจากการใช้เตาแก๊สและบำบัดควัน ก่อนปล่อยควันที่ไม่เป็น
    มลพิษคืนสู่อากาศ
  • ระบบสำรองไฟส่องสว่างแบบ LED ช่วยลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า ระบบต่างๆ เช่น ระบบดูดควัน
    และระบบสำรองน้ำ
  • สามารถถอดประกอบได้เพื่อบำรุงรักษาได้ทุกชิ้นส่วนของระบบทั้งหมด ชุดหลังคาสามารถถอดแยกส่วนจากตัวรถได้

คุณพงษ์ศรชัย สมิตะสิริเจ้าของร้าน กล่าวว่า “หลังจากประสบความสำเร็จในการทำร้านอาหารไทยสไตล์โฮมเมดรสจัดจ้านแนวอาหารใต้มานานกว่า 13 ปีจนสามารถขยายสาขาไปกว่า 5 สาขา ได้แก่ สาขาสุรวงศ์, ทอง
หล่อ, ราชครู, ประสานมิตร และศูนย์วิจัย ก็มีความสนใจที่จะต่อยอดธุรกิจอาหารที่สามารถใช้กับรถเข็นสตรีทฟู้ดจึงได้สร้างแบรนด์ข้าวแกงพ่อมหา ข้าวแกงที่มีรสชาติจัดจ้านในสไตล์ร้านคั่วกลิ้ง ผักสด ที่มีราคาเริ่มต้นเพียง 40 บาท โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่ร้านคั่วกลิ้ง ผักสด สาขาศูนย์วิจัย หลังจากที่ได้เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีอย่างมาก ทำให้ตอนนี้สั่งจองรถเข็นเพิ่มอีกจำนวน 1 คัน สำหรับรถเข็นที่ทางร้านเลือกใช้นั้น เป็นรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 ซึ่งตอบโจทย์กับทางร้านเป็นอย่างมาก เนื่องจากร้านข้าวแกงพ่อมหาเปิดขายในเมือง ที่มีคนพลุกพล่าน จึงต้องใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยทั้งในเรื่องของกลิ่นอาหาร และระบบน้ำดีระบบบำบัดน้ำ อีกทั้งรถเข็นยังมีน้ำหนักเบาจึงสามารถเคลื่อนได้อย่างสะดวก ประกอบกับการออกแบบที่ลงตัวทำให้ทางร้านใช้งานได้ง่าย เหมาะกับช่วงเวลาเร่งด่วนของคนเมืองได้เป็นอย่างดี”

Advertisement

หลังจากการใช้งานรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 คันแรกนั้น ต่อมาทางร้านคั่วกลิ้งผักสดจึงได้ทำการสั่งจองรถเข็นรักษ์โลกเพิ่มเติมอีก 1 คัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรถมาต่อกิจการสำหรับการขายอาหารประเภทข้าวแกง
โดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ข้าวแกงพ่อมหา” โดยให้DECC สวทช.ได้มีการปรับรูปแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้เหมาะสำหรับการจำหน่ายข้าวแกงโดยเฉพาะ ได้แก่การเพิ่มช่องใส่อาหารจำนวน 10 ช่อง พร้อมระบบอุ่นอาหาร
ตัดซิงค์ด้านข้างออก ปรับขนาดเครื่องดูดควันให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย

คุณพงษ์ศรชัย ฯ ได้กล่าวต่อ นวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกนี้ถือได้ว่า เป็นการปฏิวัติสตรีทฟู้ดแบบใหม่ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยังตอบโจทย์ยุค New Normal ที่สะอาด สะดวก ปลอดภัย ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้าง
ภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศ กระตุ้นภาคธุรกิจในเรื่องการสร้างอาชีพ ช่วยกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สนใจประกอบการได้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สามารถสั่งจอง ผ่านทางออนไลน์หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือ www.decc.or.th/streetfood

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image