ที่ไหนก็ปลูก (ผัก) ได้ เริ่มจากสวนในมือคุณ

ผ่านมา 1 ปี กับวิกฤตการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 บทพิสูจน์ให้ทั่วโลกเห็นแล้วว่า เมื่อยามวิกฤตมาเยือน สิ่งที่มนุษย์จะต้องมีความมั่นคงที่สุด ไม่ใช่ เงินทองŽ แต่กลับเป็น แหล่งอาหารŽ ในวันที่ทุกคนถูกจำกัดการเดินทาง แม้กระทั่งออกไปตลาดสด แต่กลุ่มที่เดือดร้อนน้อยที่สุด คือ ผู้ที่มีความมั่นคงทางอาหารŽ

เทศกาลสวนผักคนเมืองŽ ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ เมือง Move on ไม่ทิ้งความมั่นคงทางอาหารไว้ข้างหลังŽ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เนรมิตสวนคนเมืองเป็นเวทีเสวนาที่เหมือนได้ปฏิบัติจริงเรียนรู้การปลูกผักง่ายๆ ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนก็ปลูกได้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตอาหารของเมือง เชื่อมโยงการกระจายอาหารด้วยตลาดทางเลือกในเมือง และกระตุ้นให้คนไทยกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น

Advertisement

ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิรสระ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยสูงถึงร้อยละ 70 แต่จากผลการสำรวจข้อมูลที่ผ่านมาพบว่ามีคนไทยเพียง 4 ใน 10 คนเท่านั้น ที่ได้กินผักผลไม้ในปริมาณเพียงพอ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากอุปสรรคด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ เช่น ร้านสะดวกซื้อที่เน้นขายอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารแปรรูปที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง ร้านอาหารจานด่วนที่มีผักผลไม้เป็นส่วนประกอบน้อย เป็นต้น

“สวนผักคนเมืองกับ สสส. ทำงานด้วยกันมานาน เพราะว่าสวนผักคนเมือง เป็นภาคีที่สนับสนุนให้การรณรงค์กระตุ้นคนไทยหันมาบริโภคผักมากขึ้นได้บรรลุวัตถุประสงค์ใน 2 ตัวชี้วัดสำคัญตามแผนอาหารก็คือ เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทย เนื่องจากองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าคนควรบริโภคผักและผลไม้ไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน แต่ขณะนี้มีคนไทยเพียงร้อยละ 50 ที่สามารถทำได้ ฉะนั้นไม่เพียงแต่การรณรงค์เพิ่มการบริโภค แต่ต้องรณรงค์เรื่องของการปลูก เพื่อให้คนไทยได้รับอาหารปลอดภัย และบริโภคผักเพิ่มขึ้น”Ž ทพญ.จันทนา กล่าว

Advertisement

ทพญ.จันทนา กล่าวว่า ในช่วงโควิด-19 เป็นโอกาสภายใต้วิกฤต จะเห็นว่าเกิดการขาดแคลนอาหาร ซึ่งการขนส่งอาหารไม่สะดวก คนในเขตเมืองหรือคนรายได้น้อยเข้าไม่ถึงแหล่งอาหาร จังหวะนี้จึงเหมาะสมให้สวนผักคนเมืองเข้ามาช่วยเติมเต็ม โดยเริ่มจากการให้แต่ละบ้านลุกขึ้นมาปลูกผัก

“ช่วงปิดเมือง ทำให้คนต้องอยู่บ้าน เป็นจังหวะเดียวกันที่ สสส.รณรงค์เรื่องการปลูกผักในบ้าน จึงเกิดความตื่นตัว การที่คนได้ลงมือปลูกจะเกิดประสบการณ์ตรง แต่ทำให้เขารักผักผลไม้ เราเห็นว่าจำเป็นมากที่ต้องมีพื้นที่ในเมือง เพื่อเป็นแหล่งอาหาร ที่เมื่อก่อนการปลูกผักถูกจำกัดไว้แค่เพียงในชนบท แต่ในความจริงสังคมทั่วโลกเริ่มมองเห็นความสำคัญว่า พื้นที่ในเมืองจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลิตอาหาร โดยเป็นทิศทางของสวนผักคนเมืองในระยะถัดไปŽ” ทพญ.จันทนา กล่าวและว่า ในปี 2564 สหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการบริโภคผักและผลไม้ ดังนั้น สวนผักคนเมืองจึงเป็นรากฐานหลักที่สำคัญให้กับคนไทย

ด้าน นางสุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) กล่าวถึงโครงการสวนผักคนเมือง ว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ตระหนักถึงปัญหาคนเมืองด้านอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงพยายามยกระดับการพึ่งตนเอง เริ่มจากปรับชุดความคิดคนเมือง ให้รู้จักปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมี ทำให้ทุกคนมีส่วนแสดงความคิดเห็นพัฒนาระบบอาหารยั่งยืนควบคู่กับวิถีชีวิตที่เกื้อกูลธรรมชาติ ผ่านกลไกการตลาดที่เชื่อมโยงสู่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม วิกฤตในช่วงเวลา 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ปี 2554 วิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็กพีเอ็ม 2.5 และล่าสุดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิตของคนเมือง ความท้าทายนี้จะยังคงเป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบและไม่มีทางออก แต่เมื่อเริ่มปลูกผัก คนเมืองจะได้สัมผัสคุณค่าของพื้นดิน ทำให้เข้าใจวิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ เราจึงเรียนรู้ว่า การ ปลูกเมืองŽ คือ การ ปลูกชีวิตŽ




“การทำเกษตรแบบนี้ หลักการคือ จะทำอย่างไรให้ระบบเกษตรเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ได้ผลผลิต พร้อมทั้งสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ทำให้เกิดสังคมที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ ชาวบ้านที่เข้ามาเรียนรู้ก็ได้รับความรู้ เช่น การเก็บพันธุกรรมพืช ผลไม้ หรือข้าว ระบบผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี การรักษาเพื่อให้เป็นฐานอาหารไปจนถึงการแปรรูป ปีนี้เราเจอโควิด-19 ทำให้เรารู้ว่าการปลูกผักในเมืองเป็นฐานอาหารได้ และยังเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้ด้วย ตอนนี้เรามีฐานความรู้ชุดนี้แล้ว สิ่งที่เราอยากได้ก็คือทิศทางการพัฒนาเมืองว่าอนาคตควรจะมีเรื่องราวเหล่านี้อยู่ด้วย เราจะทำอย่างไรให้เรามีพื้นที่ในเมืองที่กินได้ ประชาชนจะเข้าไปใช้ประโยชน์ได้Ž” นางสุภา กล่าว

เป้าหมายต่อไปของมูลนิธิ นางสุภา กล่าวว่า นโยบายของเมืองควรส่งเสริมให้กลุ่มชุมชนผลิตอาหารเองได้ และต้องมีความรู้ในการผลิตอาหารในเมืองมากขึ้น อาจจะมีการเปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาสร้างเศรษฐกิจจากการปลูกผักของตนเอง ซึ่งเป็นการร่วมกันสร้างความมั่นคงให้เมือง ผลดีที่เห็นได้ชัดคือ 1.ประชาชนมีความมั่นคงทางด้านอาหาร 2.มีพื้นที่อาหารเพิ่มมากขึ้น เป็นหลักประกันทั้งยามปกติและยามวิกฤต และ 3.เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง ลดการสร้างมลภาวะทางอากาศ ทั้งนี้เราเริ่มจากจุดเล็กๆ เพียงไม่กี่ตารางเมตรของการปลูกผัก ขยายตัวไปในพื้นที่สาธารณะ ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งหากทำเรื่องนี้ได้ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพชีวิตคนไทย

ผศ.สักรินทร์ แซ่ภู่ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่ต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างระบบอาหารยั่งยืน คือ ทำให้พื้นที่ชุมชนแออัดไม่ถูกมองในแง่ลบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการสวนแบ่งปันŽ ที่ใช้วิกฤตโควิด-19 ปรับพื้นที่รกร้างหรือพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่ปลูกผัก สวนแห่งนี้ไม่ได้มองแค่เรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่ต้องการเปลี่ยนชุดความคิดว่าชุมชนแออัดเป็นพื้นที่สร้างอาหารปลอดภัย ควบคู่ความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานการเกื้อกูลกันได้ โดยใช้ ผักŽ เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนในชุมชนหันมาช่วยกันดูแล ควบคู่กับการมีผังเมืองที่ทำให้เห็นความสำคัญของพื้นที่อาหาร ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว



 

การสร้างแหล่งอาหารจากมือคุณ ไม่ใช่เพียงความมั่นคงด้านปากท้อง แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับวิกฤต ที่เราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน แต่สิ่งที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตใดก็ตาม เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง พึ่งตนเองได้ด้วยแปลงผักหลังบ้าน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image