หมอล็อต เปิดสาเหตุ ‘เป็ดแดง’ ตายเกลื่อนทุ่งนา

หมอล็อต เปิดสาเหตุ ‘เป็ดแดง’ ตายเกลื่อนทุ่งนา

ภัทรพล มณีอ่อน หรือ หมอล็อต นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน เปิดเผยถึงสาเหตุเป็ดแดงตายเป็นจำนวนมากกลางทุ่งนาจำนวนกว่า 80 ตัวไปก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า อาจมีสาเหตุมาจากสาเคมีที่ใช้ฆ่าหญ้าของเกษตรกร

คลิกอ่าน นกเป็ดแดง อุตส่าห์ หนีหนาวจากซีกโลกเหนือ มาทิ้งชีวิตในไทย เกลื่อนทุ่งนา คาดกินสารเคมีก่อนดิ้นตาย

โดยหมอล็อต โพสต์ข้อความระบุว่า

LotterSuper: “ดีดดวงดาวกระทบชิ่งกาแล็กซี่”

Advertisement

เปิดสาเหตุเป็ดแดงสัตว์ป่าคุ้มครองตายเกลื่อนทุ่งนา…เจ้าหน้าที่เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน​ นำหลักการจัดการด้านอายุรศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าเข้ามาใช้สำหรับเหตุการณ์เป็ดแดงตายในพื้นที่เกษตรในจังหวัดลำปาง​ ​

 

Advertisement

จากการตรวจสอบเบื้องต้น รวมทั้งสอบถามผู้เช่าพื้นที่แปลงนาดังกล่าว​ คาดว่าน่าจะเป็นเรื่องสารเคมีที่ใช้ (ยาฆ่าหญ้า) ซึ่งเจ้าของแปลงนาแจ้งว่า​ ปกติจะใช้สารเคมีแบบพ่น ต่อมาทางชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงไม่สามารถทนกลิ่นเหม็นได้ จึงเปลี่ยนมาใช้แบบละลายน้ำ โดยมีการป้องกันนกมากินด้วยการเปิดไฟในเวลากลางคืน แต่แปลงที่เป็ดแดงมาตาย​ ซึ่งมีจำนวนมากถึง​ 86​ ตัว ปรากฎว่าสายไฟมาไม่ถึงแปลงดังกล่าว​ นอกจากนี้บริเวณโดยรอบยังพบนกธรรมชาติอื่นๆ ตายอีกจำนวนหนึ่ง สัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่าง ซากเป็ดแดง ดิน​ และน้ำในบริเวณเกิดเหตุเพื่อส่งตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

สำหรับซากตัวอย่างที่พบค่อนข้างเน่า เนื่องจากมีการตายตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา จากการตรวจสอบซากเป็ดแดงส่วนใหญ่ มีลักษณะการสำรอกอาหารสารคัดหลั่งออกมาทางปาก สภาพของเป็ดแดงไม่ผอมหรือมีรอยโรคเฉพาะ โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นทุ่งนา อยู่หลังหมู่บ้านจัดสรร
จากการสอบถามบุคคลในพื้นที่ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกปศุสัตว์หรือมีการป่วย ตาย แต่อย่างใด แต่อย่างใรก็ตามมีการพบเห็นเป็ดแดงในบริเวณนี้เป็นประจำ​ (เนื่องจากบริเวณนี้มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ใกล้ๆพื้นที่) ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้สารเคมีในนาข้าวแห่งนี้และมีการตายของนกบ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้ถือว่าพบเป็นจำนวนมากผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ได้มีการเก็บตัวอย่างเพื่อชันสูตรโรคต่างๆเพื่อประเมินและเฝ้าระวังควบคู่กันด้วย

หากมีการใช้สารเคมีชนิดละลายน้ำในแหล่งน้ำ ผลกระทบจะเกิดเป็นวงกว้าง ไม่ใช่แค่เพียง นก หรือเป็ดเท่านั้น สัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ รวมถึง ประชาชนที่อยู่พื้นที่เดียวกับแหล่งน้ำก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งหากพบว่าพื้นที่ใด มีการใช้สารเคมีในลักษณะนี้ แม้ผลกระทบอาจยังเกิดขึ้นชัดเจน ก็สามารถประเมินความเสี่ยงได้ จากการเก็บตัวอย่าง กุ้ง หอย ปู ปลา ในแหล่งน้ำเป็นดัชนี้ชี้วัดคุณภาพน้ำและความเสี่ยงได้

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์​ ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจรวมถึงการให้ข้อมูล​ การประชาสัมพันธ์กับเกษตรกร เรื่องวิธีการใช้ยาฆ่าแมลงที่เหมาะสม ความปลอดภัย​ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม​มีความสำคัญอย่างมาก​ เจ้าหน้าที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมมือกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้อีก​ ซึ่งต้องอาศัยหลักการจัดการด้านอายุรศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับสัตว์ป่าเข้ามาช่วย”

เป็นอีกกรณีศึกษาที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในที่อื่นๆอีก
#SurvivalTogether

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image