ส่องโลก-มองไทย แนวโน้ม ‘ตลาดกัญชง’ สิ่งทอ ยา อาหาร บ้าน ยานยนต์ แนะ ต่อยอดสิ่งที่เก่ง

ส่องโลก-มองไทย แนวโน้ม ‘ตลาดกัญชง’ สิ่งทอ ยา อาหาร บ้าน ยานยนต์ แนะ ต่อยอดสิ่งที่เก่ง

 

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 6 มีนาคม ที่ เวทีห้องสัมมนาใหญ่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ในงาน “กัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน” มีการบรรยายในหัวข้อแนวโน้ม ตลาด “กัญชง” พืชเศรษฐกิจ ความหวัง ใหม่สู่โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ท่ามกลางประชาชน เกษตรกร และหน่วยงานราชการ ร่วมฟังการบรรยายอย่างคับคั่งภายใต้มาตรการป้องกันโรคโควิด-19

ดร.สริตา ปิ่นมณี สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องคก์ารมหาชน) หรือ สว.พส. เปิดเผยว่า เรารวบรวมพันธุ์กัญชงจากพื้นที่สูง และคัดเลือกให้มีปริมาณสารเสพติด (THC) น้อย ใช้เวลา 4 ปี จาก 10 สายพันธุ์ รวมได้ 4 พันธุ์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์ RPF1, RPF2, RPF3 … ณ วันนี้สามารถใช้ประโยชน์จากเส้นใย และเมล็ด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการ คือข้อมูลพื้นฐานของกัญชงที่ไทยมีอยู่ของ สว.พส. จะมุ่งเน้นที่ต้นน้ำ ตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง ว่า ให้พิจารณาข้อดี และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป จะส่งเสริมเป็นสินค้าได้ ส่งเสริมให้เกษตรกร ชาวเขา ผลิตกัญชงเป็นเครื่องนุ่งหม มีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับมาดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย สว.พส. และ มูลนิธิโครงการหลวง เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน  มีแผนนำร่องในปี 2553 เพื่อสร้างมูลค่า สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ปลูกได้อย่างถูกต้อง โดยมุ่งใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย

Advertisement

ดร.สริตา กล่าวต่อว่า ย้อนกลับไป 15-16 ปีที่แล้ว เราเน้นเส้นใยเป็นหลัก ณ วันนั้น กฎหมายบอกว่า กัญชา กัญชง เป็นยาเสพติด ขอวิจัยได้แค่ที่ อย.เท่านั้น แต่จะทำอย่างไรให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ จากเดิมที่ชาวบ้านถูกจับ และนำมาใช้ไม่ได้ จึงเน้นศึกษาวิจัย พัฒนาพันธุ์ให้มีสารเสพติดน้อยก่อน ต่อมา คือ วิธีการปลูก ก็จะไม่มีการตีพิมพ์ออกมา แต่เป็นการศึกษาร่วมกับชาวบ้าน มีระบบควบคุมทั้งสิ้น ซึ่งในต่างประเทศก็มีเช่นกัน มีการรวบรวมแผนท้องถิ่น และ ลงปลูกในหลายพื้นที่ 5 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ตาก ที่พี่น้องม้ง ทำอยู่

“แต่ก่อนกัญชงเป็นยาเสพติด ปี 2556 ก็เริ่มหิ้วกันได้สบายใจมากขึ้น เพราะไม่มีสารเสพติดในเส้นใย กระทรวงสาธารณสุข (ศธ.) จึงประกาศยกเว้นก่อนในปี 2556 แต่จะทำอย่างไรให้ชาวบ้านปลูกได้ จึงช่วยกันพัฒนาจนเป็น กฎกระทรวงกัญชง แต่ยังใข้ได้เฉพาะหน่วยงานรัฐเท่านั้น กว่า 8 ปี ที่มีการพัฒนา ยังมีการพัฒนา ระบบการผลิต เมล็ดพันธุ์ ชุดตรวจ โดยร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกด้วย

ระยะถัดมา สว.พส. พัฒนาระบบ กลไกการปลูกที่เหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด เพราะเล็งเห็นแล้วว่า การปลูกในครัวเรือนอาจไม่เหมาะสม เพราะต้นทุนการผลิตสูง จึงเน้นปรับปรุงพันธุ์เป็นหลัก นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดเส้นทางกัญชงอย่างเหมาะสม ซึ่งพัฒนาได้หลายอย่าง ทั้งเส้นใยคุณภาพสูง ทำได้สารพัด  อาทิ เมล็ดที่มีคุณภาพสูง ใบและช่อดอก ที่มีสารสำคัญที่ไม่ใช้สารเสพติด แต่มีคุณค่าทางการแพทย์ เครื่องสำอาง และอาหาร”ดร.สริตา กล่าว

Advertisement

ดร.สริตา กล่าวว่า สำหรับ สว.พส. มีการทำงานต่อเนื่อง วางแผนระยะยาว ระยะแรกประสบความสำเร็จในการพัฒนาเส้นใยในครัวเรือน เพราะชาวบ้านขออนุญาตปลูกได้แล้ว สำหรับพี่น้องชาวม้ง ตามประเพณี ความเป็นอยู่ ต่อมาเราพบประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมอีกมาก โดยมองไปที่ แกน เมล็ด ได้ความร่วมมือจาก กระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้เห็นความเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน ก็พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ด น้ำมันกัญชง กัญชงแคปซูล ที่มีโอเมก้า 3 และ 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกาย เมล็ดมีโปรตีน แกนนำมาทำวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีด วัสดุทดแทนไม้ หรือ บ้านเฮมพ์ ที่ช่วยรักษาอุณหภูมิภายในบ้าน ให้ฤดูหนาวอบอุ่น ฤดูร้อนเย็นสบาย

ส่วนกัญชง ทางการแพทย์ ในระยะที่ 3 สว.พส.ร่วมกับ กองทัพบก เรื่องเส้นใย ที่เป็นคอขวด ยังไม่มีเทคโนโลยีแปรรูป ด้วยข้อติดขัดหลายอย่าง การปลูกมีเรื่องกฎหมาย นักลงทุนยังลงทุนไม่ได้ ยังมีต้นทุนสูง และฤดูกาลก็มีผลในการตัดสินใจลงทุนด้วย จึงร่วมมือกับ กองทัพบก ในการพัฒนาเครื่องแต่งกายของทหาร โดยจะผลิต 250 ชุด ในการทดสอบภาคสนาม 5 แห่งในไทย ร่วมกับ กรมพลาธิการ ทหารบก เป็นความสำเร็จในภาพรวม ระยะต่อมา เราได้พัฒนาพันธุ์ต่อเนื่อง ถึงรุ่นที่ 6 ปี 2564 นี้ จะถึงรุ่นที่ 9 มีอีก 10 สายพันธุ์ นอกจากนั้น ยังพัฒนาพันธุ์ THC ต่ำ และ CBD สูง ทั้งยังวางเป้าหมาย การยื่นขอขึ้นทะเบียนพันธุ์ และ คุ้มครองพันธุ์ ด้วย

ดร.สริตา กล่าวอีกว่า เทคนิคการปลูก แนะนำตันละ 1×1 เมตร ปลูกได้ทั้งหย่อนเมล็ด และต้นกล้า แต่แนะนำให้ใช้ต้นกล้า เพราะช่วงแรกยังไม่แข็งแรง และควรปลูกแบบเว้นแนว เพื่อช่วยในการกำจัดวัชพืช เพราะ 1-2 เดือนแรก ต้นจะอ่อนแอมาก จะชอบสภาพชื้น แต่ไม่แฉะ อาจจะใช้วิธีการยกร่อง เพื่อไม่ให้น้ำขัง เพื่อป้องกันการยุบทั้งแปลง ส่วนที่เหลือจากช่อดอก เรามีการกำหนดเป็นปฏิทิน ว่าต้องขออนุญาตไว้ล่วงหน้าแต่ อย. พัฒนาระบบให้ขออนุญาตได้เร็วขึ้น ซึ่งการปลูกควรเป็นไปตามฤดู แต่ปรับได้ตามสภาพพื้นที่ นอกจากนี้ การปลูกช่อดอก จะใช้เฉพาะเพศเมียเท่านั้น เหมือนกับกัญชา

ด้าน เทคโนโลยีแปรรูปขั้นต้น ได้ร่วมกับ เอกชน พัฒนาการแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ต้านเชื้อรา ป้องกันแบคทีเรีย ความเหนียวและแข็งแรง ทำให้ใช้ได้นาน มีการสร้าง “บ้านเฮมพ์” จากแกนกัญชง ทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ในเว็บไซต์ สว.พส. เรามีคู่มือปฏิบัติ 3 ฉบับ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ และอาหาร นอกจากนี้ ยังมีชุดตรวจวัดปริมาณสาร THC ภาคสนาม ชุดตรวจวัดและกรรมวิธีการตรวจสาร THC อยากให้ศึกษาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่ถ่ายทอดไปก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือเพื่อพาลงไปดูงานในส่วนของเมล็ด มีผู้สนใจอย่างมาก ทางผู้อำนวยการ สว.พส. เล็งเห็นความสำคัญ มีเมล็ดจากการพัฒนาวิจัย อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะจำหน่ายเท่าไหร่ เงื่อนไขอะไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เดือนเมษายนนี้ จะแจ้งเรื่องเมล็ดพันธุ์ จาก สว.พส. โดยเบื้องต้นในปีนี้ จะซื้อและขายให้ผู้ที่มีใบอนุญาตปลูก ระยะต่อไป จะมีระบบสั่งซื้อล่วงหน้า

“อยากให้ศึกษาข้อมูลเยอะๆ ในการทำธุรกิจ ในเรื่องของกัญชงต้องใช้เวลา ต้องมีการเตรียมความพร้อม เพราะมีห่วงโซ่การผลิตที่ยาว ทำให้ยากในการทำงาน” ดร.สริตากล่าว

ด้าน น.ส.ช่อทิพย ์วิเศษพงษ์พันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสมรรถนะธุรกิจ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) กล่าวถึง กัญชงในมุมตลาดโลกว่า ใครเป็นผู้นำด้านกัญชง ในเรื่องกัญชง มีประเด็นซ้อนทับเยอะมาก ถ้าต้องการกระโดดมาอยู่ในวงธุรกิจนี้ อย่ามองว่าเป็นพืชที่ง่าย เพราะภายใต้สิ่งที่คิดและเห็นอาจดูเหมือนง่าย แต่อยากย้ำว่าเราควรศึกษาทุกส่วนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะเงินลงทุนคือสิ่งสำคัญ ไม่ควรฟังคนนู้นทีคนนี้ที หรือทำตามกระแส

น.ส.ช่อทิพย กล่าวว่า ด้านสถานการณ์การปลูกกัญชงทั่วโลก ที่ปลูกมากที่สุด เป็นเจ้าใหญ่ในโลกมี 2 ค่าย คือ 1.จีน ปลูกมากที่สุดในโลก 2.ฝรั่งเศส มีการปลูกและแปรรูปมากที่สุด อีกฝั่งคือ แคนาดา กับ สหรัฐอเมริกา ที่มีกระแส CBD และ Canabis ซึ่งยุโรป เน้นเอาเมล็ดที่เหลือใช้ทำเส้นใย ส่วน จีน เน้นใช้ประโยชน์ทุกส่วน ตั้งแต่ยอด จนถึงราก ทำอาหารสกัด CBD หลักๆ มาจากกัญชง ซึ่งเดิมอนุญาตเฉพาะ 2 พื้นที่ เมื่อ 11 ปีที่แล้ว จีนเพิ่งอนุญาตให้ปลูกได้ เพราะเหตุผลในการควบคุม ซึ่งเมื่อเทียบกับไทย มีการอนุญาตเฉพาะพื้นที่ โดยรัฐ จะพิจารณาความเหมาะสม ฝั่ง แคนาดา อเมริกา เน้นเอาสารสกัด เส้นใหญ่มาใช้ กล่าวคือ ใครเน้นอะไรก็เอาตัวนั้นเป็นตัวหลัก

น.ส.ช่อทิพย์ กล่าวต่อว่า กัญชงใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน แล้วเราจะทำทุกอย่างหรือเลือกทำสิ่งที่เราเก่ง ไทยเก่งด้านอาหาร เราเลือกทำสิ่งที่เก่งกว่าดีหรือไม่ เพราะบางอย่างถึงแม้ว่าเราทำได้แต่เมื่อไปสู้กับคนที่เก่งกว่า ก็อาจจะไม่มีประโยชน์ จึงต้องพิจารณาตั้งแต่สายพันธุ์ว่า สายพันธุ์อะไรที่เราเก่ง นี่คือโจทย์ที่ต้องกลับไปมอง

ตัวอย่าง การใช้ประโยชน์ ยุโรป ปลูกเอาเมล็ด 2,018 ตัน ใช้ในภาคการบริโภค อีกส่วนบีบเป็นน้ำมัน ได้ทั้ง น้ำมัน และได้กาก มาทำโปรตีนผง ส่วน ดอกและใบ น่าจะไปอยู่ฝั่งแคนาดา  อเมริกามากกว่า ถามว่า เราจะเอากัญชงมาแข่งกับกัญชาหรือไม่ หรือจะเดินคู่กัญชา ก็น่าคิด ถ้าจะใช้ตรงนี้ กรุณาศึกษากฎหมายให้ดี ว่าอนุญาต หรือไม่ อนุญาตอะไร ก่อนทำธุรกิจ ย้อนดูก่อน จะปลูก แปรรูป หรือเอาผลิตภัณฑ์ไปขาย เพราะบทบาทไม่เหมือนกันทางฝั่งยุโรป ใช้มากคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ รถไฟฟ้า ออกมาจากยุโรป ตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าน้ำหนัดลดลง ส่งผลให้ไม่เปลืองแบตเตอรี่ รถแข่งปอร์เช่ ก็มีที่ใช้เฮมพ์ ทำตัวถัง แข็งแรงพอทำรถแข่ง ดีพอจะใช้ประโยชน์ได้ ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มแรงม้าได้ ถึง 30 แรงม้า

 

น.ส.ช่อทิพย์ กล่าวว่า เฮมพ์คือ วัตถุดิบชนิดใหม่ ของอุตสาหกรรมเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ในมุมของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ใครคือผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในโลก ต้องรู้เขารู้เราก่อน และรู้ข้อจำกัดของกฎหมายแต่ละประเทศ อเมริกายังมีข้อกฎหมายการใช้ CBD อยู่ในพื้นที่สีเทา มีความไม่ชัดเจน จึงต้องย้อนกลับมาดูกฎหมาย มีการพิสูจน์ว่าควรเป็นอาหารเสริม ยา หรืออะไร แต่ที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถเพิ่มมูลค่าการขายได้ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ สร้างความตื่นเต้นอย่างมาก สำคัญสุด คือเราอาจจะเจอปัญหา คนปลูก มากกว่าคนซื้อ เรามีราคาใบ ช่อ ดอก แต่คนซื้ออยู่ไหน ตลาดต้องการจริงหรือไม่ ถ้าทุกคนไปปลูกหมด จะขายใคร ฝากเป็นข้อคิด แนะนำว่า เราควรทำในรูปของคลัสเตอร์

ด้าน ดร.บังอร เกียรติธนากร บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย – จีน จำกัด กล่าวว่า แม้ว่าเราจะส่งออกไม่ได้ แต่นักท่องเที่ยวมา แล้วใช้ และเขาจะบอกต่อถ้าสินค้าเราดี เขาอาจจะขอเป็นเอเย่นเอาไปขายที่นู่น แต่การทำธุรกิจนั้นไม่ง่ายจึงต้องศึกษาให้ดีเราแปรรูปสินค้าประเภทน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในกลุ่มโรงงานสารสกัดยังมีน้อยอยู่มาก ในบ้านเรามีการพัฒนาให้ได้กัญชงกัญชาที่มีเทอร์พีนที่ช่อดอก เป็นน้ำมันหอมระเหยได้ ไปยังเป็นสารเสพติดอยู่ เราจึงจะเก็บช่อดอกมาวิเคราะห์องค์ประกอบสารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทอร์พีนที่มีประโยชน์ เลียนแบบกลิ่น เช่น สายพันธุ์ OG cush และ ไทยสติ๊ก ใช้ได้ทั้งเครื่องสำอาง อาหารเสริม อาหาร และยาในส่วนของสารสกัด เครื่องหอมอุปโภค บริโภคในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ที่ส่วนตัวฝันอยากให้เป็น  เช่น เมล็ดกับชง เราได้ตัวเลขมาตั้งแต่ยังไม่ประกาศปลดล็อก ราคาอยู่ที่ 120 บาท แต่ตอนนี้เป็นหลักพันแล้ว หากนำสารสกัดไปพัฒนาต่อ จาก เมล็ดกัญชง 120 บาท/กก. หรือ 1,200 บาท / ไร่ เมื่อเป็นน้ำมันกัญชง ราคาเพิ่มเป็น 1,400 บาท / กก. ถ้าเอาไปทำซัพพลายเมน มูลค่า 5,000 บาท/ กก., ทำน้ำมันนวด เพิ่มเป็น 42,500 เป็นต้น

 

ดร.บังอร  กล่าวว่า ในตลาดของสมุนไพร มูลค่าการส่งออกอยู่ที่หลักแสนล้านบาท ในประเทศอยู่ที่ 260,000 ล้านบาท มีแนวโน้มที่ดี ซึ่งมูลค่าตลาดโลกยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่ ณ ตอนนี้เรายังส่งออกไม่ได้การพัฒนาเฮมพ์ กับ อุตสาหกรรม ต้องรู้ข้อดี เพื่อนำไปแข่งขันในตลาดเครื่องสำอาง และ อาหารเสริมได้ ผู้เล่นในประเทศไทย กลุ่มสมุนไพร มีเกษตรกรมี 12,028 ราย, โรงงานแปรรูปเบื้องต้น 158 แห่ง, อุตสาหกรรม 9 โรงงาน, โรงงานเครื่องสำอาง  393 ราย , วิสาหกิจ 522 แห่ง นี่คือช่องทางสำหรับผู้ที่จะแปรรูป เรามีกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย. อยู่ เป็นโอกาสดี ถ้าเราร่วมทำวิจัยได้ ในแง่บวกสำหรับผลิตภัณฑ์ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นอีก” ดร.บังอรกล่าว

 

สำหรับงาน “มหกรรมกัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน” จะมีขึ้นถึงวันที่ 7 มีนาคมนี้ ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรี

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image