13 เมษา อะโพฟีส ดาวอันตรายเจ้าเก่า เข้าใกล้โลกสุดๆ มองเห็นด้วยตาเปล่า

13 เมษา อะโพฟีส ดาวอันตรายเจ้าเก่า เข้าใกล้โลกสุดๆ มองเห็นด้วยตาเปล่า

วันที่ 31 มีนาคม นายวิมุติ วสะหลาย ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวถึงเรื่องดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อยอันตรายอันดับต้น ๆ และเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับตามองมากที่สุดนับจากที่ถูกค้นพบในปี 2547 เนื่องจากมีวงโคจรตัดกับวงโคจรโลก จึงมีโอกาสเข้าใกล้โลกมาก หรือแย่ยิ่งกว่านั้นก็คือพุ่งชนโลก ว่า ด้วยขนาดที่ใหญ่ถึง 370 เมตร อะโพฟิสย่อมสร้างความเสียหายได้อย่างใหญ่หลวงหากชนโลกขึ้นมา ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะเข้าใกล้โลกทุก ปี และจะเข้าใกล้โลกมากเป็นพิเศษในปี 2572, 2579 และ 2611 โดยเฉพาะในปี 2611 นั้นจะใกล้มากจนน่าวิตก นักดาราศาสตร์เคยประเมินว่าในปีนั้นอะโพฟิสมีโอกาสชนโลกราว ใน 150,000 แม้โอกาสชนจัดว่าต่ำมาก แต่ก็ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

นายวิมุติ กล่าวว่า อะโพฟิสเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว เมื่อนักดาราศาสตร์วัดผลจากปรากฏการณ์ ยาคอฟสกี ซึ่งเป็นแรงผลักที่เกิดจากความร้อนบนดาวเคราะห์น้อยที่ได้รับแสงอาทิตย์จนทำให้มีตำแหน่งเปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรจะเป็น แรงนี้ได้ทำให้อะโพฟิสมีตำแหน่งเปลี่ยนไปจากที่คำนวณไว้ราว 170 เมตรต่อปี

ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส ถ่ายเมื่อวันที่ 8, 9, และ 10 มีนาคม 2564 โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุของเครือข่ายดีปสเปซในโกลด์สโตน แคลิฟอร์เนีย ทำงานร่วมกับกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์ในเวสต์เวอร์จิเนียร์ ขณะนั้นอะโพฟิสอยู่ห่างจากโลก 17 ล้านกิโลเมตร แต่ละพิกเซลมีความกว้าง 38.75 เมตร  (จาก (NASA/JPL-Caltech and NSF/AUI/GBO))

 

Advertisement

 

 

Advertisement

“เมื่อวันที่ มีนาคมที่ผ่านมา อะโพฟิสได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบการโคจร เปิดโอกาสให้นักดาราศาสตร์ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อย่างใกล้ชนิดด้วยกล้องเชิงแสงและเรดาร์ แม้การเข้าใกล้ครั้งนี้จะอยู่ห่างจากโลกถึง 16.9 ล้านกิโลเมตร แต่ก็ใกล้พอที่นักดาราศาสตร์จะวัดตำแหน่งของวัตถุดวงนี้ได้อย่างแม่นยำด้วยความคลาดเคลื่อนเพียงไม่เกิน 150 เมตร ผลการคำนวณเส้นทางโคจรใหม่แสดงแน่ชัดว่า ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสจะไม่ชนโลกอย่างแน่นอนภายใน 100 ปี ปลอดภัยพอที่องค์การอีซาและองค์การนาซาจะถอดชื่อวัตถุดวงนี้ออกจากรายชื่อวัตถุอันตราย”ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าว

 

นายวิมุติ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น ณ ตอนนี้ถือว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไม่เป็นภัยคุกคามโลก อย่างน้อยก็ในช่วงสองสามรุ่นอายุคนต่อจากนี้ เหลือเพียงความน่าตื่นเต้นที่รอให้คนบนโลกได้ชมกัน เพราะในวันที่ 13 เมษายน 2572 อะโพฟิสจะเฉียดเข้าใกล้โลกในระยะใกล้มากเพียง 38,000 กิโลเมตร หรือหนึ่งในสิบของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ เป็นการเข้าใกล้มากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดระดับนี้ ในวันนั้นอะโพฟิสสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นเวลานานหลายชั่วโมงเลยทีเดียว 

นายวรเชษฐ์ บุญปลอด กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย อธิบายว่า ในประเทศไทยเราสังเกตปรากฏการณ์สำคัญนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่หัวค่ำของวันศุกร์ที่ 13 อะโพฟิสจะขึ้นทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นสูงสุดบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาประมาณเที่ยงคืน เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวงูไฮดรา กลุ่มดาวนกกา กลุ่มดาวถ้วย และกลุ่มดาวสิงโต ตลอดทั้งคืนอะโพฟิสจะสว่างขึ้นเรื่อย ๆ จากโชติมาตร 6.4 ไปที่ 3.9 สว่างที่สุดก่อนจะตกลับขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาตี ครึ่ง ของวันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2572 ซึ่งเป็นเวลาประมาณ ชั่วโมง ก่อนใกล้โลกที่สุด

นักดาราศาสตร์ประเมินว่า โลกมีโอกาสถูกวัตถุขนาดใหญ่ระดับอะโพฟิสชนเฉลี่ยทุก 80,000 ปี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image