นพ.เหรียญทอง แนะวิธีเพิ่มเตียงICU รพ.ต้องรวมกัน เพิ่มศักยภาพ รับผู้ป่วยสีแดงในกทม.

นพ.เหรียญทอง จ่อเพิ่มเตียงไอซียู รพ.สนามพลังแผ่นดิน แนะรพ.ต้องรวมกัน เพิ่มศักยภาพผู้ป่วยสีแดงในกทม.

วันนี้ (31 ก.ค.) พล.ต.เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นถึงสถานการณ์ผู้ป่วยอาการหนัก [จัดชั้นสีแดง] จำนวนมากในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมีรายละเอียดดังนี้

“ผมมีความเห็นส่วนตัวดังนี้

1] รวมศูนย์ผู้ป่วยอาการหนัก[จัดชั้นสีแดง] แบบ ‘รวมการแล้วร่วมกันทำให้มีขนาดใหญ่’ …อย่ากระจัดกระจาย แบบ ‘ต่างรพ.ต่างทำ แต่ทำได้ไม่มาก’

เพราะบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านผู้ป่วยอาการหนักในต่างรพ.นั้น ต่างก็จำกัดขาดแคลนด้วยกันทั้งนั้น ทำให้แต่ละรพ.ไม่สามารถรับผู้ป่วยอาการหนักจำนวนมากๆได้ ดังนั้นจึงต้อง ‘รวมการแล้วร่วมกันทำให้มีขนาดใหญ่’ เป็น ‘ไอ ซี ยู ขนาดใหญ่ ไม่น้อยกว่า 100 เตียงขึ้นไป’

Advertisement

การจัดตั้ง ไอ ซี ยู ขนาดใหญ่ขนาดนี้จะสามารถประหยัดทรัพยากรได้เนื่องจากมี ‘Economy of Scale’ หรือมี ‘การประหยัดจากขนาด’ ของ ไอ ซี ยู ที่มีจำนวนเตียงมากๆ แต่สามารถใช้บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านผู้ป่วยอาการหนักที่จำกัดได้

การรวมศูนย์ผู้ป่วยอาการหนัก [จัดชั้นสีแดง] ในลักษณะ ‘ไอ ซี ยู ขนาดใหญ่’ จะต้อง ‘รวมการแล้วร่วมกันทำให้มีขนาดใหญ่’ มีการรวมกลุ่มกันของรพ.ต่างๆ เพื่อร่วมกันจัดกำลังเฉพาะกิจบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านผู้ป่วยอาการหนัก โดยรพ.ต่างๆ จะมีโควต้าจำนวนเตียง ไอ ซี ยู เพื่อรองรับผู้ป่วยของตนเอง ในขณะที่รพ.ของตนนั้นสามารถประหยัดอัตราส่วนการใช้บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านผู้ป่วยอาการหนักได้ เนื่องจาก ไอ ซี ยู ขนาดใหญ่จะสามารถประหยัดทรัพยากรได้จากการมี ‘Economy of Scale’ หรือมี ‘การประหยัดจากขนาด’ ทั้งยังลดจำนวนผู้ป่วยจัดชั้นสีแดงไปเพิ่มจำนวนผู้ป่วยจัดชั้นสีเหลืองของตัวเองได้

‘ไอ ซี ยู ขนาดใหญ่’ ตามที่ผมเสนอนี้ พร้อมดำเนินการได้ทันที หากมีรพ.ต่างๆเข้าร่วมกับผม โดยผมจะยกระดับ ‘รพ.สนามพลังแผ่นดิน’ จาก ไอ ซี ยู 48 เตียง เป็น 198 เตียง ภายใน 2 สัปดาห์

Advertisement

ติดต่อนัดวันเวลาเพื่อหารือกันได้ที่ 081-408-4839 (พรพรรณ)

2] กระจายศูนย์ผู้ป่วยอาการปานกลาง(จัดชั้นสีเหลือง) แบบ ‘ต่าง รพ. ต่างทำ’ ซึ่งประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้ว การเพิ่มจำนวนเตียงรับผู้ป่วยอาการปานกลาง(จัดชั้นสีเหลือง) ยังอยู่ในวิสัยที่ รพ.ต่างๆในกรุงเทพฯและปริมณฑลทำได้

3] กระจายศูนย์ผู้ป่วยอาการน้อย (จัดชั้นสีเขียว) ให้มากขึ้น ทั้ง ฮอลปิเทล , การกักกันรักษาที่บ้าน[Home Isolation ,HI] และ การกักกันรักษาที่ชุมชน[Community Isolation ,CI] โดยให้คลีนิคหรือสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยค้างคืน ซึ่งมีอยู่ในกรุงเทพฯจำนวนมากหลายพันแห่งในกรุงเทพและปริมณฑลเข้ามาทำหน้าที่ โดยศูนย์ผู้ป่วยอาการปานกลาง(จัดชั้นสีเหลือง)ของแต่ละรพ.ในแต่ละเขตพื้นที่คอยรับการส่งต่อจากคลีนิคหรือสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ

แนวทางนี้จะทำให้เกิดระบบดูแลรักษาผู้ป่วยอาการน้อย(จัดชั้นสีเขียว)แต่มีจำนวนมากๆได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image