เปรียบเทียบน้ำ 2554 / 2564 เชื่อปีนี้ กรุงเทพ เอาอยู่

เปรียบเทียบน้ำ 2554 / 2564 เชื่อปีนี้ กรุงเทพ เอาอยู่

วันที่ 28 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) ได้วิเคราะห์ ภาพรวมการเกิดน้ำท่วม โดยระบุว่า ปี2564 มีโอกาสเกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.)น้อยมาก ทั้งนี้ สาเหตุการเกิดน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี 2554 กับปัจจุบัน ไม่เหมือนกัน โดยเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2554 กับปีนี้ มาเปรียบเทียบกันไม่ได้

วาฟ ระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้น้ำในปี 2554 และ 2564 มีความแตกต่างกัน มี 3 ประการด้วยกัน ที่จะทำให้ได้ข้อสรุปว่า ปี 2564 น้ำจะไม่ท่วมกรุงเทพอย่างแน่นอน

1.ปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก
ปี 2554 น้ำในเขื่อนหลัก มีน้ำ 23,550 ล้าน ลบ.ม.
ปี 2564 มีน้ำ 11,648 ล้าน ลบ.ม.

Advertisement

2.พายุ
ปี 2554 มีพายุ 5 ลูก คือ โซนร้อน ไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาบแก
ปี 2564 มีลูกเดียว เตี้ยนหมู่

3.เส้นทางน้ำ
ปี 2554 ทุกมวลน้ำทางเหนือ ทั้ง น้ำปิง น้ำน่าน และน้ำยมที่ล้นฝั่ง ไปลงไปที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ เข้าเขื่อนเจ้าพระยา ที่จ.ชัยนาท ซ฿งเวลานั้นมีน้ำอยู่ประมาณ 3,721 ลบ.ม.ต่อวินาที และมีนำจำนวนมากทะลักผ่านประตูน้ำบางโฉมศรี ประตูน้ำบางโฉมศรีแตก มวลน้ำออกไปยังทุ่งลพบุรีจำนวนมหาศาล และเมื่อน้ำทั้งหมดมาถึงอยุธยา น้ำจากเขื่อนป่าสักในขณะนั้น ที่ล้นอยู่แล้วก็มาสมทบอีก เป็นเหตุให้น้ำทะลักผ่านประตูน้ำคลองข้าวเม่า ไปท่วมนิคมโรจนะ ไปยังรังสิต รวมกับน้ำเจ้าพระยาก็สูง บวกกับน้ำตามทุ่งต่างๆหลายทิศทาง

ปี 2564 มีน้ำ 5 ก้อน

Advertisement

1.ชัยภูมิ-โคราช
น้ำที่ชัยภูมิจะไหลลงแม่น้ำชี
น้ำที่โคราช จะไหลลงแม่น้ำมูล
ทั้ง 2 ไม่เกี่ยวกับภาคกลาง

2.น้ำที่ ลพบุรี-ลำสนธิ

ไหลลงแม่น้ำป่าสัก เขื่อนป่าสักมีที่ว่างเยอะ

3.น้ำที่ลพบุรี ชัยบาดาล

ไหลลงทุ่งลพบุรี และบึงบอระเพ็ด4

4.น้ำที่สุโขทัย

ไหลลงแม่น้ำยม ที่ทุ่งบางระกำ(อาจจะล้นนิดหน่อย)

5.เจ้าพระยา

น้ำจาก อุทัยธานี สะแกกรัง ไปยังเขื่อนชัยนาท และลงที่แม่น้ำเจ้าพระยา

จะเห็นว่า ปี 2564 นั้น มีน้ำเพียงก้อนเดียวที่จะเกี่ยวกับน้ำที่จะไหลมากรุงเทพ จึงมีโอกาสน้อยมากที่กรุงเทพจะเกิดน้ำท่วมแบบปี 2554

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image