“สสจ.นครศรีฯ” สั่งห้ามทุก รพ.ใช้ชุด ATK เลอปู๋ กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง หลังพบผลตรวจมีความเบี่ยงเบนสูง

“สสจ.นครศรีฯ” สั่งห้ามทุก รพ.ใช้ชุด ATK เลอปู๋ กับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง หลังพบผลตรวจมีความเบี่ยงเบนสูง

 

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ระลอกเมษายน) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ติดเชื้อรายใหม่ 259 ราย แยกเป็น ติดเชื้อในจังหวัด 256 ราย ติดเชื้อรายใหม่มาจากกรุงเทพ/ปริมณฑล และต่างจังหวัด 3 ราย ติดเชื้อจากทัณฑสถานวัยหนุ่ม 0 ราย ติดเชื้อสะสม 18,642 ราย รักษาตัวในรพ.หลักในทุกอำเภอ รวมทั้ง รพ.สนามรวม 4,208 ราย (มาจาก กทม.และปริมณฑล 1 ราย) รักษาหายแล้วสะสม 13,141 ราย เสียชีวิตสะสม 103 ราย

นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ป่วยถือว่าได้ลดลงมาระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่น่าวางใจโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเมืองยังมีผู้เสี่ยงสูงเป็นจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการค้นหาเชื้ออย่างต่อเนื่อง เพื่อการควบคุมเชื้อตามหลักการระบาดวิทยา ซึ่งมีรายงานที่น่าตกใจหลังจากพบว่า เจ้าหน้าที่ได้นำ ชุด Antigen test kit (ATK) ยี่ห้อ เล่อปู๋ (Lepu) ซึ่งได้รับการจัดสรรจาก สปสช. มาใช้ตรวจหาเชื้อเบื้องต้นในการปฏิบัติการเชิงรุก พบผลมีความเบี่ยงเบนสูงมาก ทั้งชนิดการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ

ขณะนี้ได้สั่งห้ามทุก รพ.ในจังหวัดนครศรีธรรมราช งดใช้ชุดตรวจชนิดนี้หลังจากพบว่า จากการตรวจสอบ ด้วย pcr จาก จนท.สสจ ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานระบุว่า กลุ่มเสี่ยงสูงมีการติดเชื้อหลังจากที่ตรวจ ATK ยี่ห้อ เล่อปู๋ ระบุว่าไม่ติดเชื้อ การพบลักษณะนี้มีจำนวนสูงมากถือว่าไม่ปลอดภัย ทำให้ต้องตรวจซ้ำซ้อน จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาตรวจในกลุ่มนี้ และทาง จนท.ไม่ควรนำมาใช้กับกลุ่มเสี่ยงสูง หากนำชุดตรวจนี้มาใช้ในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แต่ในส่วนของประชาชนที่อยากตรวจ เดือดร้อนไปหาตรวจอยากตรวจเองพอกล้อมแกล้มไปได้ แต่ในทางการแพทย์นั้นไม่แนะนำ แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในข่ายต้องตรวจจะมีชุดตรวจมาตรฐานที่ทำให้ปลอดภัย

Advertisement

นายแพทย์จรัสพงษ์ ยังกล่าวอีกว่า ATK ชนิดนี้ไม่ได้เป็น ATK ที่มีปัญหา แต่จะมีปัญหาว่าเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อันนี้ใช้กับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำไม่ได้ใช้กับกลุ่มที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่ระบบสาธารณสุขจะต้องเอาตัวมาตรวจด้วยเครื่องมือคุณภาพสูง และไม่ใช่โรงพยาบาล บุคลากรสาธารณสุขจะอุตรินำเครื่องมือคุณภาพต่ำมาเทียบกับเครื่องมือคุณภาพที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ จะเรียกว่าเป็นการมั่วซั่วหรือการมักง่าย เพราะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นกลุ่มโปรเฟรชชันแนล ต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสม หากประชาชนทั่วไปใช้ยังถือว่าโอเค ยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาอื่น ยกตัวอย่าง ที่ อ.ทุ่งใหญ่ มีการนำ ชุด Antigen test kit (ATK) ชนิดนี้มาตรวจชาวบ้านที่ทุ่งใหญ่จำนวน 1 พันราย พบระบุติดเชื้อ 187 ราย แต่เมื่อนำเอาเข้าระบบ PCR ยืนยันพบผลบวกแค่ 92 รายเท่านั้น ประมาณครึ่งต่อครึ่ง ดังนั้นหากนำมาเป็นเครื่องมือที่แพทย์ใช้นั้นไม่ได้ผิดวัตถุประสงค์ ผิดไอเท็ม ผิดจรรยาบรรณ เมื่อพูดถึงคำว่าผิดจรรยาบรรณนั้นถือว่าเจ็บปวดมาก ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการไปแล้วและมีการยืนยันด้วยวิทยาศาสตร์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image